ปลูกต้นไม้แล้วได้ธรรม...อุปมาวิญญาณด้วยพืช


วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป

[๑๐๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืช ๕ อย่าง

นี้. ๕ อย่างเป็นไฉน? คือ

            พืชงอกจากเหง้า ๑

            พืชงอกจากลำต้น ๑

            พืชงอกจากข้อ ๑

            พืชงอกจากยอด ๑

            พืชงอกจากเมล็ด ๑.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พืช ๕ อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ไม่เน่า ไม่ถูกลมแดดทำให้เสีย ยังเพาะขึ้น อันบุคคลเก็บไว้ดี แต่ไม่มีดิน ไม่มีน้ำ. พืช ๕ อย่าง พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ?

             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืช ๕ อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ฯลฯ อันบุคคลเก็บไว้ดี และมี

ดิน มีน้ำ. พืช ๕ อย่างนี้ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ?

             ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

             [๑๐๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

            พึงเห็นวิญญาณฐิติ ๔ เหมือนปฐวีธาตุ

            พึงเห็นความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน  เหมือนอาโปธาตุ.

            พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหาร เหมือนพืช ๕ อย่าง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

            วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ  พึงถึงความเจริญงอกงาม

ไพบูลย์.  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ

                        วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ

                        วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์. 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ  ในเวทนาธาตุ  ในสัญญาธาตุ  ในสังขารธาตุ  ในวิญญาณธาตุ

เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้

เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี

วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป

เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่

เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม

เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง

เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.

เธอย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ. สูตรที่ ๒.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๑๒๒๐ - ๑๒๔๖.  หน้าที่  ๕๔ - ๕๕.

 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1220&Z=1246&pagebreak=0

หมายเลขบันทึก: 370614เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • หวัดดีค่ะ...น้องกบ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมารับความรู้ด้วยคนค่ะ
  • ระลึกถึงเสมอนะค่ะ

สวัสดีค่ะน้องกบ สบายดีนะคะ

มาอ่านเรื่อง วิญญาณ ดูกรพระภิกษุทั้งหลาย สาธุค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาขออ่านธรรมด้วยค่ะ

ขอบพระคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท