high-Risk-Patient


การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

 การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

โรงพยาบาลโพธาราม  ราชบุรี

           จากมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ 4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2) ข้อ (5) “เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ, มีความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกว่ามาช่วยทีมผู้ให้บริการอย่างทันท่วงทีในการประเมินผู้ป่วย การช่วย stabilize ผู้ป่วย การสื่อสาร การให้ความรู้ และการย้ายผู้ป่วยถ้าจำเป็น. ” เนื้อหาของมาตรฐานในส่วนนี้ ช่วยสนับสนุนให้โรงพยาบาลมีแนวทางในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมีการเฝ้าระวัง การติดตามอาการเปลี่ยนแปลง

            โรงพยาบาลได้ กำหนดนโยบายความปลอดภัย ซึ่งการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนของผู้บริหาร ที่มีการสื่อสารอย่างเป็นระบบ มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ศึกษาและเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน  และนำมาตรฐานนี้มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ตามบริบทของโรงพยาบาล ทำให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพขึ้นมากมายในโรงพยาบาล  และเป็นการกระตุ้นให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกด้วย 

          IHI (The Institute of Health Improvement: USA ) ได้ให้ตัวอย่าง Criteria สำหรับการขอความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ไว้ดังนี้

  • เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย
  • อัตราการเต้นของหัวใจ <40 or >130 ครั้งต่อนาที
  • ความดัน systolic <90 mmHg
  • อัตราการหายใจ <8 or >28 ครั้งต่อนาที
  • O2 saturation <90% ทั้งที่ให้ออกซิเจน
  • การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว
  • ปริมาณปัสสาวะ <50 มล.ใน 4 ชั่วโมง

          จากCriteria ข้างต้น โรงพยาบาลโพธารามได้มีการนำมาปรับใช้เป็นเกณฑ์ในการเฝ้าระวังอาการที่เป็น สัญญาณเตือนของผู้ป่วย เรียกว่า Early Warning Signs ที่ควรได้รับการตอบสนองที่รวดเร็วทันเวลา ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย

   

           จากเกณฑ์ประเมินอาการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงข้างต้น  โรงพยาบาลโพธารามได้จัดทำเป็นตาราง ดังนี้

Modified Early Warning System Score

การบันทึก

3

2

1

0

1

2

3

BP

น้อยกว่า/เท่ากับ 70 mmHg

71-80 mmHg

81-100 mmHg

101-159 mmHg

160-199

mmHg

มากกว่า/เท่ากับ   200mmHg

 

T

 

น้อยกว่า/เท่ากับ 35 C

35.1 -36 C

36.1-38 C

38.1-38.5 C

มากกว่า/เท่ากับ   

 38.6 C

 

P

 

น้อยกว่า/เท่ากับ 40 ครั้งต่อนาที

40-50

ครั้งต่อนาที

51-100

ครั้งต่อนาที

101-110

ครั้งต่อนาที

111-129

ครั้งต่อนาที

มากกว่า/เท่ากับ   130ครั้งต่อนาที

R

 

น้อยกว่า/เท่ากับ 8 ครั้งต่อนาที

 

9-14

ครั้งต่อนาที

15-20

ครั้งต่อนาที

21-29

ครั้งต่อนาที

มากกว่า

30ครั้งต่อนาที

Cons-cious

ไม่ตอบสนอง

ตอบสนองต่อความเจ็บปวด

ตอบสนองต่อเสียง

รู้ตัวดี

วุ่นวาย สับสน

 

 

Urine output

น้อยกว่า 10 cc.ชั่วโมง

น้อยกว่า  30 cc.ชั่วโมง

น้อยกว่า 45 cc.ชั่วโมง

 

 

 

 

                         การพัฒนาระบบ Early warning signs คือ การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาและ/หรือต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทุกคน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง หรืออาการทรุดลง ที่อาจมีผลกระทบรุนแรง ถ้าการเฝ้าระวังมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองต่ออาการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างรวดเร็ว สามารถช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะวิกฤติได้และปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตได้

               มีข้อควรระวัง คือ การสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย บางครั้ง ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพที่ปกติ แต่ไม่ได้ยืนยันว่าผู้ป่วยรายนั้นจะมีสภาพร่างกายที่ไม่มีความเสี่ยง หรือปลอดภัย เนื่องจาก อาการผิดปกติบางอย่าง สัญญาณชีพไม่สามารถบอกได้

               ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการประเมินสภาพผู้ป่วย ควรให้ความสำคัญกับความรู้สึกไม่สบายใจหรือกายของผู้ป่วย สามารถช่วยให้เราบ่งชี้อาการผิดปกติได้  เพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นแต่ถ้าเกิดขึ้น ให้ดำเนินการดังนี้

  • รายงานหัวหน้าทีม ปรึกษาพยาบาลที่ชำนาญกว่า
  • รายงานแพทย์
  • ให้การพยาบาลเบื้องต้น

          ในการดำเนินงานประจำวันของหอผู้ป่วยนั้น  จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในการบริการ ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจจะเกิดจากความไม่พร้อมของการบริการ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านคน ด้านสิ่งของ ด้านเงิน และด้านระบบงาน ให้พร้อมทุกด้านก่อนเริ่มงานประจำวัน การเตรียมความพร้อมก่อนผู้รับบริการมาถึง การต้อนรับอย่างประทับใจ   การให้บริการอย่างเร่งด่วนตามลักษณะของผู้มารับบริการแต่ละคน การให้บริการตามลำดับขั้นของงานการให้บริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนนั้น บุคลากรในแต่ละคนมีหน้าที่แตกต่างกันในการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและหน้าที่ในแต่ละคน  โดยกำหนดให้บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง มีพยาบาลทำหน้าที่ดูแลให้การพยาบาลและเฝ้าระวังผู้ป่วย  และเป็นผู้ประสานงานในการดูแลร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน 

 แล้วพบกันอีกนะคะ...

 

คำสำคัญ (Tags): #high risk patient#pre arrest signs
หมายเลขบันทึก: 366886เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หากแยกตามโรค อาจได้แก่ โรค

HF

AF

ESRD

CRF

MI

VHD

DVT

ตามท่านเภสัชมาดูพยาบาล ดูแลผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง มีอะไรเรียกใช้ผู้ช่วยเหลือคนไข้ได้น่ะครับ

น่าชื่นชม  ดูเป็นคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ 

มีโอกาสจะขอมาดูงานเป็นแบบอย่างค่ะ

กำลังพัฒนาอยู่พอดีคะ

ขออนุญาตใช้เป็น Ref และปรับใช้ 

ไม่ทราบว่ามีฉบับเต็มหรือไม่คะ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท