ปรัชญาทางการศึกษา


ปรัชญาทางการศึกษา

ปรัชญาทางการศึกษา  เป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา หรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร

กล่าวได้ว่า ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544  มีเป้าหมายเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกได้          เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้

1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2.  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ

4.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้

5.  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 

“ปรัชญา”  มาจากคำ 2 คำ  คือ  “ปร+ชญา”  คำว่า  ปร  แปลว่า  โดนรอบ  กว้าง  ไกล  ส่วนคำว่า  ชญา  แปลว่า  ความรู้  คำว่า  ปรัชญา  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Philosophy  เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า  Philosophia   ซึ่งเป็นการสนธิคำระหว่าง Philos กับ Sophia  เมื่อรวมความแล้วจะแปลว่า  ความรักในความรู้(Love of Wisdom) 

ปรัชญามีส่วนช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้ได้แนวทางการจัดการศึกษาที่ดีที่สุด  และเป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษาหรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร

ปรัชญาการศึกษา เป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาแม่บทหรือปรัชญาทั่วไปที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต  หากบุคคลมีความเชื่อว่า  ความจริงของชีวิตเป็นอย่างไรปรัชญาการศึกษาจะจัดการศึกษาพัฒนาคนและพัฒนาชีวิตให้เป็นไปตามนั้น  ส่วนการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการศึกษานั้นๆ ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเรียนการสอนว่าควรจะเป็นอย่างไร  จึงต้องศึกษาถึงที่มา  คือ  ปรัชญาด้วย    “การจัดการศึกษาโดยไม่มีปรัชญาการศึกษาเป็นแนวทาง  ก็เป็นเสมือนเรือที่แล่นไปในท้องทะเลโดยไม่มีหางเสือ”

ปรัชญาสากลที่มีความสำคัญและถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาของไทยประกอบด้วย 4 ปรัชญา  ได้แก่

1.  จิตนิยม(Idealism)

2.  วัตถุนิยม(Materialism) หรือประจักษ์นิยม(Realism)

3.  ประสบการณ์นิยม(Experimentalism)  หรือปฏิบัตินิยม(Pragmatism)

4.  อัตนิยม(Existentialism)

http://www.fulllacewigs.us/  http://foodchoppers.us/
http://www.FROZEN-YOGURT-MACHINE.US  http://www.hawaiiandresses.us/

ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. จิตนิยม(Idealism)  ปรัชญาจิตนิยมเป็นปรัชญาสาขาเก่าแก่ที่สุด  ปรัชญาเมธีผู้ให้กำเนิดปรัชญาสาขานี้  คือ  พลาโต(Plato)  นักปรัชญาชาวกรีกผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี 427 – 347 ก่อนคริสตกาล  ชื่อปรัชญาสาขานี้คือ  Idealism  มาจากคำว่า Idea – ism  เติมตัว l เพื่อสะดวกแก่การออกเสียง  ปรัชญาสาขานี้มีลักษณะเป็นจิตนิยม  มีความเชื่อว่า  โลกนี้เป็นโลกของจิตใจ(A World of Mind)  จิตใจนั้นอยู่เหนือวัตถุ  ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจมิใช่อยู่ที่วัตถุภายนอก  จึงให้ความสำคัญกับความสุขทางใจ  มากกว่าความสุขทางกาย

ทัศนะของพลาโตในด้านการศึกษา  คือ  การให้ความเจริญเติบโต  เน้นการอบรมจิตใจให้มีระเบียบวินัย  และให้รู้จักการใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบ  การจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาสาขานี้มีลักษณะดังนี้

http://lawnaerator.us/   http://meat-grinders.us/ http://mountainbikehelmet.us/ http://organic-baby-clothes.us/

http://www.outdoor-umbrellas.us/ http://www.outdoorswingset.us/

-  ความเชื่อของครูตามปรัชญานี้  เชื่อว่า  “การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับการหยั่งเห็น(Insight)” ความรู้เกิดจากการคิด  หรือการทำงานของจิต  หรือประสาทสัมผัสทางใจ  ดังนั้นครูจึงมุ่งพัฒนาจิตใจของผุ้เรียนเป็นสำคัญ  โดยเน้นคุณธรรมความดี  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีสันติสุข

-  วิธีการสอน  จะมุ่งสอนให้ผู้เรียนแสวงหาความสุขทางใจ  มากกว่าแสวงหาวัตถุ  เน้นการใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อในการเรียนการสอน  กิจกรรมการเรียนการสอนจึงเกี่ยวกับการใช้สื่อสัญลักษณ์เป็นส่วนใหญ่  ซึ่งได้แก่  การฟัง  และการจดจำ  ครูมักจะใช้วิธีการสอนแบบบอกเล่า  บรรยาย  ยกตัวอย่างอ้างอิงด้วยนิทาน  เพื่อเปรียบเทียบให้เกิดความเข้าใจ  มากกว่าใช้วิธีการอื่นๆ  สอนให้จำให้คิดอย่างมีเหตุผลมากกว่าจะให้ทำการพิสูจน์หรือปฏิบัติจริง  เพราะเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม  มิใช่รูปธรรม  จึงไม่อาจมองเห็นด้วยตา  การได้มาซึ่งความรู้ต้องใช้การคิดหรือการไตร่ตรองเท่านั้น  และในบางครั้งสิ่งที่เห็นด้วยสายตา  มิใช่สิ่งที่เป็นจริงเสมอไปอาจจะเป็นเพียงภาพลวงตา  การยึดติดอยู่กับภาพลวงตาหรือสิ่งที่มองเห็นด้วยสายตาทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงหรือความรู้อันถูกต้อง  การเรียนการสอนจะเน้นการเรียนในห้องเรียนและห้องสมุดมากกว่าการศึกษานอกสถานที่หรือทัศนศึกษา

http://hawaiian-shirt.us/  http://homebrewingkits.us/
http://icecreamfreezer.us/  http://www.kettlebellworkout.us/

-  ตัวผู้เรียน  ครูจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของการสอน(Teacher Center)  มากกว่ายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการสอน  ดังนั้น  ครูจะเป็นผู้แสดง  นักเรียนเป็นผู้ดู  ครูเป็นผู้พูด  นักเรียนเป็นผู้ฟัง  เพราะเชื่อว่า  การเรียนรู้ของเด็ก  เกิดจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่  จึงนิยมบังคับให้เด็กท่องจำในสิ่งที่ครูคิดว่าดี  มีประโยชน์  ซึ่งเด็กอาจจะเบื่อเพราะมองเห็นประโยชน์  เนื่องจากสิ่งที่เรียนรู้เป็นนามธรรมและอยู่ไกลตัวเด็กเกินไป

กล่าวโดยสรุป  คือ  การเรียนการสอนตามแนวจิตนิยม  จะเน้นความรู้ที่ได้มาจากการฟัง(สุตมยปัญญา) และความรู้ที่ได้มาจากการคิด(จินตมนปัญญา)  ตามหลักในพุทธศาสนาหรือเน้นการเรียนรู้ที่ผ่านประสาทสัมผัสทางใจนั่นเอง

 

ที่มา http://www.wijai48.com/learning_stye/learning_philosophy.htm

หมายเลขบันทึก: 366295เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2010 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท