มหาวิทยาลัยจัดการความรู้เพื่อชุมชน


สามารถทำได้ง่าย ทำได้เลย จุดอ่อนและอุปสรรคอยู่ที่มหาวิทยาลัยเอง

วันที่ 8 ผมไปร่วมสังเกตการณ์การจัดเวทีเพื่อพัฒนาระบบมาตรฐานชุมชนที่โรงแรมทักษิณ นครศรีธรรมราช ได้รับความรู้จากคุณอรษา โพธิ์ทอง หัวหน้ากลุ่มงานประเมินและกำหนดมาตรฐานงาน สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนอย่างมาก
ผมเห็นด้วยกับแนวทางการใช้ระบบมาตรฐานชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนและเสนอตัวร่วมผลักดันในนามม.วลัยลักษณ์ด้วย
แนวทางความร่วมมือจากการพูดคุยกับพัฒนาการจังหวัด หัวหน้าฝ่ายส่งเสริม นักวิชาการจากพช.เขตและคุณอรษาจากกรมฯมี 2 เรื่องคือ 1)การพัฒนาระบบมาตรฐานชุมชนเพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์กับชุมชน 2)การยกระดับเพื่อให้คุณค่าเชิงคุณวุฒิทั้งประกาศนียบัตรและปริญญาบัตร

ผมนำเรื่องนี้มาคิดต่อ เช้านี้ตอนเดินแอร์โรบิคผมเกิดปิ้งแวบด้วยแนวคิดและรูปธรรมการจัดการ  ดังนี้
แนวคิด ใช้แนวคิดการศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวคิดมหาวิทยาลัยที่เป็นหลัก ในถิ่น เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างแนบแน่น แนวคิดมหาวิทยาลัยที่เข้าไปร่วมกับชุมชนและสังคมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
ซึ่งการทำเช่นนั้นได้จะต้องใช้การจัดการความรู้ ที่ผสมผสานความรู้ฝังลึกจากการปฏิบัติที่สั่งสมเป็นภูมิปัญญาและความรู้สมัยใหม่ในสัดส่วน 70 : 30
การจัดการ ให้ความสนใจกับชุมชนและระบบสนับสนุนของส่วนราชการระดับปฏิบัติการที่ใกล้ชิดกับชุมชน ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายมากนัก จึงสามารถทำได้ง่าย ทำได้เลย จุดอ่อนและอุปสรรคอยู่ที่มหาวิทยาลัยเองซึ่งต้องอธิบาย สร้างความเข้าใจและพัฒนาระบบการจัดการแบบใหม่ขึ้นมา   รองรับ

 

หมายเลขบันทึก: 3704เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท