โรคหลอดเลือดหัวใจ


โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุปนิสัยการบริโภคและการปฏิบัติตนของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พบว่าอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของเมืองไทย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด

 
สูบบุหรี่
เครียด
 
มีความดันโลหิตสูง
ไม่ออกกำลังกาย
 
มีไขมันในเลือดสูง
สตรีหลังหมดประจำเดือน
 
เป็นโรคเบาหวาน
สตรีที่กินยาคุมกำเนิด
 
มีน้ำหนักตัวเกินปกติ อ้วน
กินอาหารเค็ม

ผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบ อาจมีอาการแสดงได้หลายแบบ ได้แก่

 
1.
เจ็บแน่นหน้าอก เป็นๆ หายๆ คล้ายช้างเหยียบ
 
2.
เหนื่อยง่าย
 
3.
ไม่มีอาการใดๆ แต่ทราบจากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
 
4.
จุก แน่นท้อง คล้ายโรคกระเพาะ

อาการเจ็บแน่นหน้าอก จากหัวใจ

เจ็บแน่นหน้าอกมีลักษณะจำเพาะ เจ็บตื้อๆ แน่นๆ หรือ หนักๆ ตำแหน่งที่เจ็บเป็นที่กลางอกใต้กระดูกหรือเยื้องมาทางซ้าย อาจร้าวไปที่ข้อศอก หรือแขน คอ กราม ระยะเวลาที่เจ็บนานประมาณ 3-5 นาที ถ้าหากเจ็บนานเกิน 30 นาที อาจเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ ซึ่งจะมีอาการ

 
1.
เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามือคล้ายจะเป็นลม
 
2.
เหนื่อย หายใจลำบาก
 
3.
หัวใจวาย หมดสติถึงแก่ชีวิต

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 
ใช้ยา เช่น ยาลดการบีบตัวของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมความดันโลหิตสูง ยายับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ยาลดไขมันในเลือด
 
การเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจโดยตรง ปัจจุบันมี 2 วิธี
    1. การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด
    2. การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ/การผ่าตัด Bypass หลอดเลือดหัวใจ

การปฏิบัิติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

 
1.
รับประทานอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกายให้ครบ 5 หมู่ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารไขมันสูง อาหารที่เค็มจัด หวานจัด ควรรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ให้มากๆ
 
2.
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรทำวันละ 20-30 นาที และ 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
 
3.
ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
4.
ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใสอยู่เสมอ อย่าเครียดนานๆ
 
5.
ควรตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี จะช่วยค้นหาปัจจัยเสี่ยง และสามารถบอกแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
 
6.
ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
7.
งดบุหรี่ เหล้า และสารเสพติดทุกชนิด
 
8.
อย่าให้อ้วย โดยเฉพาะอ้วนลงพุง

หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญของทุกชีวิต คุณจะไม่เสียเวลาและจะไม่เสียใจเลย ถ้าใส่ใจกับการดูแลสุขภาพของหัวใจเสียบ้าง อย่าปล่อยให้ตัวเองเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ

 
     
หมายเลขบันทึก: 367533เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท