วิธีใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ การทำความเคารพของผู้ถือธงและถือป้าย


การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ จะใช้ในโอกาสที่จัดแถวลูกเสือ ในพิธีใด ๆ ที่ลูกเสือถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ผู้บังคับบัญชาลูกเสือก็ต้องถือไม้ถือ

วิธีใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ 

           

ตัวไม้มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางหัวไม้ ๑.๘ ซม. กลางไม้ ๑.๕ ซม. ปลายไม้ ๑.๒ ซม. ยาว ๗๕ ซม.
ที่หัวไม้และปลายไม้ให้มีปลอกทองเหลืองหุ้ม ทางด้านหัวไม้ยาว ๖ ซม. ด้านปลายไม้ยาว ๔ ซม.
จากหัวไม้ลงมา ๑๒ ซม. ให้มีพู่ ๒ พู่ ผูกติดอยู่กับไม้ และจากหัวไม้ลงมา ๑๖ ซม. ให้มีปลอกทองเหลืองเป็น
ตราคณะลูกเสือแห่งชาติหุ้มอยู่ ไม้ถือให้เป็นสีน้ำตาลแก่

ตัวไม้มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางหัวไม้ ๑.๘ ซม. กลางไม้ ๑.๕ ซม. ปลายไม้ ๑.๒ ซม. ยาว ๗๕ ซม.ที่หัวไม้และปลายไม้ให้มีปลอกทองเหลืองหุ้ม ทางด้านหัวไม้ยาว ๖ ซม. ด้านปลายไม้ยาว ๔ ซม.จากหัวไม้ลงมา ๑๒ ซม. ให้มีพู่ ๒ พู่ ผูกติดอยู่กับไม้ และจากหัวไม้ลงมา ๑๖ ซม. ให้มีปลอกทองเหลืองเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติหุ้มอยู่ ไม้ถือให้เป็นสีน้ำตาลแก่ การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  จะใช้ในโอกาสที่จัดแถวลูกเสือ   

ในพิธีใด ๆ ที่ลูกเสือถือไม้พลองหรือไม้ง่าม  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือก็ต้องถือไม้ถือ  ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้

                        1.  วิธีถือไม้ในท่าปกติ   โดยปกติไม้ถือจะหนีบอยู่ที่แขนซ้ายท่อนบนแนบขนานกับลำตัวหนีบไม้ไว้  แขนซ้ายท่อนล่างเหยียดตรงไปข้างหน้า   มือซ้ายกำไม้ให้ฝ่ามือหงายขึ้นห่างจากตัวไม้ประมาณ  1  ฝ่ามือ   ให้ไม้ขนานกับพื้น

                        2.  ท่าบ่าอาวุธ   ใช้มือขวาจับโคนไม้ถือให้ฝามือคว่ำลง  แล้วนำไม้มาแนบข้างตัวทางขวาในท่าตรง  ให้นิ้วทั้งสี่เรียงกันอยู่ด้านนอก  หัวแม่มืออยู่ด้านใดให้โคนไม้อยู่ระหว่างนิ้วชี้กับหัวแม่มือ  ปลายไม้อยู่แนบ  ร่องไหล่ขวา  พร้อมกับปล่อยมือซ้ายลงข้างตัว

                        3.  ท่าทำการเคารพอยู่กับที่   เมื่อบอกแถวทำความเคารพ  “ขวา  (ซ้าย ตรงหน้า) ระวัง วันทยา – วุธ”  พร้อมกันนั้นผู้ควบคุมแถวต้องทำวันทยาวุธด้วยไม้ถือ  โดยใช้มือขวาถือไม้มาในท่าบ่าอาวุธ  แล้วยกไม้ขึ้นมา  ให้ปลายไม่ตั้งตรง  นิ้วหัวแม่มือหันเข้าหาตัว  ตั้งตรงขึ้นตามไม้ ปลายนิ้วหัวแม่มือเสมอปากห่างจากปาก1 ฝ่ามือแล้วฟาดปลายไม้  และแขนขวาลงอยู่ในท่าตรง  มือขวากำโคนไม้  ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ข้างบน  และชี้ปลายนิ้วไปทางปลายไม้  ให้ปลายไม่ชี้ตรงไปข้างหน้า  และเฉียงลงห่างจากพื้นประมาณ  1  คืบ

                        4.  ท่าเรียบอาวุธ   เมื่อบอก   “เรียบ – อาวุธ”   ให้ยกไม้ถือขึ้นมาเสมอปาก  แล้วนำลงมาท่าบ่าอาวุธ  แล้วจึงยกไม้ชูแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะ  เฉียงไปข้างหน้าทางกึ่งขวา  พร้อมกับเอนปลายไม้ลงมาเหน็บที่ซอกรักแร้  มือซ้ายยกขึ้นกำโคนไม้ไว้   แล้วปล่อยมือขวาลงในท่าตรงตามเดิม

                       5.  เดินตามผู้รับการเคารพที่เดินตรวจแถว   เมื่อได้บอกแถวทำการเคารพด้วยท่าวันทยาวุธแล้ว  ถ้าผู้รับการเคารพเดินตรวจแถวผู้ควบคุมแถว  ซึ่งได้ทำท่าวันทยาวุธอยู่แล้วให้ยกไม่ขึ้นเสมอปากและเดินตามผู้รับการเคารพไปจนสุดแถว  จึงวิ่งกลับมาอยู่ที่เดิม  พร้อมกลับฟาดไม้ลง  ในท่าวันทยาวุธอีก  แล้วจึงบอกแถว “เรียบ – อาวุธ”  ต่อไป

                        6 .  การรายงาน   เมื่อบอกแถวทำวันทยาวุธแล้ว  ในกรณีที่จะต้องเข้าไปรายงานผู้รับการเคารพ  ก็ให้ยกไม้ขึ้นเสมอปาก  ออกวิ่งไปหยุดตรงหน้าห่างจากผู้รับรายงาน  3  ก้าว  พร้อมกับฟาดไม้ลงในท่าวันทยาวุธ  แล้วจึงรายงานเมื่อรายงานเสร็จให้ยกไม้ขึ้นเสมอปาก  ก้าวเท้าถอยหลัง  1 ก้าว  ทำกลับหลังหันวิ่งกลับที่  ทำกลับหลังหันพร้อมกลับฟาดไม้ลงในท่าวันทยาวุธแล้วจึงบอกแถว  “เรียบ – อาวุธ”  ต่อไป

                        7.  ควบคุมแถวลูกเสือเดิน   เมื่อบอกลูกเสือแบกอาวุธ  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องอยู่ในท่าบ่าอาวุธ และเดินไปในท่าบ่าอาวุธ  จนกว่าจะบอกให้ลูกเสือเรียบอาวุธ

                        8.  สวนสนาม  เมื่อจะถึงจะถึงผู้รับการเคารพ  คือ  ถึงธงแรกให้ทำระวัง คือ  ยกไม้จากท่าบ่าอาวุธมาอยู่เสมอปากเมื่อถึงธงที่  2  ให้ฟาดไม้ลงในท่าวันทยาวุธ  พร้อมกับทำแลขวา  แขนซ้ายไม่  แก่วง  จนถึงธงที่  3   ให้ยกไม้ขึ้นเสมอปากแล้วลดลงในท่าบ่าอาวุธ   สะบัดหน้าตรงแล้วเดินต่อไป

ลักษณะพู่ของไม้ถือ  

เป็นด้ายหรือไหมพรม สีตามประเภทของลูกเสือหรือตำแหน่งของลูกเสือ ถักเป็นเชือกผูกติดกับไม้ถือปลายเชือกยาวข้างละ ๖ ซม. ต่อจากปลายเชือกแต่ละข้างทำเป็นพู่ยาวข้างละ ๗ ซม. ขนาดโตพอสมควร   

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญ เชือกและพู่เป็นสีเขียว  

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เชือกและพู่เป็นสีเลือดหมู  

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิสามัญ เชือกและพู่เป็นสีแดง   

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือชั้นผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

บริหารลูกเสือแห่งชาติ เชือกและพู่เป็นสีม่วง  

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือชั้นผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

ลูกเสือจังหวัดเชือกสีม่วงพู่สีม่วกับสีเหลือง   

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือชั้นผู้ตรวจการลูกเสือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ

ลูกเสืออำเภอ เชือกสีม่วงพู่สีม่วงกับสีแดง   

(ลูกเสือสำรองไม่มีอาวุธ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรองไม่มีไม้ถือ)

( สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiscout.thcity.net/ )

                              การทำความเคารพของผู้ถือธงและป้าย  

          ธงและป้ายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญที่กองลูกเสือโรงเรียนต้องคักเลือกบุคคลที่มีความเข้มแข็ง   และมีบุคลิกที่สง่างาม เพราะจะเป็นจุดเด่นของขบวนสวนสนาม  การยืน  เดิน  ในพิธีการจะต้องอยู่ในสายตาของคนทุกทั่วไป  ดังนั้นการปฏิบัติตนของผู้ถือธง และป้าย  ต้องได้รับการฝึกฝน ดังนี้

 ก.   ธง   ( ธงคณะลูกเสือแห่งชาติ-ธงลูกเสือประจำจังหวัด-ธงประจำกองลูกเสือ)

  1. เวลาอยู่กับที่ให้ถือธงด้วยมือขวาโคนคันธงจรดพื้นประมาณโคนนิ้วก้อยเท้าขวา   คันธงแนบกับลำตัวอยู่ร่องไหล่ขวา  เวลาทำความเคารพเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลง   ให้ผู้ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธงติดต่อกันไปดังนี้

1.1 ให้ผู้ถือธงใช้มือซ้ายไปจับคันธงชิดมือขวาและเหนือมือขวา  และใช้มือซ้ายยกคันธงขึ้นมาในแนวเสมอไหล่ขวา   ข้อศอกซ้ายตั้งเป็นมุมฉากกับลำตัวเหยียดตรง  และจับคันธงไว้  แล้วทำกึ่งขวาหัน

1.2 ค่อนๆลดปลายคันธงไปทางไหล่ซ้ายอย่างช้าๆตามจังหวะของเพลง   พร้อมกับเลื่อนมือซ้ายที่กำคันธงอยู่ทางแนวไหล่ขวา มาทางด้านไหล่ซ้าย  โดยการลดข้อศอกซ้ายลงแนบลำตัวจนคันธงอยู่ในแนวขนานกับพื้น  มือซ้ายอยู่เสมอแนวไหล่ซ้ายห่างจากตัวเล็กน้อย  มือขวาจับคันธงจนแขนขวาเหยียดตรงไปทางข้างขวามือตามคันธง  และให้คันธงวางอยู่ระหว่างร่องนิ้วหัวแม่มือ  และนิ้วชี้ของนิ้วขวา (เมื่อเพลงบรรเลงไปได้ครึ่งเพลง

1.3  ครั้นแล้วให้ยกปลายคันธงกลับไปในท่าเคารพช้า ๆ ให้ได้จังหวะเช่นเดียวกับขาลง  โดยใช้มือขวากดคันธงลงจนคันธงตั้งตรง  และแขนขวาแนบลำตัว   เมื่อเพลงสรรเสรินพระบารมีจบลง

1.4 เมื่อได้ยินคำสั่ง “เรียบ – อาวุธ”  ให้ลดคันธงลงในท่าตรง  ยกมือซ้ายกลับเข้าที่แล้วทำกึ่งซ้ายหันกลับเข้าที่เดิม

2. เวลาเคลื่อนที่ให้แบกธงด้วยไหล่ขวา   คือมือขวาจับคันธง  ห่างจากโคนคันธงพอสมควร   ศอกขวาแนบลำตัวและทำมุม  90  องศากับลำตัว

3.การทำความเคารพขณะเดินสวนสนามให้ปฏิบัติดังนี้

3.1  เมื่อถือธงที่ 1 (ธงระวัง) ให้ลดธงจากบ่ามาแนบลำตัว   โดยการเหยียดแขนขวาลงให้ตึง  คันธงตั้งตรง  มือขวากำคันธง   ยกมือซ้ายมาจับคันธงในแนวไหล่ซ้าย  ยกข้อศอกซ้ายไปตั้งฉากกับลำตัว

3.2  เมื่อถือธงที่ 2 (ธงทำความเคารพ)ให้เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้า 

มือซ้ายกำคันธงไว้ให้คันธงเอนไปข้างหน้าประมาณ 45  องศา  มือขวาแนบลำตัว   ตาแลตรงไปข้างหน้า ขนานกับพื้น  ไม้ต้องสะบัดหน้าไปยังผู้เป็นองค์ประธาน   ( สำหรับธงคณะลูกเสือแห่งชาติและธงลูกเสือประจำจังหวัด  ไม่ต้องเหยียดแขนซ้ายไปทางข้างหน้า )

3.3  เมื่อถือธงที่ 3 (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ยกธงขึ้นมาอยู่ในท่าแบกธงตามเดิมและลดมือซ้ายลงเดินตามปกติ

.  ป้ายชื่อจังหวัดและป้ายอื่น ๆ (ถ้ามี)

1.   เวลาอยู่กับที่ถือป้ายทั้ง 2 มือ   คือมือขวากำคันป้ายชิดแผ่นป้าย  มือซ้ายกำต่อลงมาชิดมือขวา  โคนคันป้ายจรดพื้นตรงหน้ากึ่งกลางระหว่างปลายเท้าทั้งสอง  เวลาทำความเคารพผู้ถือป้ายทำท่าตรงเท่านั้น

2.   เวลาเคลื่อนที่ให้ถือป้ายโดยมือขวาจับคันป้าย   ในลักษณะคว่ำมือ   โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางจับที่สำหรับจับ  ถ้ามี  ถ้าไม่มีที่สำหรับจับ   ก็ให้โคนคันป้ายวางอยู่อุ้มมือขวา   โดยหันฝ่ามือเข้าหาตัว   แขนขวาเหยียดตรงแนบลำตัว  มือซ้ายจับคันป้ายในแนวเสมอไหล่ขวา  และตั้งฉากกับลำตัว  หันหน้าป้ายไปข้างหน้า

3.  การทำความเคารพในขณะที่เคลื่อนที่   ให้ถือป้ายตามปกติ  เหมือนเวลาเคลื่อนที่แต่ให้หันหน้าป้ายเข้าหาผู้เป็นองค์ประธานก่อนที่จะถึงธงที่ 1 ประมาณ 20 ก้าว  และหันป้ายกลับที่เดิม  เมื่อผ่านธงที่ 3 แล้ว   ไม่ต้องสะบัดหน้าไปยังองค์ประธานในพิธี

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 366299เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท