วิธีป้องกันท้องอืดจากกรดไหลย้อน(GERD)


นิตยสาร 'Health (= สุขภาพ)' ตีพิมพ์เรื่อง 'Surprising Heartburn Triggers' = "ตัว กระตุ้นอาการแสบร้อนในอก (อาการหนึ่งของโรคกรดไหลย้อน / GERD)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Health ]

...

คนอเมริกัน 309.57 ล้านคนเป็นโรคกรดไหลย้อนประมาณ 60 ล้านคน หรือถ้ามีคนอเมริกัน 5 คนเดินมา... จะพบคนเป็นโรคนี้ 1 คน [ Census ]

โรคกรดไหลย้อนอาจทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด แสบร้อนหน้าอก เรอเปรี้ยว, ถ้าเป็นมาก... อาจทำให้ไอเรื้อรัง เสียงแหบ ฟันสึกจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือกรดได้

...

วิธีป้องกัน ท้องอืดจากโรคกรดไหลย้อน (GERD) ได้แก่

(1). ไม่สูบ บุหรี่

บุหรี่ทำให้หูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง (เหนือกระเพาะอาหาร) หย่อนตัวลง ทำให้กรดและน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารมากขึ้น

นอกจากนั้นยังลดการหลั่งน้ำลาย ซึ่งทำหน้าที่คล้ายน้ำชำระล้างที่ไหลรินผ่านหลอดอาหาร ซึ่งปกติช่วยลดความเป็นกรดในหลอดอาหาร, เมื่อน้ำลาย (มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน) ไหลผ่านหลอดอาหารน้อยลง ทำให้หลอดอาหารทนกรดได้น้อยลง

...

(2). ยา

ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด-กดการอักเสบ (NSAIDs) หลายชนิด ซึ่งนิยมใช้แก้ปวด-ลดไข้ โดยเฉพาะใช้ลดอาการปวดข้อ, ยาต้านแคลเซียมที่ใช้รักษาความดันเลือดสูง, ยาขยายหลอดลม ฯลฯ อาจทำให้อาการโรคกรดไหลย้อนแย่ลงได้

...

(3). น้ำมันปลา

การกินน้ำมันปลา โดยเฉพาะกินก่อนนอน อาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง ซึ่งทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง คือ ให้ลองกินคราวละน้อยก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ให้ห่างเวลานอน หรือไม่ก็เปลี่ยนไปกินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด

อาการที่มีน้ำมันสูง โดยเฉพาะอาหารทอด อาจทำให้ท้องอืดได้เช่นกัน

...

(4). ความเครียด

ความเครียดอาจทำให้คนเราหมดมุ่นกับอาการเจ็บป่วยทางกาย และอาจกลบเกลื่อนปัญหาทางใจได้ โดยเฉพาะการไปหมกมุ่นกับอาการโรคกรดไหลย้อน เช่น ท้องอืด ฯลฯ

...

(5). สะระแหน่ (peppermint)

อาหาร ขนม ลูกอมผสมสะระแหน่อาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลงได้

...

(6). น้ำหนัก เกินหรืออ้วน

ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนตรวจสอบได้โดยการคิดดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) นำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมมาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง ค่าปกติ = 18.5-23.4 [ mahidol ]

การศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA 2003) พบว่า อาการโรคกรดไหลย้อนมีแนวโน้มจะแปรตามค่าดัชนีมวลกาย ยิ่งอ้วนยิ่งมีอาการมาก

กลไกของเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ทว่า... อาจเป็นเพราะไขมันในช่องท้องทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น และแรงดันนี้ไปกดกระเพาะอาหารอีกต่อหนึ่ง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > [ 10 วิธีป้องกันท้องอืดจากโรคกรดไหลย้อน ] ; [ 16 วิธีป้องกันท้องอืดจากโรคกรดไหลย้อน]; [ 11 วิธีลดเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน ]; [ โรคกรดไหลย้อน (GERD) ]; [ 17 วิธีต้านโรคกรดไหลย้อนลงกล่องเสียง ]; [ 20 วิธีต้านภัยโรคกรดไหลย้อนหรือเจ้าเกิร์ด ]; [ ทำไมเกิดมาเป็นเกิร์ด (โรคกรดไหลย้อน) ]

...

 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 23 มิถุนายน 2553.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 368791เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท