บทเรียนที่สอง


การบริหารแบบโควี่
How To สุนทรียสนทนา



หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตที่ผ่านเข้ามาในปัจจุบัน หากท่านเคยประสบปัญหาเช่นนี้ทั้งในหน้าที่การงานและที่บ้าน...


เหนื่อย หงุดหงิด ธุระปะปัง ไม่สุด ไม่เสร็จ ไม่สิ้น เสียที ยิ่งทำ ยิ่งยุ่ง ยิ่งยุ่ง ยิ่งเครียด ยิ่งไฟลนก้น งานยิ่งไม่เสร็จไปกันใหญ่

กลับมาบ้านก็ยังปวดหัว ไอ้นั่นก็ไม่ดี อันนี้ก็ไม่ได้ ยุ่งไปหมด...จะทำอย่างไรดีละหนอ??


วันนี้เรามี How To จากสุนทรียสนทนามาให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

สิ่งนี้เรียกว่า
"การบริหารแบบโควี่" คือ วิธีการจัดเวลาในชีวิตในสมดุลย์และเหมาะสม ไม่หลงลืมสิ่งสำคัญในชีวิตนั้นเอง ก่อนอื่นต้องกลับมาดูการใช้เวลาของท่าน ว่าเป็นเช่นไร ระหว่างแบบที่ 1 เหงื่อตกแหมะๆ มีแต่งานเร่งด่วน วิธีใช้เวลาในชีวิตของท่านการบริหารเวลาแบบโควี่

 

เร่งด่วน ไม่เร่งด่วน
สำคัญ 80% 20%
ไม่สำคัญ 10% 10%
แบบที่ 2 ไม่เร่งด่วน รักษาดุลยภาพ ทำงานอย่างเบิกบานใจ นี้คือการบริหารเวลาแบบที่โควี่แนะนำ

 

เร่งด่วน ไม่เร่งด่วน
สำคัญ 20% 60%
ไม่สำคัญ 10% 10%
 หากเราเป็นแบบที่หนึ่ง เราคงโหดเหี่ยว ไร้ชีวิตชีวา วิ่งวุ่น เหนื่อยหอบ และหลงลืมสิ่งที่สำคัญกับชีวิตไปจริงๆ เนื่องจากเราให้ความสำคัญกับความเร่งด่วนถึงร้อยละ 60 – 80 แต่ลืมสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆไป หากถามว่า "สิ่งสำคัญ" มีอะไรบ้าง แน่นอน สิ่งสำคัญของเราคงไม่ใช่ "งาน" เสียทั้งหมด การรักษามิตรภาพ การดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว การดูแลสุขภาพ การศึกษาหาความรู้ ฯลฯ ล้วนมีความสำคัญต่อกายและใจของเราทั้งสิ้นโควี่กล่าวว่าชีวิตของมนุษย์ควรจะอยู่กับการ "เตรียมการ" แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทำงานโดยเตรียมการ ทำให้ไฟลนก้น และเรามักจะบอกว่าไม่มีเวลาอยู่เสมอเพราะว่าเราอยู่กับความเร่งด่วนตลอดเวลา จนกระทั่งไม่มีเวลาให้กับเรื่องสำคัญจริงๆ ของเราเลย

เมื่อได้อ่านตารางโควี่ เราลองมาร่างตารางเล็กๆ ในสมุดดูว่าเราให้ความสำคัญกับอะไรบ้าง เพื่อเราจะไม่หลงลืมสิ่งที่สำคัญจริงๆ ไป

ลองหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเราเองกันบ้างซักที เพื่อการมีชีวิตที่งดงาม ไม่เร่งร้อนจนเกินไป ...วินาทีนี้ท่านเริ่มหรือยัง

(คัดลอกบางส่วนจาก http://happymedia.blogspot.com)

กมลชนก ทัดบุปผา เรียบเรียง

4 ก.ค. 49 (12.05น.)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #how#to#สุนทรียสนทนา
หมายเลขบันทึก: 36952เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2006 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท