เมืองชุมพรสมัยอยุธยา


สมัยประวัติศาสตร์ในชุมพร

    

 วันนี้เรามาติดตามการจัดแสดงนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ชุมพร กันต่อนะคะ    หัวข้อที่  4   เรื่อง ประวัติศาสตร์ในชุมพร

 

สมัยอยุธยา
           เมื่อสิ้นสุดสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วแล้ว  หลักฐานและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองชุมพรก็ขาดหายไปเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่องชัดเจนนัก ในสมัยอยุธยาเมืองชุมพรมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่าน  โดยเฉพาะในการทำศึกสงครามกับประเทศพม่า
ลักษณะเมืองชุมพร

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวิจารณ์เกี่ยวกับเมืองชุมพรว่า มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากหัวเมืองภาคใต้อื่นๆ ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๕๐ (ตำนานเมืองระนอง) ว่า
“…ในบรรดาหัวเมืองทางแหลมมลายูที่ตั้งมาแต่โบราณ
  เมืองชุมพรประหลาดผิดกับเพื่อนอยู่อย่างหนึ่ง ที่ไม่มีตัวเมืองเหมือนเมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง  เมืองสงขลา   เมืองปัตตานี และเมืองถลาง เมืองตะกั่วทุ่งทางฝั่งตะวันตก ล้วนมีโบราณวัตถุรู้ได้ว่า เป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่ส่วนเมืองชุมพรข้าพเจ้าผู้แต่งหนังสือนี้ (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)ได้เข้าค้นหาหนักแล้ว ยังมิได้พบโบราณวัตถุเป็นสำคัญ  บางที่จะเป็นด้วยเหตุ  ๒ อย่าง คือ มีที่ทำนาไม่พอคนมากอย่าง  ๑ อีกอย่าง   อยู่ตรงคอแหลมมลายู  มักเป็นสมรภูมิรบพุ่งกันตรงนั้นจึงไม่สามารถสร้างบ้านเมือง  แต่ต้องรักษาเป็นเมืองด่าน…”
ที่มาของ 
คำว่า ชุมพร
มีการสันนิษฐานไว้หลัก ๆ
     ประการ  คือ

 ๑.  อาจหมายถึง ชุมนุมพล  เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน  การเดินทัพไม่ว่าจะมาฝ่ายเหนือหรือฝ่ายใต้จะเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่จึงเรียกว่า ชุมนุมพล  ต่อมาได้เพี้ยนกลายเป็น  ชุมพร 
 ๒. อาจหมายถึง ชุมนุมพร หรือ ประชุมพร เนื่องจากการเดินทางไปรบในสมัยโบราณเมื่อจะเคลื่อนพลต้องทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อส่งทัพ เพื่อให้ได้รับชัยชนะและบำรุงขวัญทหาร ….

๓. อาจหมายถึง มะเดื่อชุมพร ชื่อพันธ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น
  เพราะที่ตั้งเมืองเดิมบนฝั่งท่าน้ำชุมพรมีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มาก    จึงอาจเป็นที่มาของคำว่า  ชุมพร 
       ชื่อเมืองชุมพร ปรากฏเป็นครั้งแรกในตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ที่กล่าวถึง เมืองนครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองจนสามารถยกกองทัพไปตีเมืองลังกา และเมืองต่างๆ ตลอดแหลมมลายูไว้ในครอบครอง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร และมีเมืองชุมพรเป็นเมืองขึ้นรวมอยู่ด้วย (ปีมะแม  ถือตราแพะ)  
เมืองชุมพรเริ่มกลายเป็นชุมชนเกษตรท่าเรือข้ามคาบสมุทรอย่างถาวรมั่นคงสืบต่อมา
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองชุมพร

       หลักฐานสมัยกรุงศรีอยุธยาได้ระบุถึงชื่อเมืองชุมพรย้อยหลังไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้นว่า เมืองปะทิว  เมืองชุมพร  เป็นหัวเมืองภาคใต้ที่ราชสำนักอยุธยากวาดต้อนชาวลาวจากเมืองแถง  และเมืองพงสาลีมาอยู่  ในสมัยพระเจ้าบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา  ในปี พ.ศ.๑๙๙๗  มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองครั้งใหญ่ และได้กำหนดให้เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ดังปรากฏในหนังสือกฎหมายตราสามดวง  เล่ม   ว่า  “…ออกญาเคางะทราธิบดี  ศรีสรัตวลุมหนักพระชุมพร  เมืองตรีนา  ๕,๐๐๐…”   ต่อมาภายหลังจึงได้เลื่อนยศเจ้าเมืองขึ้นเป็นพระยา และเปลี่ยนราชทินนามใหม่เป็น “ พระยาเพชรกำแหงสงคราม ”   ถือศักดินาเท่าเดิม ชื่อเจ้าเมืองชุมพรที่ปรากฏนี้ เสฐียรโกเศศได้ให้ความเห็นไว้ว่า  คำว่า  เคางะ  และคำว่า   ลุมหนัก  อาจไม่ใช่คำในภาษาไทย  แต่อาจเป็นคำในภาษาจาม  ความเห็นนี้ทำให้อาจสันนิษฐานได้ว่าพวกจามอาจมีอิทธิพลอยู่ในดินแดนทางตอนเหนือของแหลมมลายู  และเมื่อไทยเข้ามาเป็นใหญ่แล้วอาจรับเอาชื่อของชนพื้นเมืองมาตั้งชื่อเจ้าเมืองชุมพรตั้งแต่ตอนต้นของอยุธยาก็เป็นได้
เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี
  มีเมืองจัตวาเป็นเมืองขึ้น   เมือง 
คือ
-
         
เมืองปทิว (ปะทิว)
-
         
เมืองท่าแซะ
-
         
เมืองตะโก
-
         
เมืองหลังสวน
-
          เมืองตระ 
(กระ)
-
         
เมืองระนอง
-
          เมืองมะลิวัน 

-
         
เมืองกำเนิดนพคุณ (บางสะพาน)
           ในแผ่นดินของพระเพทราชา  ปี พ.ศ. ๒๒๒๙  เจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นกฎบแข็งเมือง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ   ให้พระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพบก  พระยาราชวังสันเป็นแม่ทัพเรือ คุมกองทัพไปปราบปรามเมืองนครศรีธรรมราช  กองทัพบกได้ยาตราผ่านชุมพร และเกณฑ์เอาผู้รั้งกรมการเมืองชุมพร เมืองไชยา  ถือพลหัวเมืองทั้งปวงเข้ามาบรรจบทัพบกไปราชการสงครามด้วย    

           ในแผ่นดินพระบรมราชาที่   (พระที่นั่งสุริยาอมรินทร์/พระเจ้าเอกทัศน์)  พระเจ้าอังวะ  ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยแบ่งเป็น   ทัพ คือ ทัพเหนือและทัพใต้  ทัพทางใต้ได้เข้าตีเมืองทวาย มะริด  และตะนาวศรี หุยตองจาเจ้าเมืองทวายสู้ไม่ได้จึงหนีมาอาศัยอยู่ในเมืองชุมพร ทัพพม่ายกติดตามมา  เมื่อตีได้แล้ว จึงเผาเมืองชุมพรแล้วยกไปตีเมืองปะทิว  เมืองกุย  และเมืองปราณ แตกทั้งสามเมือง ทัพพม่าจึงกลับเข้าไปเมืองทวาย
         ใน พ.ศ.๒๓๑๐  เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า  นายสิทธิในขณะนั้นเป็นพระปลัดว่าการเมืองนครศรีธรรมราช  ได้ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  เรียกว่า  เจ้านคร  และได้แผ่อาณาเขตเข้ามาถึงเมืองชุมพรด้วย

 

พรุ่งนี้มาติดตามกันต่อนะค่ะว่า  เรื่องราวของจังหวัดชุมพรสมัยธนบุรีจะเป็นอย่างไร 

 

   

หมายเลขบันทึก: 3701เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ชาวบ้านเล่าต่อกันมา

เจ้าเมืองชุมพรในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถ่ายทอดสู่ลูกหลานหลายรุ่นต่อกัน เจ้าคุณหลวงปักษี ก็นเป็นทายาทยุคต้นๆ ที่สืบกันมา จนถึงปัจจุบัน นามสกุล บ่วงราบ นั้นและคือลูกหลานเจ้าเมืองชุมพรสมัยกรุงศรีอยุธยา พ่อบ้านเมืองชุมพรเมือ 300 กว่าปี

ประวัติคำว่าชุมพร

คำว่า ชุมพร ตามอักษรแยกได้เป็น 2 คำ คือ “ชุม” คำหนึ่ง และ “พร” คำหนึ่ง คำว่า “ชุม” ตามปทานุกรมของ

กระทรวงศึกษาธิการแปลว่า รวม. ชุก, มาก รวมกันอยู่ คำว่า “พร” แปลว่า ของดี, ของที่เลือกเอา, ของประเสริฐ คำว่า ชุมพร ตามตัวอักษรจึงแปลได้ความว่าเป็นที่รวมของประเสริฐ แต่ชื่อเมืองชุมพรนั้นไม่มีความหมายเฉพาะตามตัวอักษร ชุมพรเป็นชื่อเมืองมาแต่โบราณ ตามตำนานการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชได้มีการสร้างเมืองสิบสองนักษัตร เมืองชุมพรเป็นเมืองหนึ่งในสิบสองนักษัตรเป็นปีมะแม ถือตราแพะ และปรากฏหลักฐานแน่นอนว่า มีชื่อชุมพรมาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ชื่อนี้มีความหมายหรือประวัติความเป็นมาอย่างไร ยากที่จะค้นคว้าหาหลักฐานได้ การที่จะสืบสวนไปว่ามีความอย่างใดก็ต้องพิจารณาประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาแต่โบราณ

สมัย พิจารณาดูตามเหตุผล เท่าที่รวบรวมและพิจารณาดู พอจะแยกออกได้เป็น 3 ประการ คือ

(1) เนื่องด้วยเมืองชุมพร ว่าโดยสภาพเป็นเมืองหน้าด่านในทางภาคใต้ เพราะสมัยโบราณยังไม่มีรถไฟ เรือยนต์ หรือ เรือกลไฟ ใช้ในกองทัพและพื้นที่ก็เป็นคอคอดที่แคบของแหลมมลายู การยกทัพต้องยกมาทางบก และตั้งค่ายที่ชุมพร ฉะนั้น การสงครามหรือการรบทุกครั้งไม่ว่าจะรบกับพม่าหรือปราบกบฎภายในอาณาจักรก็ตาม เมื่อยกทัพหลวงมาครั้งใดเมืองชุมพรก็ต้องเป็นที่ชุมนุมพลหรือชุมนุมกองทัพ ชาวชุมพรในสมัยโบราณได้ชื่อว่าเป็นนักรบ เมื่อพม่าได้เคลื่อนทัพเข้ามาในดินแดนทางเมืองท่าแซะและตำบลรับร่อ เจ้าเมืองจะเกณฑ์ไพร่พลเข้าป้องกันอย่างเข้มแข็ง และเมืองชุมพรต้องร่วมสมทบกับกองทัพด้วย จะเห็นได้ว่าเมืองชุมพรมีส่วนร่วมในการสงครามเกือบทุกครั้งตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงเชื่อกันว่าชุมพรมาจากคำว่า “ประชุมพล” หรือ “ชุมนุมพล” นั่นเอง คำประชุมพล แปลได้ความว่า รวมกำลัง ทั้งนี้โดยเหตุที่ว่า ก่อนจะยาตราทัพต้องมาประชุมพลหรือรวมกำลังออกเป็นหมวดหมู่ทุกครั้ง แต่คำว่าประชุมพลนี้เรียกผิดเพี้ยนไปจากเดิมจนกลายเป็นชุมพร เพราะคนไทยทางใต้ชอบพูดคำสั้นๆ จึงตัดคำว่าประออกเสีย ส่วนคำว่าพลต่อมาใช้คำว่าพรแทน เพราะการเพี้ยนไปจากเดิมจึงกลายเป็นชุมพรมาจนทุกวันนี้ ซึ่งตามธรรมดา ชื่อเมือง ชื่อตำบล มักจะเรียกเพี้ยนไปจากเดิมเสมอ อย่างไรก็ดีเมืองชุมพร นับว่าเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์มาแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบัน แม้แต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นก็ยกพลขึ้นบกที่ปากน้ำชุมพรแล้วจึงยาตราทัพต่อไปยังประเทศพม่า ตามแผนการที่วางไว้ขณะนี้ชุมพรยังมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ จะเห็นได้ว่าเป็นจังหวัดทหารบกและมีกองกำลัง ร. 25 พัน 1 ตั้งอยู่ ฉะนั้น ความหมายจากคำว่าประชุมพล จึงมีความหมายตรงกับประวัติศาสตร์ของเมืองทีว่าเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์

(2) โดยเหตุที่ที่ตั้งเมืองเดิม อยู่บ้านประเดิมฝั่งขวาของคลองชุมพร ที่คลองชุมพรมีต้นไม้ชนิดหนึ่งอยู่ทั่วไปทั้งสองฟากคลองเรียกกันว่า “มะเดื่อชุมพร” เป็นพืชยืนต้น ปัจจุบันก็มีอยู่มาก ใช้เปลือกและต้นทำยาสมุนไพร คลองนี้เดิมยังคงไม่มีชื่อ ภายหลังจึงถูกตั้งชื่อว่า คลองชุมพร ตามต้นไม้ไปด้วย เพราะตามปกติการตั้งชื่อท้องที่หรือแม่น้ำลำคลองมักจะเรียกตามชื่อต้นไม้ หรือตามสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏ ณ ที่นั้น เช่นเดียวกับที่อำเภอท่าแซะมีชื่อต้นไม้แซะซึ่งขึ้นอยู่ข้างคลอง ต่อมาเมืองที่มาตั้งจึงมีชื่อตามต้นไม้ไปด้วย เช่นเดียวกับชื่อชุมพร อาจเรียกตามชื่อคลองหรือชื่อต้นไม้ก็เป็นได้ คำว่าชุมพรนอกจากจะมีต้นไม้แล้ว ยังเรียกชื่อหวายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสินค้าของชุมพร คือ หวายชุมพรอีกด้วย ซึ่งมีอยู่มากมายตามต้นคลองชุมพรโดยทั่วไป

(3) ตามตัวอักษรที่แปลว่า เป็นที่รวมของประเสริฐหรือของดีนั้น ผู้ที่จะให้ของประเสริฐได้ต้องเป็นบุคคลที่มีอำนาจหรืออิทธิพลยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา จึงอาจหมายถึงเทวดีเป็นผู้ให้ หรือเป็นสถานที่ที่เทวดาประทานพรทั้งหลายให้ ซึ่งตามธรรมดาบุคคลชอบสิ่งที่เจริญหรือเป็นมงคล จึงต้องการให้ชื่อเมืองเป็นมงคลนาม เป็นที่รวมแต่สิ่งที่เป็นมงคลทั้งหลาย ต่อมาได้เรียกผิดเพี้ยนไปคงเหลือแต่ชุมพร เพราะคนไทยทางใต้ชอบเรียกคำสั้นๆ ตามความหมายที่มาจากคำว่า “ประชุมพร” เมื่อได้ทราบประวัติความเป็นมาทั้งสามประการแล้วจะเห็นได้ว่า คำว่าประชุมพรนั้นมีเหตุผลทางประวัติศาสตร์สมกับที่จารึกไว้ว่า ชาวชุมพรมีน้ำใจเป็นนักรบ เพราะการตั้งชื่อเมืองหรือการตั้งชื่อใดๆ ก็ตาม ย่อมจะมีความหมายสำคัญในชื่อที่ตั้งนั้น ส่วนที่ว่าชุมพรมาจากคำว่ามะเดื่อชุมพรนั้น หรือมาจากเทวดาประชุมพรให้ก็ดีสันนิษฐานว่ามาคิดค้นหาเหตุผลภายหลังและไม่มีความหมาย

ตรงตามประวัติศาสตร์

ประวัติอาณาเขต

เมืองชุมพรมีศักดิ์เป็นเมืองตรี จึงมีเมืองเล็กๆ เป็นเมืองขึ้น เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาชุมพรตามนามของเมืองในสมัยโบราณ มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมีอาณาเขตจดทะเลทั้งสองข้าง ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดเมืองตะนาวศรี ทิศเหนือจดเมืองกำเนิดนพคุณ ทิศใต้จดเมืองไชยา ทิศตะวันออกจดอ่าวไทย ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรอินเดีย มีเมืองขึ้นในครั้งนั้น 7 เมือง คือ เมืองปะทิว เมืองท่าแซะ เมืองตะโก เมืองหลังสวน เมืองตระ (อำเภอ กระบุรีในปัจจุบัน) เมืองมะลิวัน เมืองระนอง ภายหลังได้รวมเอาเมืองกำเนิดนพคุณ (อำเภอบางสะพานในปัจจุบัน) มาขึ้นด้วย ส่วนเมืองตะโกเดิมต่อมาได้ยุบเป็นตำบลขึ้นต่ออำเภอสวี ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอทุ่งตะโก เมืองขึ้นเหล่านี้ในครั้งหลังได้ถูกตัดแยกออกไปตั้งเมืองใหม่บ้าง ด้วยเหตุอื่นบ้าง จึงทำให้อาณาเขตของชุมพรลดน้อยลงไปตามลำดับ เฉพาะเมืองที่ตัดแยกออกไปอยู่ในปกครองของจังหวัดอื่น มีประวัติดังต่อไปนี้

(1) เมืองมะลิวัน ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษได้มาปกครองเมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในครั้งก่อน อังกฤษขอปันเขตแดนระหว่างไทยกับอังกฤษ ณ เมืองมะลิวัน โดยกำหนดให้แม่น้ำกระบุรีเป็นเขตแดนฝ่ายไทย ส่วนเขตแดนอังกฤษอยู่เพียงแนวเขาเป็นเขต โดยถือเอาแม่น้ำปากจั่นเป็นเขตแดน ฝ่ายไทยจึงโปรดเกล้าให้พระยายมราชสุด (จ๋อ) กับพระยาเพชรกำแหงสงคราม (หลวงปักษี ครุฑ) ต้นตระกูล บ่วงราบ ไปเจรจากับอังกฤษ แต่ไม่เป็นที่ตกลง จนถึงรัชกาลที่ 4 โปรดให้พระยาเพชรบุรี พระยาเพชรกำแหงสงคราม (หลวงปักษี ครุฑ) และพระยาชุมพร (กล่อม) ไปเจรจาปันเขตแดน ด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่า ความเรื่องนี้ 2 แผ่นดินแล้วยังไม่ตกลงกันได้ควรประนีประนอมผ่อนผัน จึงให้กรรมการปันเขตแดนทั้ง 2 ท่านทำความตกลงเอง โดยถือเอาแม่น้ำกระบุรีเป็นเขต แต่มีข้อสัญญาปลีกย่อยเรื่องโจรผู้ร้ายข้ามแดนอังกฤษ เมืองมะลิวัน ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นชุมพรและเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย จึงตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษด้วยความจำเป็นเมื่อปีชวดพุทธศักราช 2407 เมืองมะลิวันเมื่อขึ้นอยู่กับอังกฤษตั้งชื่อว่า Vicloria Point ไทยเรียกว่าเกาะสอง ขณะนี้เป็นอำเภอชั้นเอก ขึ้นอยู่กับเขตทวาย จังหวัดมะริด ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า

(2) เมืองระนอง เมืองระนองแต่เดิมเป็นเมืองแขวง (ปัจจุบันเทียบเท่ากับอำเภอ) ขึ้นต่อเมืองชุมพรเมื่อปีขาล พุทธศักราช 2397 ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตำแหน่งเจ้าเมืองว่างลงจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง ต้นตระกูล ณ ระนอง) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนอง แต่ยังเป็นเมืองขึ้นของชุมพรอยู่ ต่อมาเมื่อปีจอ พ.ศ. 2405 (จ.ศ. 1224) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี เจ้าเมืองระนองขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี และยกฐานะเมืองระนองขึ้นมีศักดิ์เป็นเมืองจัตวาขึ้นต่อกรุงเทพฯ ครั้นปี พ.ศ. 2459 เปลี่ยนชื่อมาเป็นจังหวัดระนองจนกระทั่งทุกวันนี้

(3) เมืองตระ เมืองตระปัจจุบันเรียกว่าอำเภอกระบุรี ขึ้นกับจังหวัดระนอง แต่เดิมเมืองตระเป็นเมืองเล็กขึ้นต่อเมืองชุมพร เมื่อปีจอ พุทธศักราช 2405 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเมืองตระกับเมืองระนองเป็นเมืองจัตวาขึ้นต่อกรุงเทพฯ โดยแยกเมืองตระให้ไปขึ้นกับเมืองระนองที่ตั้งใหม่ เมืองตระจึงแยกจากเมืองชุมพรแต่นั้นมา

(4) เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองกำเนิดนพคุณ สมัยก่อนเป็นตำบลเล็กๆ ขึ้นต่อเมืองกุยบุรีในสมัยอยุธยา พ.ศ. 2290 (จ.ศ.1109) ได้พบแร่ทองคำในตำบลนี้ ภายหลังในปี พ.ศ. 2392 ในรัชกาลที่ 3 ทรงตั้งเป็นเมืองชื่อว่าเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งหมายถึงเมืองที่มีแร่ทองคำ ต่อมาได้มาขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2449 (ร.ศ.125) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองปราณบุรี ซึ่งแต่เดิมเป็นอำเภอขึ้นเมืองเพชรบุรี และเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นเมืองชุมพร รวม 3 เมืองเป็นเมืองเดียวกัน โดยโอนท้องที่เมืองกำเนิดนพคุณมารวมกับเมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ ตั้งเป็นเมืองจัตวาอีกเมืองหนึ่งเรียกว่า “เมืองปราณบุรี” ขึ้นกับมณฑลราชบุรี ต่อมาเมืองปราณบุรีได้เปลี่ยนเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเมืองกำเนิดนพคุณมีชื่อว่าอำเภอบางสะพาน โดยมีอาณาเขตหลักคือเขาไชยราชเป็นที่แบ่งเขตแดนระหว่างชุมพร (อำเภอปะทิว) กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาจนถึงทุกวันนี้

ที่มา: http://www.chumphon.go.th/page22.htm

<a href="http://www.siamfreestyle.com/travel-attraction/chumphon/" title="ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัด ชุมพร ">ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัด ชุมพร</a>

<a href="http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?act=ST&f=38&t=481&st=0#entry1148" title="แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา">แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา</a>

<a href="http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=480" title="ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดชุมพร ">ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดชุมพร </a>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท