การศึกษาดูงานระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่ศูนย์การศึกษาและอบรมโตโยต้าและโรงงานบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา


23-6-53

ดิฉันพาน้องๆจากกรมประมาณ50คนไปดูงานที่ บริษัทโตโยต้า เมื่อ 18-6-53 ค่ะ 

 

คุณพนาจากศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมโตโยต้ามาต้อนรับและพาไปดูงานตามห้องต่างๆและโรงเรียนฝึกอบรมโดยที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ผู้แทนจำหน่าย   มีหอพัก ห้องสันทนาการ  ห้องIT  มีการร่วมมือกับภาครัฐและกรมแรงงาน     

โตโยต้าเข้ามาจำหน่ายรถในเมืองไทย48ปีก่อน   ขณะนี้มีโรงงานประกอบรถยนต์3แห่ง   ที่บ้านโพธิ์เป็นโรงงานที่ทันสมัยที่สุดในเอเซียอาคเนย์

บริษัทโตโยต้าและบริษัทในเครือซึ่งมี9บริษัทโดยมีอาจารย์วรพลจากหน่วยงานกลางมาเล่าเรื่องโตโยต้าเวย์ให้พวกเราฟัง

หลังจากทานอาหารกลางวันเรามาดูงานที่โรงงานที่บ้านโพธิ์ซึ่งผลิตรถยนต์หลายรุ่น

ผู้บรรยายให้พวกเราดูบรรยากาศภายนอกโดยการนั่งรถชมและเข้าชมในโรงประกอบ( Assembly shop  )

ที่นี่ใช้โซล่าเซล  เตาเผาแบบหมุนเวียนความร้อน  มีการขจัดฝุ่นละออง  recycle น้ำ  ขยะrecycle  ปลูกป่าเพื่อดูดซับgas โดยจะสร้างระบบนิเวศน์ และเพิ่มหิ่งห้อย (biotope   )

คุณหมอรุ่งเรืองจากกรมวิทย์ซึ่งได้ย้ายมาอยู่ที่กรมควบคุมโรค   และคุณหมอสุทัศน์จากสถาบันบำราศนราดูร

น้องๆจากสถาบันราชประชา   คุณจันทราจากบำราศและน้องๆจากกรม

 คุณหมออาจินต์จากสถาบันราชประชาและน้องๆจากกรม

 

 คุณสุรพล ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ หัวเราะเพราะดิฉันไม่ยอมมอบของให้อาจารย์เนื่องจากดิฉันผมยุ่งมาก      

การดูงานที่บ้านโพธิ์ต้องทนร้อนและใส่หมวกเพื่อความปลอดภัย    ส่วนใหญ่อาคารไม่ได้ติดแอร์   ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป   หลังจากดูงานผลิตในโรงประกอบก็มาพักและซักถามที่ห้องประชุม

อาจารย์ที่บ้านโพธิ์มาสรุปหลังดูงานเพื่อตอบคำถามพวกเรา    ในขณะดูงานจะมีน้องๆพาไปและเล่ารายละเอียดในการผลิตรถยนต์ซึ่งจะเห็นระบบQCที่เข้มข้นมากๆ   ในแต่ละจุดของส่วนประกอบจะมีจุดที่ให้มีการพูดคุยแก้ปัญหา  

 สรุปเพิ่มเติมจากการบรรยายบางส่วน

"Toyota wayเป็น DNAขององค์กรซึ่งต้องส่งผ่านคนต่อคน แบ่งออกเป็น 2 เสาหลัก คือ "การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง" (continuous improvement) และ "การเคารพนับถือในคน" (respect for people) 

ในเสาหลักที่ 1 นั้นจะเป็นการพูดถึงในมุมมองของ "งาน" การปรับปรุงพัฒนางานด้วยความคิดที่ไม่เคยพอใจกับสภาพในปัจจุบันและแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา ด้วยความคิดที่สร้างสรรค์ และการทุ่มเทความพยายาม ในขณะที่เสาหลักที่ 2 จะเป็นการพูดถึง "คน" หรือพนักงานในองค์การนั่นเอง ซึ่งมาจากความเชื่อที่ว่า ความสำเร็จในธุรกิจนั้นมาจากการสร้างสรรค์ของพนักงานแต่ละคน และยิ่งมีพลังมากขึ้น เมื่อรวมตัวกันขึ้นมาเป็นทีมที่เข้มแข็ง

จาก 2 เสาหลักนี้ก็ยังแบ่งย่อยออกไปเป็นอีก 5 เรื่องย่อยคือ Challenge, Kaizen, Genchi/Genbutsu, Respect และ Teamwork

Challenge - เรากำหนดวิสัยทัศน์ข้างหน้าอย่างท้าทาย และมุ่งมั่นในการทำความฝันนั้นให้เป็นจริง

- สร้างสรรค์คุณค่าให้กับลูกค้าผ่านการผลิตและการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

- จิตวิญญาณแห่งการท้าทาย ความมุ่งมั่นอย่างสร้างสรรค์

- มุมมองระยะยาว ความยั่งยืน

- การพิจารณา การตัดสินใจ อย่างรอบคอบ คำนึงถึงความเสี่ยง

Kaizen - เราปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา และการเจริญเติบโต

ใช้PDCA cercle   Plan ใช้เวลามาก  Do ต้องตั้งใจจริงและรายงานผลด้วย Check ทำแล้วได้ผลตามแผนหรือไม่  มีขบวนการประเมิน  ใช้การถาม 5 why มักจะได้คำตอบของroot cause  Act การสร้างมาตรฐาน

- จิตวิญญาณแห่งการปรับปรุง และความคิดพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

- สร้างระบบและการทำงานที่ปราศจากความสูญเสีย (lean)

- รณรงค์ส่งเสริมองค์การแห่งการเรียนรู้

Genchi/Genbutsu - เราปฏิบัติตามแนวคิด Genchi/Genbutsu ไปที่ต้นตอหรือแหล่งกำเนิด เพื่อดูสภาพที่แท้จริง ค้นหาข้อเท็จจริง ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง โดยการหาฉันทามติร่วมกันของทีม และสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด

- การสร้างฉันทามติอย่างมีประสิทธิผล

- มุ่งมั่นต่อการบรรลุเป้าหมาย

Respect - เราเคารพนับถือ ให้เกียรติ พยายามทำความเข้าใจผู้อื่น ร่วมรับผิดชอบ และทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความเชื่อถือร่วมกัน (mutual trust)

- ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ องค์กร (stakenholders)

- ความเชื่อถือและความรับผิดชอบร่วมกัน

- การสื่อสารอย่างจริงใจ เปิดเผย

Teamwork - เรากระตุ้น สนับสนุนและสร้างโอกาสต่อการเจริญเติบโต พัฒนา ในส่วนบุคคล และอาชีพการงาน ควบคู่ไปกับผลการทำงานที่ดีที่สุด ทั้งของตัวพนักงานเองและทีม

- ให้ความสำคัญต่อการศึกษาและการพัฒนาของพนักงาน

- นับถือความเป็นส่วนบุคคล พร้อมกันกับตระหนักถึงพลังของทีม

(เรียบเรียงจากบทความของ "กฤชชัย อนรรฆมณี" จากนิตยสาร Productivity World)

 

คำสำคัญ (Tags): #tm#toyota ways
หมายเลขบันทึก: 368682เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท