ประชุมวิชาการครั้งที่ 3/2552


การบริหารสาขาวิชาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้เป็นภารกิจที่คณาจารย์ทุกคน โดยเฉพาะคณะกรรมการวิชาการจะต้องร่วมกันทำ ไม่ใช่หัวหน้าสาขาวิชาเพียงคนเดี่ยว

ก่อนการเปิดการเรียนการสอนภาคการศึกษาใหม่ ทางสาขาวิชาได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการใหม่ เพื่อให้สาขาวิชาได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าประสงค์

คณะกรรมการชุดใหม่ประกอบด้วย

  1. นายอิบรอเฮม           สือแม            ประธาน
  2. นายมาหามะสอเระ     ยือโร๊ะ           รองประธาน
  3. นายบะห์รุดดีน          บินยูโซ๊ะ        กรรมการ
  4. นายอิสมาแอ            สะอิ              กรรมการ
  5. นายอิสมาอีล            อาเนาะกาแซ  กรรมการ
  6. นายนุมาน                สะอะ            กรรมการ
  7. นายMr.Obaidullah    Abduljalil      กรรมการ
  8. นายฮาซัน                ซียง              กรรมการและเลขานุการ

ทางสาขาวิชาได้เชิญคณะกรรมใหม่เพื่อชี้แจงและปรึกษาหารึ ซึ่งมีวาระการประชุมดั่งนี้

ระเบียบวาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ

สรุปเรื่อง ประธานได้แจ้งที่ประชุมทราบดังนี้

  1. ต้องดำเนินการเรื่องประกันคุณภาพ
  2. สาขาวิชากำลังรวบรวมและจัดทำแฟ้มประวัติคณาจารย์ให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้

มติ  ที่ประชุมรับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2  แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการและควบคุมมาตรฐานการศึกษาสาขาวิชาอุศูลุดดีน

 สรุปเรื่อง คณะกรรมการทุกท่านต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และอิคลาศ์ในการปฏิบัติงาน อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาภารกิจหลักของสาขาวิชาอุศูลุดดีน

 มติ ที่ประชุมเห็นชอบและเสนอให้มีการจัดทำภาระหน้าที่คณะกรรมการวิชาการ

ระเบียบวาระที่ 3 ตรวจสอบเค้าโครงและเอกสารประกอบการเรียนการสอน 

สรุปเรื่อง ตรวจสอบเค้าโครงว่าเหมาะสมกับหลักสูตรของมหาลัยหรือไม่

มติ ที่ประชุมได่มีการมอบหมายให้คณะกรรมไปตรวจสอบและส่งภายในวัยอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2553

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น ๆ  (ถ้ามี)

  4.1 นักศึกษาต้องมีความสามารถด้านภาษาอาหรับ

สรุปเรื่อง  นักศึกษาที่เรียนหรือจบจากสาขาวิชาอุศูลุดดีนจะต้องสามารถภาษาอาหรับ

 มติ  ที่ประชุมเห็นชอบ โดยเสนอให้คณะอิสลามศึกษาจัดทำกิจกรรมหรืออำนวยสื่อต่างๆเป็นภาษาอาหรับในทุกๆ ด้าน และทางสาขาวิชาจะไปจัดเตรียมหลักสูตร เพื่ออบรมภาษาอาหรับและนำเสนอให้คณะกรรมการต่อไป

  4.2 คณาจารย์ทุกท่านต้องผลิตงานวิชาการ วิจัย หรือ บทความ

สรุปเรื่อง    จะทำอย่างไรให้อาจารย์ทุกท่านผลิตงานวิชาการ วิจัย หรือ บทความวิชาการได้ทุกปีการศึกษา

 มติ  ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการสำรวจและจัดเวทีนำเสนอ และให้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยต้องกำหนดในแต่ละปีควรมีงานวิจัย  และบทความ 1 ชิ้นงาน  และต้องมีการติดต่ามในแต่ละเดือนและประเมินปีละครั้ง และที่สำคัญควรมีการวิพากษ์เค้าโครงวิจัยหรือบทความ

  4.3 อาจารย์ที่ปรีกษากับนักศึกษา

 สรุปเรื่อง ที่ประชุมได้พูดถึงอาจารย์ที่ปรึกษา โดยอยากให้คณาจารย์ทุกท่านให้ความสำคัญกับนักศึกษามากกว่านี้ อยากให้อาจารย์ที่ปรึกษารู้จักและใกล้ชิดกับนักศึกษามากยิ่งขึ้น ให้รู้ถึงปัญหาของนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนหรือเรื่องส่วนตัว

มติ ที่ประชุมเห็นชอบ โดยเสนอผู้ช่วยคณะบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนักศึกษาจัดกิจกรรมการพบปะนักศึกษาและทำความรู้จักกับนักศึกษา  และที่ประชุมได้เสนอให้ทำบัตรลงทะเบียนเรียนเป็น 3 ฉบับ เพื่อให้กับอาจารย์ 1 ฉบับ นักศึกษา 1 ฉบับ และฝ่ายทะเบียน 1 ฉบับ

  4.4 เรื่องสารนิพนธ

สรุปเรื่อง       ที่ประชุมได้พูดถึงปัญหานักศึกษาที่ทำสารนิพนธ์ นักศึกษาไม่ให้ความสำคัญกับการทำสารนิพนธ์ และการเข้าพบหาอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์

มติ     ที่ประชุมเห็นชอบ ควรมีการทำบทสรุปของอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และควรมีการสรุปผลสารนิพนธ์ในเวทีและจะเสนอให้ทางคณะกรรมวิชาการประจำคณะพิจรณาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 366675เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับอาจารย์...ผมมองว่าเรื่องสารนิพนธ์นอกจากจะมองปัญหาที่ตัวนักศึกษาแล้วควรมองที่ปัจจัยอื่นๆด้วยครับ  เพราะมีนักศึกษาหลายคนก็มาปรึกษาเรื่องสารนิพนธ์ ซึ่งผมให้ได้เท่าที่มีความรู้

  สรุป...ผมมองว่าควรจัดเสวนาหาทางออกเรื่องการทำสารนิพนธ์ของนักศึกษาทุกสาขาวิชากันสักครั้งเพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันงานที่มีคุณภาพต่อไป เพราะหลายหัวข้อน่าสนใจแต่พอทำออกมาแล้วกลับตรงกันข้าม อะไรคือปัจจัย สาเหตุ และทางออกของปัญหาดังกล่าว อีกอย่างทำไมเด็กถึงไปหาอาจารย์ที่ปรึกษานอกในบางครั้ง และทำไมเขาถึงไม่เข้าไปปรึกษาอาจารย์สารนิพนธ์หลักอันนี้น่าคิดครับ (วัลลอฮฺอะลัม)

ครับอาจารย์...ควรจัดประชุมทั้งมหาลัยเพื่อระดมความคิดว่า ควรทำอย่างไรให้สารนิพนธ์ของนักศึกษามีประโยชน์สูงสุดให้แก่มหาลัย พร้อมกับการมาดูปัญหาต่างๆของนักศึกษาในการทำสารนิพนธ์ เพื่อหาทางแก้ร่วมกัน เพราะเท่าที่รู้แต่ละคณะจะต่างกัน

สวนเรื่องที่นักศึกษาไปปรึกษาอาจารย์อื่นที่ไม่ใช่อาจารย์ที่ปรึกษานั้น อาจเป็นเพราะความพูกพันธ์และความไ้ว้วางใจของนักศึกษาต่ออาจารย์นั้นๆ ก็เป็นการดีหากอาจารย์จะยินดีช่วยเหลือนักศึกษา

เวลาที่พี่ ๆ ให้จดอะไรยาวๆ เช่น

ให้จดคนเค้าพุดกัน เค้าพูดกันยาวมาก ๆ ค่ะ

บางทีพูดไทยคำฝรั่งคำ จดไม่ทันเลยค่ะ

ยิ่งเวลาที่บันทึกเสียงไว้ ต้องมานั่งฟังกันอีกรอบ หลับเลย

http://gotoknow.org/blog/pa15/366679

ฟังเพลงคนไทยกันน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท