เสวนาสัญจร : เมื่อเขาว่าผมเป็นคนเบรคบนรถ


ในการเดินทางทัศนศึกษาของเรากล่มผู้บริหารการเปลี่ยนตามที่ได้เล่ามา ก็เป็นเรื่องปกติที่ใช้รถทัวร์ในการตระเวนเดินทางจากยะลาถึงสระแก้ว เป็นระยะทางพันกว่ากิโลและไม่แวะพักกลางทาง(นอนบนรถ) และเป็นเรื่องปกติเหมือนกันที่ทางบริการทัวร์เขาจะเตรียมทั้งหนัง ทั้งรายการตลก ทั้งคาราโอเกะให้พวกเราหายเบื่อ แต่อันเนื่องมาจากผุ้เดินทางครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ และมีโต๊ะครูร่วมเดินทางไปด้วย ดังนั้นการเปิดเทปวิดิโอจะเป็นหนังหรือตลกจะะถือเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับพวกเรา ส่วนเพลงและคาราโอเกะนั้นไม่อยู่ในทางเลือกของพวกเรา ดังทางหนึ่งที่พวกเราเลือกทำคือใช้ไมค์พูดคุยสร้างความสนุกสนานไปเรื่อยๆ และในความความสนุสนานนั้นจะมีความรู้ไม่ขาดสาย

รถที่พวกเราใช้เดินทางครั้งนี้เป็นรถทัวร์สองชั้นผมกับอ.คอเหล็ดนั่งชั้นล่าง บางครั้งผมก็ขึ้นไปพูดชั้นบนร่วมเสวนากับคณะฯ ก็มีบางครั้งผมใช้ไมค์พูดจากชั้นล่าง

ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์ มอย. ที่ร่วมเดินทางกับเขา เขาก็เลยยกให้เป็นผู้รอบรู้ทั้งๆที่ผมรู้สึกตัวว่าผมไม่ใช่เลย แต่มานึกดูอีกที ใช่เนาะที่ว่าอย่างนั้น เพราะตรงหน้าผมมีโน็ตบุค และโน็ตบุคของผมต่อเน็ทได้ตลอดทางด้วย ดังนั้นเมื่อเขามีปัญหาอะไรเขาจะถามผม ถ้าผมรู้ผมก็จะตอบถ้าผมไม่รุ้ผมก็บอกว่าไม่รู้ แต่เมื่อผมค้นหาจากเน็ทแล้วผมก็สามารถตอบเขาได้

อีกอย่างหนึ่งที่พวกเขาว่า การเดินทางของเราครั้งนี้ดีมากเลย เพราะมีเบรคอยู่ด้วย ผมก็งงๆ เขาเล่าต่อว่าที่ว่าเบรค คือ เมื่อพวกเราทำไรเกินเลยจะมีผมเป็นคนเบรค ผมก็ยังงงอยู่ดี เลยต้องมาพิจารณาการกระทำของตัวเอง

สิ่งแรกที่ผมผสมลงโรงกับการเสวนากับเขา คำว่า ชูรอ ที่ อ.จารุวัจน์ชอบใช้มาก จริงๆโดยความหมายของคำนี้ไม่ยากเย็นอะไร หมายถึง ประชุม นั้นหมายความว่า เราจะทำอะไร เราต้องประชุมกันก่อนแล้วจากมติที่ประชุมก็ดำเนินการตามมติ แต่ที่นี้คำว่า ชูรอ ไปฟ้องกับคำว่า ซูรอ เลยทำให้บางคนโดยเฉพาะผู้บริหารที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน บนเวลาเสวนาบนรถในวันนั้นเลยต้องมีการอธิบายของคำว่า ซูรอ ที่มีขึ้นในบ้านเรา

  • บางคนเล่าว่า ซูรอ หมายถึงอาหารที่นบีนูฮฺเขาทำเมื่อครั้งเกิดน้ำท้วมโลก ไม่มีอะไรจะกิน เลยต้องรวบรวมอาหารที่มีอยู่มาปรุงเป็นอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า ซูรอ
  • บางคนเล่าว่า เกิดขึ้นสมัยสงครามอะหฺซาบ ท่านนบีถูกปิดล้อมหลายวัน ทำให้ไม่มีอะไรจะกิน บรรดาเศาะหาะฮฺก็รวบรวมอาหารทุกอย่างที่มีอยู่มาปรุ่งคละเคล้ากันเป็นอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า ซูรอ
  • ผมก็เล่าว่า ผมก็ได้ยินเรื่องเช่นนี้มาเหมือนกัน แต่ตามนิสัยของผมต้องหาที่มาของเรื่องนี้ว่าเท็จจริงแค่ไหน เพื่อจะได้เล่าได้ถูกต้อง แต่เท่าที่ผมศึกษามายังไม่เจอหลักฐานมายืนยันในเรื่องตามที่ได้กล่าวมา เท่าที่ได้ศึกษา อาซูรอ คือ วันที่สิบในเดือนมุหัรรอม และในวันนั้นท่านนบีถือศีลอด ไม่ใช่ทำขนมฉลองเหมือนอย่างบ้านเรา แต่ถ้าจะทำขนมกินกันนั้นก็สามารถทำได้เพียงแต่ว่าเมื่อมันไม่มีหลักฐานเกี่ยวโยงกับศาสนาก็อย่าไปอ้างว่าเป็นเรื่องศาสนา.. อันนี้อาจจะเป็นเบรคแรกที่ผมเบรค

ระหว่างการเดินทางนั้นมีเรื่องเล่าสนุกๆ ชวนหัวเราะมากมาย สนุกสนานมากเลยทำให้ผมรู้สึกกลัว กลัวว่าพวกเราจะไปแต่งเรื่องเพื่อให้หัวเราะ ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะเข้าข่ายที่นบีสั่งห้าม ผมก็ขอพูดบ้างและผมก็อ่านหะดีษนบีที่ว่า

‏ وَيْلٌ لِلَّذِي يُحَدِّثُ بِالْحَدِيثِ لِيُضْحِكَ بِهِ الْقَوْمَ فَيَكْذِبُ وَيْلٌ لَهُ وَيْلٌ لَهُ

"หายนะที่ยิ่งใหญ่(ตกนรกชั้นต่ำสุด) กับผู้ที่พูดด้วยคำพูดที่ทำให้คนหัวเราะกับเขาโดยการโกหก หายนะยิ่งใหญ่แก่เขา หายนะยิ่งใหญ่แก่เขา" (บันทึกโดย อัลบุคอรอและมุสลิม)

ผมว่า ผมกลัวว่าพวกเราจะทำเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินจนเลยเถิดเลยยกเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นเพื่อให้คนหัวเราะ ถ้าเป็นแบบนี้แล้วเราก็จะเป็นผู้หนึ่งที่ตกนรก แต่ถ้าเขาหัวเราะเรื่องที่เราเล่าและเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริงก็ไม่ถือว่าผิด เพราะเหตุการณ์แบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับท่านนบีและท่านอุมัรฺ รอฏิฯ

อันนี้คงเป็นเบรคที่สอง

ในการเดินทางพวกเราเกือบจะทุกคนมีกล้องติดตัว อาจเป็นเพราะทุกวันนี้กล้องราคาถูกมาก  อย่างผมนี้มีสองกล้อง นอกจากกล้องที่มีมาติดกับมือถือแล้ว ผมยังพากล้องดิจิตอลฯที่หลงเหลือจากอุบัติเหตในวันนั้นพาไปด้วย ทำให้พวกเราถ่ายรูปกันพอสมควร ผมก็ถ่ายรูปแต่สวนใหญ่แล้วเป็นรูปเพื่อเป็นข่าว อย่างนั้นก็ตามทำให้ผมนึกถึงหะดีษนบีหะดีษหนึ่งที่กล่าวว่า

‏إِنَّ أَشَدَّ النَّاسِ عَذَابًا عِنْدَ اللَّهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ الْمُصَوِّرُونَ

"การลงโทษอย่างรุนแรงที่สุดของคนในวันกิยามะฮ์คือคนถ่ายภาพ" (บันทึกโดย อัลบุคอรีและมุสลิม)

 ถ้าจะแปลง่ายๆตามที่ผมแปลมานี้(จริงผมให้ google แปล) เราเป็นคนถ่ายรูปอยู่ในกลุ่มที่ต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง แต่คำว่า مصور ในที่นี้บรรดาผู้รู้ได้ให้ความหมายหลายอย่าง ผมก็เลยเล่าความเป็นมาของการห้ามการถ่ายรูป เริ่มตั้งแต่สมัยนบี นูฮฺ

รูปในที่นี้ เดิมที หมายถึง รูปปั้น ที่ใช้บูชา หรือรูปปั้น เพื่อป้อกันไม่ให้เกิดการบูชา และมีผุลามาอฺบางคนบอกว่ารูปวาดก็ไม่ได้ เพราะก่อนหน้านี้เขาวาดรูปเพื่อให้ระลึกถึงคนๆนั้น และอาจนำไปสู่การบูชาในที่สุด ผมว่าถ้าเป็นแบบนี้ รูปถ่ายก็ไม่ได้ถ้ารูปนั้นไปสู่การบูชา

บางคนเขาว่ารูปวาดกับรูปถ่ายมันแตกต่างกัน รูปวาดนั้นเกิดจากการปรับแต่งเขียนของมนุษย์แต่รูปถ่ายนั้น ไม่ได้ปรับแต่งอะไร เหมือนกับรูปในกระจกเพียงแต่ในกระจกมันไม่ติด

ดังนั้น ผมว่า ถ้ารูปถ่ายไปเพื่อเป็นข่าว เป็นหลักฐาน ไม่ผิด คือ สามารถทำได้ แต่ถ้าถ่ายไปเพื่อเก็บไว้ให้ระลึกถึงที่จะนำสู่การบูชาได้นั้น ไม่น่าจะทำได้ ส่ว่นรูปวาดนั้น วาดได้เฉพาะรูปสิ่งของ ต้นไม้ รูปคนและสัตว์ อุลามาอฺเขาว่าทำไม่ได้

และนี้คงเป็นเบรคที่สามอย่างที่เขาว่า

หมายเลขบันทึก: 364658เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การเบรคแบบนี้ผมว่าไม่ทำให้รถหยุดหรอกครับแต่กลับทำให้ขบวนรถคันนี้เดินหน้าต่อไปตามแนวทางได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

  อัลฮัมดุลิลละฮฺมากครับสำหรับความรู้เสมือนหนึ่งได้เดินทางไปกับเบรคของอาจารย์ในครั้งนี้ด้วย

  ดูแลสุขภาพด้วยครับ

น่าจะเรียกว่า เบรกติดสวรรค์ครับ เป็นอีกหนึ่งกรณีที่ได้รับคำชื่นชมจากหลายฝ่ายเลยครับ

ขอบคุณมากครับทั้ง

อ.

P
และ อ.
P
พักหลังนี้ผมชอบทำอย่างที่เขาว่าเบรคนี้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็กลัวๆเหมือนกัน กลัวกลายเป็นคนไม่มีมารยาท หรือไม่รู้จักกาละและเทศะ แต่ผมกลับไปยึดมั่นในหะดีษที่ว่า
من رآى منكم منكرا...ـ ..
แล้วง่ายๆกับลิ้นทำไม่ได้ด้วยหรือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท