การปรับปรุงหลักสูตรกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


ความจริงเรื่องนี้ก็สามารถอยู่ในหมวดหมู่ กฎหมายการเมือง การปกครองได้นะ

เนื่องจากไม่ได้เข้ามานาน เลยต้องทำเพิ่มอีกบันทึก

และที่มาของบันทึกคือ คณะโตขึ้นก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 (ว้าว กำลังจะขึ้นป 1 นะเนี่ย) ดังนั้นก็ต้องปรับปรุงหลักสูตรแล้ว

เลยเข้ามาขอความเห็นท่านที่อยู่ในไซเบอร์ ว่าเราจะปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างไรเพื่อให้ลูกศิษย์ที่เรียนมีวิสัยทัศน์และเพื่อประเทศชาติของเราใน 5-10 ปีข้างหน้า

ลองช่วยกันนะ และขอบคุณอาจารย์แหววที่แนะนำ

 

2116 302 กฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3(3-0-6)

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 2116 301 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

รายวิชาที่ต้องเรียนคู่กัน : ไม่มี

ศึกษาความหมาย ความสัมพันธ์ และความสำคัญของกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศในการควบคุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากสมัยผูกขาดทางการค้าMercantilism สู่ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม Free Market Competition ภายใต้แนวคิดทุนนิยม โดยศึกษาอิทธิพลของแนวคิดพาณิชยการนิยมต่อการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ การล่าอาณานิคม การเผยแพร่ระบบกฎหมาย และการปกครองของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และซีวิลลอว์ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ของโลก การเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเศรษฐกิจการเมืองระบบผูกขาดของเจ้าผู้ปกครองประเทศสู่ระบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย และเศรษฐกิจเสรีนิยม ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อการขยายอิทธิพลทางการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยและสังคมนิยม และการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศที่สัมพันธ์กับการสร้างเสริมโครงสร้าง และวัฒนธรรมความร่วมมือทางการค้า การชำระเงิน การขนส่ง การประกันภัยและการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเสรีนิยม ความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศสังคมนิยมภายใต้องค์การ COMECON และการเสื่อมอิทธิพลของเศรษฐกิจการเมืองสังคมนิยม การขยายอำนาจและอิทธิพลของระบบกฎหมายและเศรษฐกิจเสรีนิยม ภายหลังการจัดตั้ง WTO, GATT 1994 ลักษณะโครงสร้างทางกฎหมายขยายขอบเขตการค้าเสรีสู่การค้าบริการ การลงทุน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และอื่น ๆ การขยายอิทธิพลของระบบกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองการลงทุน และการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประเทศไทยกับการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย หรืออนุวัตรการตามข้อตกลงพหุพาคีและทวิภาคีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และการเปดิ ประเทศเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมทุนนิยมโลกาภิวัตน์

 

หมายเลขบันทึก: 368946เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2010 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นว่า ตามแนวสังเขปลักษณะวิชา ก็ต้องสอนจากมุมมองของภาคเอกชนด้วยนะคะ มิใช่มองเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท