วัตถุในระบบสุริยะ


วัตถุในระบบสุริยะ

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องดาราศาสตร์  แต่ก็ยังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อยมากครับ  ในตอนนี้จะขอแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้มาบ้างบางส่วนเกี่ยวกับเรื่อง ระบบสุริยะ ครับ

ระบบสุริยะ  ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ  ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์  เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3

วัตถุในระบบสุริยะ  ระบบสุริยะประกอบด้วยวัตถุจำนวนมาก และมีอยู่หลากหลายประเภท บางอย่างไม่สามารถจำแนกได้อย่างชัดเจนอย่างที่เคยทำได้ในอดีต  สารานุกรมวิกพีเดียเขาแยกออกเป็นประเภทต่างๆ หลายประเภทครับ แต่ที่ควรจะได้รับรู้ในเบื้องต้น มีดังนี้ 

1.  ดวงอาทิตย์  เป็นดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัม G2 มีมวลประมาณ 99.86% ของทั้งระบบ

2.  ดาวเคราะห์  ในระบบสุริยะมี 8 ดวง ได้แก่  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และ  ดาวเนปจูน

3.  ดาวบริวาร  คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์

4.  ฝุ่น  และอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์

5.  ขยะอวกาศ  ที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น

6.  ซากจากการก่อตัวของดาวเคราะห์  เป็นเศษฝุ่นที่จับตัวกันในยุคแรกที่ระบบสุริยะก่อกำเนิด อาจหมายรวมถึงดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง

7.  ดาวเคราะห์น้อย  คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่มีวงโคจรไม่เกินวงโคจรของดาวพฤหัสบดี อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มและวงศ์ ตามลักษณะวงโคจร

8.  ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย  คือ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจมีขนาดพอๆ กัน

9.  สะเก็ดดาว  คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่าก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น

10.  ดาวหาง  คือ วัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีวงโคจรที่มีความรีสูง โดยปกติจะมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดห่างไกลเลยวงโคจรของดาวพลูโต  ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่านี้  อย่างไรก็ตาม ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มักสูญเสียน้ำแข็งไปหมดจนกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหางที่มีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา อาจมีกำเนิดจากภายนอกระบบสุริยะ

 

คำสำคัญ (Tags): #สกลนคร3
หมายเลขบันทึก: 366124เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2010 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท