อภิมหาโครงการกับความรู้


เพื่อจะได้จ่ายค่าโง่น้อยลง
อภิมหาโครงการกับความรู้
           วันนี้ (๕ กย. ๔๘) ผมพบ ศ. ดร. เมธี ครองแก้ว (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ที่สนามบินดอนเมือง    ได้คุยกัน เรื่องอภิมหาโครงการ ICL (Income Contingency Loan) ที่จะปฏิรูประบบการเงินด้านการอุดมศึกษาใหม่หมด    จากปัจ จุบัน เป็นระบบที่รัฐจ่ายผ่านสถาบันอุดม ศึกษา    ไปเป็นระบบใหม่ที่รัฐจ่ายเงินผ่านผู้เรียนในรูปของเงินยืม (ไม่มีดอกเบี้ย)     เมื่อ เรียนจบและมีรายได้เพียงพอจึงผ่อน ส่งคืนเงินที่ยืมมา     เท่ากับผู้เรียนเอาเงินที่ตนจะหาได้ในอนาคตมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเอง
      มองอีกมุมหนึ่ง นี่คือการที่รัฐทำให้ผู้ เรียนต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเรียนระดับอุดมศึกษาของตนเอง   รัฐไม่ช่วยแบบให้เปล่าอีกต่อไป    แต่ช่วย แบบใหม่ คือช่วยให้ช่วยตัวเองได้ โดยการให้ยืม
      ผลคือค่าใช้จ่ายด้านอุดมศึกษาจะเป็นไปตามความเป็นจริง   พูดง่ายๆ คือค่าเล่าเรียนต้องสูงขึ้น เพราะเดิมรัฐช่วย ออกให้มากมาย
      รายละเอียดของเรื่องนี้มีมาก   ผมรู้-เข้าใจนิดเดียว    ผู้สนใจคงต้องรอสดับจากข่าว รวมทั้งทาง เว็บไซต์ ซึ่งทราบว่าจะเปิดตัวเร็วๆ นี้
     แต่จุดสำคัญที่เอามาเล่าคือเรื่องความรู้ สำหรับดำเนินการอภิมหาโครงการ ICL นี้
     ผมได้เรียน ดร. เมธี ว่า สังคมไทยเรามี วิธีคิดที่ผิดเกียวกับ mega project ตรงที่ คิดว่ามีความรู้ครบถ้วนแล้วสำหรับดำเนินการโครงการนั้น    ซึ่งไม่จริง และจะไม่มีวันจริงไม่ว่าในสังคมหรือประเทศใดๆ ในโลก    เพราะว่า mega project มีความซับซ้อน เชื่อมโยงกับปัจจัยที่หลากหลายยุ่งเหยิง  และมีความเป็นพลวัตสูงมากในทุกด้าน    ดังนั้น ความรู้สำหรับใช้ทำงานใน mega project จึงไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์    เมื่อขาดความรู้ก็ต้องวิจัย และจัดการความรู้
     คือต้องทำไปและมีการวิจัยคู่ขนานไปพร้อมๆ กัน   ในทำนองเดียวกันกับโครง การบริการสุขภาพ 30 บาท รักษาทุกโรค    ซึ่งทั้ง สวรส. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณ สุข) และ สปสช. (สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ) ให้ทุนวิจัยเพื่อทำความ เข้าใจและปรับปรุงโครงการอยู่ตลอดเวลา
    วงการอุดมศึกษาจะต้องมีกลไกสนับ สนุนการวิจัย เชิงระบบด้านการศึกษาให้ เป็นกิจลักษณะกว่าที่เป็นอยู่
    สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งคือให้ทุนวิจัยวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก-โท ในเรื่องดังกล่าว
    นี่คือยุทธศาสตร์ใช้ mega project เป็นเครื่องมือสร้างคน สร้างนักวิจัยระดับ สูงให้แก่ประเทศ    ซึ่งถ้ามีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ การจ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาก็ควรจะลดลง ไม่ต้องจ่ายถึงปีละกว่าแสนล้านบาทอย่าง ในปัจจุบัน
      อีกประเด็นหนึ่งที่ผมเรียน ดร. เมธี   คือต้องไม่ลืมการจัดสรรเงินเพื่อส่งเสริม เด็กที่มีความสามารถพิเศษและต้องการเรียนวิชาที่ไม่ทำเงิน เช่น คณิตศาสตร์   ฟิสิกส์   มนุษยศาสตร์
     วันที่ ๖ กย. ผมเอ่ยเรื่องนี้กับ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดี มจธ. ท่านบอกว่า ICL เป็นเพียง ๑ ใน ๖ กองทุนด้านการศึกษา ที่จะต้องคิดกันอย่างจริงจังและระมัดระวัง     นี่ก็เป็นเรื่องที่เลยความรู้ของผมไปแล้ว    ผมไม่รู้รอบถึงขนาดนั้น     จะเห็นว่าเรื่องการเงินอุดมศึกษาเป็นเรื่องสำคัญมากที่ความรู้ของเรามีไม่พอใช้     และจริงๆ แล้วต้องใช้ยุทธศาสตร์ ทำไป – เรียนรู้ไป     คือ ทำไป – วิจัย & จัดการความรู้ไป  นั่นเอง
วิจารณ์ พานิช
๑๐ กย. ๔๘
หมายเลขบันทึก: 3699เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 05:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์
อ่านเรื่องนี้แล้วได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ขอนำแนวคิดนี้ไปขยายผลต่อที่ http://gotoknow.org/archive/2005/09/10/10/12/44/e3702
ผมมีแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนในสังคมโดยเฉพาะในภาคชุมชนที่ด้วยโอกาสโดยอิงสถาบันอุดมศึกษา และได้หารือเบื้องต้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขียนเล่าในประชาคมวลัยลักษณ์ อยากฟังความเห็นของอาจารย์ในฐานะกรรมการสภามหาวิทยาลัยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท