บัณฑิตไทยในพระราชดำริ


ความขัดแย้งระหว่าง "ทฤษฎี" กับการ "ปฏิบัติ" ... บางคนเอาแต่ทฤษฎี ไม่สนใจว่าจะปฏิบัติอย่างไร ...บางคน เอาแต่ปฏิบัติ...ละเลยทฤษฎี...เป็นที่มาของทฤษฎี Harmonization คือ การผสมผสาน ทำให้กลมกลืน ...นั่นเอง

วันนี้..เป็นวันเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัย วันแรกในปีการศึกษา 2553 ...บรรยากาศ ในช่วงนี้ อาจจะยังวังวนอยู่กับ " การรับน้องใหม่" ของแต่ละสถาบัน ... เราเฝ้าแต่หวังใจว่า  ปีนี้ ขออย่าให้มีข่าวหน้า 1 ในทางที่ไม่สร้างสรรค์ เกี่ยวกับการรับน้องใหม่อีกเลย....

จากเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ที่อาคารมหาจุฬาลงกรณ์  ยังได้ฟัง Lecture ช่วงบ่าย ของ ศ.ดร.วิษณุ  เครืองาม ในหัวข้อ "บัณฑิตไทย ในพระราชดำริ"  มีมุมมอง อีกด้านหนึ่ง ที่นำมาฝากกันค่ะ

..."พระราชดำริ" เป็นเรื่องที่อยู่ในใจ ยากที่จะหยั่งรู้ได้ แต่เราสามารถศึกษาวิเคราะห์ ได้จาก "พระราชดำรัส" ที่ปรากฏเป็นเอกสารต่างๆ เผยแพร่ มากมาย โดยเฉพาะในฤดูกาล ของการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร  .... เวลาที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรในสถาบันต่างๆ ... สำนักราชเลขาธิการ จะร่าง พระราชดำรัส หรือ พระบรมราโชวาท โดยคำนึงถึง หัวข้อ ขอบเขต แล้ว ยกร่าง  ให้ทรงทอดพระเนตรก่อน ซึ่งพระองค์ท่านจะอ่าน และ แก้ไข  โดยทรงให้ความสำคัญ ในการสื่อสาร ... ซึ่งในการพระราชทานปริญญาบัตร จะมีบัณฑิต หลากหลายสาขา จึงกล่าวโดยรวมในหลากสาขา .. แต่ในพิธีพระราชทานปริญญา เนติบัณฑิต พระองค์ท่าน จะกล่าวเฉพาะในเรื่องของเนติบัณฑิต เช่น.. กฏหมาย เป็นเพียงมรรควิธี ที่นำไปสู่ความยุติธรรม...บ้านเมืองยังมีศาสตร์อื่นๆ อีกมาก อาจใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหาก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้ศาสตร์นั้นในการแก้ปัญหานั้นๆ ....

..การศึกษา ควรจะเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย .. นั่นคือการนำเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นมาเป็นบทเรียน แล้วถอดบทเรียนออกมาด้วยศาสตร์ ของแต่ละสาขา ...จะเกิดความหลากหลายมุมมองในการคิดวิเคราะห์ ..อีกทั้ง ยังกล่าวถึง เหตุการณ์ที่ผ่านมาว่า  เป็นความเสื่อมของการใช้ภาษา "การพูด".. "การเขียน"  คือการสื่อสาร ถ้าไม่พูด ให้เค้ารู้ และเข้าใจ ..จะทำให้เข้าใจกันได้อย่างไร...

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง "การประสานงาน" ว่า บัณฑิตต้องเป็นผู้รู้ เพื่อการทำงานเป็นหมู่คณะ..

บัณฑิตต้องรู้การประสานงาน ... การประสานงาน บางครั้ง เค้าก็ไม่ต้องการความรู้ในเรื่องนั้นๆ ...แต่เค้าต้องการประสานงาน.. เพื่อช่วยหาความรู้ จากการประสานงานนั้นๆ....ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจทีเดียว ในการบริหารจัดการ คือ... การที่เค้าได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเป็นอะไรใหญ่โต ก็ตาม ... มิได้หมายว่าจะต้องมีความรู้ในการณ์ นั้นๆ เสมอไป เพียงเพื่อสามารถจะเป็นผู้ประสานให้งานในการณ์นั้นสำเร็จได้...ก็ถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่การประสานได้อย่างดีทีเดียว...

อีกทั้ง การปฏิบัติการต่างๆ นั้น จะต้องอยู่บน "ความรับผิดชอบ" นั่นคือ บัณฑิตจะต้องรับผิดชอบต่อตนเอง   รับผิดชอบต่อวิชาชีพ  รับผิดชอบต่อสังคม รับผิดชอบต่อประเทศชาติ ความรับผิดชอบ  คือ "การยอมรับว่าผิด  แล้วทำให้ดีขึ้น"

...ในส่วนของการแสวงหาความรู้ ท่านกล่าวว่า จะรู้อะไร ต้องรู้ให้กระจ่างลึก ให้นำสิ่งที่รู้มาเทียบเคียงกับเหตุการณ์ต่างๆ และปฏิบัติให้เที่ยงตรง  เป็นกลาง  และเป็นธรรม...ความรู้มีอยู่ 3 ด้าน คือ

1. ความรู้ด้านวิชาการ   เกิดได้ ในขณะที่เรียน

2.ความรู้ด้านปฏิบัติการ   เกิดได้ หลังจากที่เรียนจบ

3.ความรู้ด้านความคิด และความอ่าน ... อันนี้เป็นเรื่องของ "ทัศนคติ"

ความรู้ที่ได้จากมหาวิทยาลัย นั้นคือ "ปัญญา" แต่ต้องใช้ "สติ" เครื่องควบคุม

ทำอย่างไรเราจึงจะสอนให้บัณฑิตเป็นผู้มี "ปัญญา"  และมี  "สติ"

ท้ายที่สุด... สิ่งที่ได้แง่คิด จาก Lecture ครั้งนี้ คือ มหาวิทยาลัย จะมีบทบาทอะไร ในเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ในแง่ของ ผู้ผลิตบัณฑิต และ ผู้ที่เป็นบัณฑิต...???

... เราคงได้คำตอบที่หลากหลาย ในหลากสาขาวิชานะคะ... 

 

 

หมายเลขบันทึก: 364649เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2010 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท