KM - งานส่งเสริมสุขภาพ ตอนที่ 3


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3

               สวัสดีครับหลังจากมีการแลกเปลียนเรียนรู้ในครั้งที่ 1 และ 2  ในเรื่องการนวด  การทับหม้อเกลือไปแล้ว  วันนี้จะอัพเดตข้อมูลของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 ของงานส่งเสริมสุขภาพ  ขอย้อนชื่อเรื่องหลักของเราคือ  

การพัฒนาประสิทธิภาพการการให้บริการอยู่ไฟหลังคลอด  คลินิกแพทย์แผนไทย

    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ   ศูนย์อนามัยที่ 8   จังหวัดนครสวรรค์

เจ้าของเรื่องคือกระผม  นายศิวพล  สุวรรณบัณฑิต นักการแพทย์แผนไทย

 

          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 นี้เรามีการนำความรู้ในเรื่อง  การให้บริการอบไอน้ำสมุนไพร  ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการอยู่ไฟ  หลังจากการนวดผ่อนคลาย  การทับหม้อเกลือแล้ว  เราก็จะให้คุณแม่หลังคลอดมาอบไอน้ำสมุนไพร ประโยชน์ของการอบไอน้ำสมุนไพรนั้น  ช่วยทำให้คุณแม่มีร่างกายที่แข็งแรง  ช่วยขับน้ำคาวปลา  เนื่องจากถ้าอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว  ความร้อนทำให้ระบบไหลเวียนโลหิต  ไหลเวียนได้สะดวก  ส่งผลให้น้ำคาวปลาไหลดี  และสมุนไพรที่ใส่ลงในการอบ  เช่น  ไพล  ขมิ้นอ้อย  ขมิ้นชัน  ใบมะขาม  ตะไคร้  การบูร  มะกรูด  และอีกหลายๆตัว ซึ่งมีประโยชน์ต่อคุณแม่หลังคลอดเป็นอย่างมาก  

วันนี้Fa นายศิวพล  สุวรรณบัณฑิต  พี่ปราณี  จรไกรเป็น Note taker  

และมีคุณกิจคือผู้ช่วยแพทย์แผนไทย  

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้รู้สึกว่าทุกคนจะกล้าออกความคิดเห็นมากขึ้นเนื่องจากเป็นครั้งที่3 แล้ว  ในครั้งที่1 และ 2  อาจจะยังไม่ค่อยรู้จักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันสักเท่าไรจึงไม่กล้าพูดกัน  วันนี้ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยทุกคนพูดอย่างเต็มที่ ทำให้เราได้ข้อมูล  ที่บางคนอาจจะเคยรู้  บางคนไม่รู้  และวิธีการให้บริการที่แตกต่า่งกัน  ก็นำมาปรับให้เหมือนกันโดยการดึงข้อดีของแต่ละคนมา  ถือว่าเป็นครั้งที่ประทับใจที่สุด  ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

    เราได้แลกเปลี่ยนกันเรื่องสมุนไพรที่ใช้่อบ  บางคนก็เคยไปอบรมมาจากที่อื่นก็นำมาแลกเปลี่ยนให้ฟังว่า  ที่อื่นเค้าใช้สมุนไพรอะไรบ้าง  แต่่สรุปแล้วสมุนไพรหลักก็เป็นสมุนไพรที่เราใช้อยู่ทุกวันเพียงแต่เติมสมุนไพรที่ช่วยรักษาเฉพาะโรคลงไปก็จะสามารถทำให้การอบไอน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    และยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องเทคนิคการวัดความดันโลหิต เนื่องจากการวัดความดันโลหิตเป็นขั้นตอนที่สำคัญ  ในการเข้าอบไอน้ำสมุนไพร  บางคนอาจมีโรคประจำตัว  อย่างเช่น มีไข้ ความดันโลหิตสูง  เวลาอบยอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้  จึงต้องมีการคัดกรองที่ดี  เราจึงให้ทุกคนได้ลองแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติกันจริงๆให้ได้เหมือนๆกัน  เพื่อที่ว่าจะได้ดูแลการให้บริการของเราได้อย่างเต็มความสามารถ

 

..........................................................................................................

การแลกเปลี่ยนครั้งที่ 3  ขอจบเพียงเ่ท่านี้นะครับ เด๋วเจอกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 4 ครับ (อีกไม่นานเพราะเรียบเรียงข้อมูลเสร็จพร้อมกัันครับ หุหุ)

 


หมายเลขบันทึก: 367322เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 02:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากเลยค่ะพี่มาแลกเปลี่ยนความรู้ให้กัน ขอเป็นแนวทางในการทำงานนะค่ะ อิอิ

 ไพล  ขมิ้นอ้อย  ขมิ้นชัน  ใบมะขาม  ตะไคร้  การบูร  มะกรูดแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไงบ้างละ  พี่เคยไปอบสมุนไพรมาที สบายตัวดีนะตอนนั้นไปกันทั้งแม่ลูก วิ่งเข้าวิ่งออกตู้อบสนุกกันไปเลย มีน้ำดื่มให้ด้วย มีทีวีให้ดูด้วย กินหอมสมุนไพรจนนึกว่าตัวเองเป็นต้มยำไปซะแล้ว ฮ่ะ ฮ่า ได้ข่าวแว่วจากคุณหมอก้องขาประจำว่าจะไปหาสมุนไพรมาเติมเองอีกนะ ระวัง !! หมอก้องแย่งงานล่ะน้องหมอ...อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท