ความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัย ทอมก


กลุ่มสังคมและวัฒนธรรม

 

การจัดประชุมระดมสมองการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัย ทอมก  :

วิถีวิจัยกับการพัฒนาประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ 

ณ  ห้องราชเทวี  โรงแรมเอเชีย  พญาไท  กรุงเทพฯ 

********************************************************************************

                ภารกิจหลักของคณะทำงานความร่วมมือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย  ทอมก  นอกจากการสร้างเคลือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการ  โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงการเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบัน  มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา  บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน  ตลอดจนการพัฒนาอาจารย์ การใช้ E-learning  ร่วมกัน  การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนแล้ว  การสร้างเคลือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยโดยกำหนดทิศทางการทำวิจัย  การพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยพี่เลี้ยง (Mentor)  นับว่าเป็นอีกภารกิจสำคัญของคณะทำงานความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย  ทอมก  ซึ่งจะต้องร่วมกันดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป

                ปัจจุบันเป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า  ศักยภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยในเคลือข่ายสมาชิก  ทอมก  ต่างมีความเชี่ยวชาญและมีความโดดเด่นที่หลากหลาย  ล้วนแต่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีลักษณะเด่นเฉพาะกลุ่ม  มีจุดเน้นที่แตกต่างกัน  ดังนั้นการสร้างเคลือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง  ที่จะส่งเสริมให้เกิดการทำงานที่เชื่อมโยงกันเป็นกลุ่มวิจัยและเกิดการบูรณาการ  ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้ง 4 กลุ่มวิจัย  ได้แก่  กลุ่มวิจัยด้านพลังงาน  กลุ่มวิจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม  กลุ่มวิจัยด้านวิทยาศาตร์กายภายและเทคโนโลยี  และกลุ่มวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  ดังนั้น เหตุผลสำคัญในการจัดประชุมระดมสมองการสร้างเคลือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยในครั้งนี้  จึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาจารย์และนักวิจัยได้แลกเปลี่ยน  ถ่ายทอดประสบการณ์วึ่งกันและกัน  โดยจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการวิจัยต่อไปในอนาคต

                การประชุมเคลือข่ายความร่วมมือด้านวิจัย  ทอมก  :  วิถีวิจัยและการพัฒนาประเทศ  ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลทั้ง 13 แห่ง  ประกอบด้วย

                1. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

                2. มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย

                3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี  สุรนารี

                4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  ธนบุรี

                5. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

                6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ

                7. มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์

                8. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

                9. มหาวิทยาลัย มหิดล

                10. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

                11. มหาวิทยาลัย บูรพา

                12. มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

                13. มหาวิทยาลัย ทักษิณ

                ในการประชุมประธานเปิดงาน รศ.นพ. กำธร  ปิยกวี  ได้กล่าวว่าการประชุมระดมสมองเคลือข่ายด้านการวิจัย ทอมก เป็นการประชุมเพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยให้มีความเชี่ยวชาญโดดเด่น  มีจุดเน้นที่แตกต่างด้านวิจัยและบูรณาการ  โดย สกอ.  มีนโยบายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยของ ทอมก  โดยมีเป้าหมายเพื่อ

1.พัฒนามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐก้าวสู่ความเป็นสากล

2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิทยาการในสาขาต่าง ๆ

3.วางรากฐานการวิจัยให้มีมาตรฐานระดับสากล

4.สร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ  ของมหาวิทยาลัยในเคลือข่าย ทอมก

 

          ในส่วนของกลุ่มสังคมและวัฒนธรรมได้จัดประชุมสัมมนากลุ่มย่อย  โดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการหลัก  ซึ่งผู้ช่วยอธิการบดี  ฝ่ายวิชาการ  ผศ.ดร.พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส  ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของ IABU นำโดยอาจารย์อุทัย สติมั่น โดยมีพระเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง  จำนวน 20 รูปเข้าร่วมการสัมมนา  โดยมีรายละเอียดกำหนดการดังต่อไปนี้

ปาฐกถาพิเศษ “สันติวิธี: วิถีแห่งการปฏิบัติเพื่อขจัดความขัดแย้งในสังคมไทย”

โดย  ศาสตราจารย์ นายแพทย์วันชัย   วัฒนศัพท์, สถาบันพระปกเกล้า

 

เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ท่าทีของชาวพุทธ ต่อปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย” โดย  

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร., บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯ

รศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน , คณะศิลปสาสตร์ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ 

ผศ.ทัศนีย์  เจนวิถีสุข, ดำเนินรายการ

นำเสนอบทความทางวิชาการ (Oral Presentation) กลุ่มสังคมวัฒนธรรม (พุทธธรรมประยุกต์)

รูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร (Religious Tourism Development Model of Buddhist Temples in Bangkok, Thailand)

พระมหาสุทิศ  อาภากโร(อบอุ่น),ดร. 

ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม: เปรียบเทียบ แหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย และ นครหลวงพระบาง สปป. ลาว 

(Tourists' Opinion toward Applied Buddha-Dhamma principles: Comparison between Tourist-visiting Temples in Chiang Rai Province, Thailand and Luang Prabang City, LAO P.D.R.)

อ.สุจิตราภา นิลกำแหง พันธ์วิไล

การปฏิบัติอานาปานสติสมาธิขณะที่ผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสามารถทำให้ความรุนแรงของความซึมเศร้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายดีขึ้น (Intradialytic – ĀnĀpĀnassati Meditation Can Improve the Severity of Depression in End Stage Renal Disease Patients)

ดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์

การให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมแบบกลุ่มในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า  (Buddhist-oriented group counseling for patients with depression)

รศ.ดร.สมพร รุ่งเรืองกลกิจ   และ ประภากร   ภูมิโคกรักษ์

 

 

นำเสนอบทความทางวิชาการ (Oral Presentation) กลุ่มสังคมวัฒนธรรม (ภูมิปัญญาบูรณาการ)

 

การแบ่งปันความรู้บนพื้นฐานภูมิปัญญา ในการค้าชายแดนไทยกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของกลุ่มหอการค้าจังหวัดภาคเหนือตอนบน (Knowledge Sharing Based on Local Wisdom  in Thailand’s Border Trade with the Lao People’s Democratic Republic by the Group of  the Thai Chambers of Commerce in the Upper Northern Provinces)

อ.ทรงสรรค์   อุดมศิลป์

แนวทางการพัฒนาบทบาทของวัดตามความคาดหวังของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครปฐม (The Developing Trends in the Role of Wats towards the Buddhists’ Expectation in Nakhon Pathom)

อ.บูรณ์เชน     สุขคุ้ม

การศึกษาปัจจัยและความคาดหวังร่วมที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง : มิติการขับเคลื่อนด้านเกษตร (A study of finding important co- factors and co-expectation of community development driven by sufficiency economy basis:  agricultural aspect)

อ.อุทัย  สติมั่น

สรุปการสัมมนาทางวิชาการ/ปิดการประชุม

 

                                            

หมายเลขบันทึก: 370404เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท