การตรวจพิเศษหัวใจ


การตรวจพิเศษหัวใจ

การตรวจสำหรับโรคหัวใจ

การตรวจผู้ป่วยโรคหัวใจหรือสงสัยว่าจะมีโรคหัวใจ มีตั้งแต่การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ ฯลฯ บทความนี้จะรวบรวมข้อเด่น ข้อด้อย ของการตรวจแต่ละอย่างไว้คร่าวๆ เพื่อว่าหากท่านจำเป็น ต้องไปพบแพทย์จะได้ทราบไว

ชนิดของการตรวจ
ข้อเด่น
 
ข้อด้อย
ตรวจร่างกายทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายทั้งตัว ไม่เฉพาะระบบหัวใจ ทำให้ ทราบว่ามีปัญหาอื่นๆ ด้วยไหม ได้ทราบความดันโลหิต มีอะไรที่บ่งชี้ว่ามี ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ เป็นต้น   ในบางโรค จะตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ เลยก็ได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หรือ ความผิดปกติใน การนำไฟฟ้า ในหัวใจ สำหรับโรคของลิ้นหัวใจ   การตรวจร่างกาย ให้ประโยชน์ระดับหนึ่ง แต่บ่อยครั้ง ที่ไม่เพียงพอ ในการวินิจฉัย หรือ ให้ คำแนะนำผู้ป่วย
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ไม่เจ็บตัว สามารถบอกจังหวะ การเต้นของหัวใจในขณะนั้น บอกขนาดหัวใจได้บ้าง บอกการนำไฟฟ้าในหัวใจ และบอก ว่าเคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนไหม   คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ไม่ได้หมายความว่า หัวใจปกติ ในขณะเดียวกัน คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ดู ผิดปกติ ก็ไม่ได้ แปลว่าหัวใจผิดปกติเสมอไป มีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อ การแปลผลด้วย เช่น น้ำหนัก อายุ อาการขณะตรวจ เป็นต้น

เอกซเรย์ปอด ไม่เจ็บตัว เห็นทั้งปอดและขนาดหัวใจ ปอดและหัวใจมี ความสัมพันธ์กันอย่างมาก ภาวะหัวใจล้มเหลว จะทำให้เกิด น้ำคั่งในปอด ซึ่งเห็นได้จากเอกซเรย์ ซึ่งเป็นการตรวจที่ดี สำหรับภาวะนี้ และ ช่วยแยกสาเหตุต่างๆ ในกรณีที ่ผู้ป่วยมีอาการหอบ เหนื่อย ว่าเกิดจากปอดหรือหัวใจ   การตรวจขึ้นกับ คุณภาพฟิล์ม และเทคนิคด้วย รวมทั้งขนาดตัวผู้ป่วย บ่อยครั้งที่ขนาดหัวใจ ดูโตจากเอกซเรย์ แต่ความจริงแล้วปกติ การตรวจนี้ไม่ได้ มองเห็นทุกอย่าง ตามที่เข้าใจกัน ในความเป็นจริง แล้วเห็นเพียง "เงา" เท่านั้น จึงต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญของแพทย์ด้วย

ตรวจเลือด สามารถบอกได้ในกรณีที่ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายขึ้นแล้วเท่านั้น   (เฉียบพลัน) และเป็นการตรวจดูปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

  ไม่มีการตรวจเลือดใดๆ ที่มีความจำเพาะต่อหัวใจ เช่น ตรวจแล้วรู้ว่าเป็นโรคหัวใจ ต่างจากเบาหวาน ที่เราทราบจากการตรวจเลือด

อัลตราซาวน์หัวใจ หรือ เอคโค่ Echocardiogram ไม่เจ็บตัว สามารถเห็นการทำงาน ของลิ้นหัวใจได้ดี บอกความสามารถในการบีบตัว ของกล้ามเนื้อหัวใจได้ดี เห็นช่องเยื่อหุ้มหัวใจ   ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนในทุกราย โดยเฉพาะ ในคนอ้วน หรือ โรคปอด อาจมองไม่เห็นหัวใจ จากการตรวจผ่านทางหน้าอกเลย อาจจำเป็นต้องสอด เครื่องมือ (ท่อ) ลงทางหลอดอาหาร เพื่อให้ เครื่องมืออยู่ใกล้ หัวใจมากที่สุด ซึ่งเจ็บตัว และอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ (แต่พบน้อย) ที่สำคัญ คือ การตรวจชนิดนี้ ไม่เห็นหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

เดินสายพาน
Exercise Stress Test
ไม่เจ็บตัวแต่เหนื่อย ต้องออกแรง โดยการเดินบนสายพาน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของ EKG ขณะออกกำลังกาย การตรวจนี้ ใช้ในการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด   มีข้อจำกัดมาก เช่น เดินไม่ดี เพราะปวดเข่า หรือ อายุมาก บ่อยครั้งที่ตรวจเสร็จแล้ว ก็ไม่สามารถ สรุปได้ว่าปกติ หรือ ผิดปกติ แม้ว่าการตรวจจะ ให้ผลปกติ แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ 100 % ว่าไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด ในขณะเดียวกันบางราย (เช่น ผู้หญิง หรือ มีความดันโลหิตสูง) ผลการตรวจ ผิดปกติ แต่ความจริง ไม่มีโรคหัวใจขาดเลือด ก็เป็นได้

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. ไม่เจ็บตัว ให้การวินิจฉัยอาการใจสั่น ใจเต้นผิดปกติ ว่าเป็นชนิดใด สามารถช่วยในการวินิจฉัย โรคหัวใจขาดเลือด หรือ ช่วยในการพยากรณ์โรคในบางราย

  หากไม่มีอาการใจสั่น ในรอบ   24 ชม. ที่ติดเครื่อง ก็ไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้
เตียงปรับระดับ
Tilt Table Test
ใช้ในการวินิจฉัยอาการเป็นลม หรือ วูบ ที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ

  บางครั้งให้ผลไม่แน่นอน (ไม่ 100%)
สวนหัวใจ และฉีดสีดู
หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ
Cath & Angiogram
สามารถมองเห็น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ยังดูการทำงานของหัวใจได้ด้วย สามารถวัดความดันในห้องต่างๆ ของหัวใจ   เจ็บตัว (แต่น้อย) มีผลแทรกซ้อนได้ ตั้งแต่เล็กน้อย จน ถึงเสียชีวิต (พบ1/10,000 ราย) ราคาแพง

 

หมายเลขบันทึก: 367526เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท