ให้รู้ ให้ทำ ให้ใจ


สอนให้รัก ก่อนเรียนรู้

Head Hand Heart

      วันนี้สอนรายวิชา การจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา จากที่ศึกษาเรียนรู้มาก่อนที่จะสอนนั้น ก็ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของนักวิชาการศึกษามาแล้วหลายคน และก็น่าสนใจทุกคนเพราะได้ให้ความหมายไว้ได้ดีทีเดียว เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้นคืออะไร หลายคนให้คำตอบแตกต่างกันไปตามความเข้าใจ ดังนั้น ครูจึงยกตัวอย่างให้พวกเขาฟัง จากแนวคิดทฤษฎีของ Bloom ตามที่พวกเขาได้ศึกษาค้นคว้ามาแล้วช่วยกันสรุปตามความคิดเห็นของตนเองก่อน ครูก็อธิบายให้ฟังว่า ถึงแม้องค์ประกอบการเรียนรู้จะมีอยู่หลักๆด้วยกัน 3 ประการ ที่นักศึกษาได้ศึกษามาว่า 1) พุทธิพิสัย 2) ทักษะพิสัย 3) จิตพิสัย ตามที่ทุกคนเห็นในตำรา ซึ่งบางคนก็ยังไม่เข้าใจ ก็เลยศึกษาเพิ่มเติมได้หลักการง่ายๆมาเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น โดยที่พวกเขาคงไม่ค่อยไปค้นคว้ากันเท่าไร

     วิธีการง่ายๆ 3H ที่จะกล่าวถึงมีดังนี้

     1) Head  ตอนนี้เด็กๆตอบว่าศรีษะค่ะ เกือบถูก เราอย่าไปบอกว่าผิดไม่ใช่ เพระความหมายแปลออกมาอย่างนั้น แต่ให้เด็กวิเคราะห์ให้ได้ว่ามันหมายถึงอย่างอื่น เพิ่มเติมขึ้นมาอีกได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง ครูก็เลยแนะให้ว่าความรู้ ความคิด แต่ต้องคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ออกมาให้ได้ทุกครั้ง เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านการคิดอยู่ตลอดเวลา ใช้ความรู้ความคิดทุกครั้งทั้งจะนำไปสู่การเรียนรู้ หรือครูที่จะนำไปสู่การสอน

     2) Hand ส่วนคำนี้ก็ไม่ได้หมายถึง มือ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการลงมือปฏิบัติให้รู้ว่าสิ่งที่รู้แล้ว เข้าใจเป็นอย่างดีแล้วมีความรู้ความสามารที่จะกระทำได้เป็นอย่างดีไม่ว่าการลงมือทำนั้นในช่วงแรกอาจจะยังไม่ชำนาญ แต่ให้ทำบ่อยๆให้เกิดทักษะก็จะเกิดความชำนาญยิ่งๆขึ้นไป ผู้เรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ผู้สอนก็สามารถแสดงให้เห็นถึงวิชาความรู้ที่เล่าเรียนมาว่ามีศักยภาพพอที่สามารถมาสอนได้

    3) Heart  คำนี้หลายคนมักแปลว่า หัวใจ แต่เพิ่มในเรื่องของการให้ใจลงไปสักหน่อย น่จะดูดีและเหมาะสมกับคนเป็นครูทุกครั้งที่สอนต้องให้ใจ ทำการสอนด้วยใจรักมุ่งมั่นใฝ่ฝัน และคาดหวังอยากให้เด็กทุกคนเป็นคนดี มีความรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรม เท่านั้นเองเขาก็ให้ใจตอบสนองโดยการอยากเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

       คำสามคำนี้ดูเหมือนธรรมดา แต่เรามาตีความหมายให้ดูลึกซึ้งเหมาะสมกับผู้เรียน เปรียบได้กับการสอนที่คุณตั้งใจฟูมฟัก อยากให้ทุกคนที่พ้นรั้วมหาวิทยาลัยออกไปแล้วเป็นคนดีของสังคม ประกอบอาชีพที่สุจริต และใช้ความรู้ไปในทางที่ถูกที่ควรเหมาะสมกับสาขาสายงานของตนเองส่วนคนที่จะเป็นครูก็ขอให้สมกับคำว่าวิชาชีพชั้นสูง ดังที่ฉันให้ใจ และตั้งใจไว้แล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงได้

หมายเลขบันทึก: 368313เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท