กระเทาะแก่นความเป็นครู


การเป็นครู คือ ต้องทำให้ดู แสดงให้ดู จะสอนให้เด็กเป็นอย่างไร ครูต้องเป็นอย่างนั้น เป็นต้นแบบที่ถาวรคงทน มิใช่เป็นเพียงชั่วขณะหนึ่ง หรือเพื่อการใดการหนึ่ง...

เมื่อวัน ศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2553 ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง "พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนาคนไทยที่สมบูรณ์แบบ" จัดโดย สภาการศึกษา ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ความรู้ เรื่องราวดีดี ที่อยากจะมาถ่ายทอดบอกกล่าวเล่าเรื่อง สู่กันและกันค่ะ

วิทยากรที่ท่านมาถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ตรงจากการทำงานของท่าน คือ  ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ท่านบรรยายเรื่อง "ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ท่านกล่าวถึงสมัญญานาม ของพระองค์ท่านว่า เป็น "ครูแห่งแผ่นดิน" โดยได้เริ่มต้นจาก ประโยคที่พระองค์ท่านทรง ตรัสว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแด่มหาชนชาวสยาม".... ท่านให้ความรู้ว่า

"ครอง"   กับ  "ปกครอง" นั้นมีความหมายต่างกัน  ครอง คือ มีความเคารพ ความรัก ความเมตตา ต่อกัน  ส่วน ปกครอง คือ เป็นเรื่องของอำนาจ และตัวบทกฏหมาย

"ธรรม" คือ ความดี และความถูกต้อง เป็นฐาน เป็นความเรียบง่ายที่จะเข้าถึง "แก่น" ของชีวิตและจิตใจของคน...ในความเป็นครูของพระองค์ท่านคือ ต้องทำให้ดู แสดงให้ดู จะสอนให้เด็กเป็นอย่างไร ครูต้องเป็นอย่างนั้น เป็นต้นแบบที่ถาวรคงทน มิใช่เป็นเพียงชั่วขณะหนึ่ง หรือเพื่อการใดการหนึ่ง...พระองค์ท่านทรงเป็นครูที่พยายามจูงใจให้นักเรียนมาสนใจ ท่านสอนตลอดเวลา ไม่มีการสั่งการ แสดงให้เห็นโดยไม่บีบบังคับ ด้วยกลวิธี ต่างๆ .... ข้อคิดที่ได้จากการเรียนรู้ในการดำเนินโครงการในพระราชดำริต่างๆ อย่าได้ยึดติดอยู่กับจำนวนโครงการที่มีมากกว่า สามพันกว่าโครงการ แต่ให้มองทะลุโครงการแต่ละโครงการว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร....

ในปัจจุบัน เยาวชนไทย และระบบการจัดการศึกษาของไทย มีหลักสูตรมากมาย ให้เรียนทั้งตรี โท เอก แต่เรียนจบแล้ว ทำอะไรไม่เป็น... ซึ่งการจะถือว่าเรียนจบนั้น จะต้องทำอะไรให้เป็นก่อน จึงจะเรียกว่า เรียนจบ

การดำเนินโครงการในพระราชดำริต่างๆ ถูกออกแบบมาสำหรับพื้นที่ วิถี ความเชื่อ วัฒนธรรม หลักคิด ปรัชญา   ของคนในพื้นที่นั้นๆ ... คนอิสาน ก็จะคิด และตัดสินใจ ต่างจากคนภาคกลาง หรือภาคเหนือ เพราะพวกเค้ามีฐาน หลักคิดของเค้าอยู่...ดังนั้น การจะลงไปอะไรที่ไหน ต้องให้ความเคารพกับคำว่า "ภูมิสังคม"

"ภูมิ" คือ ภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปที่ไหนต้องรู้เรื่องนี้ก่อนในแต่ละภูมิภาค แต่ละภูมิภาคเค้าจะมีภูมิ ที่แตกต่างกัน ต้องปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ โดยใช้ "ธรรม" อยู่กับ "ธรรมชาติ"

"สังคม" คือ คน ทรงสอนให้ "เข้าใจคน"... อย่างเดียวไม่พอ ต้องทำให้เค้า เข้าใจเราด้วย เป็นความเข้าใจ สองทาง นั่นคือ "ภูมิสังคม"

ในส่วนของการดำเนินโครงการในพระราชดำริ นั้นมีทั้งโครงการเพื่อแก้ปัญหาและโครงการเพื่อเพิ่มรายได้ จึงต้องใช้การพัฒนาแบบองค์รวม

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง คำว่า "รู้ รัก สามัคคี"  ว่าความหมายที่ต้องการจะสื่อ คือ

รู้  คือ  รู้เหตุ  

รัก  คือ ต้องมีพลัง  เคารพ ศรัทธา เมตตา ต่อกัน เอื้ออาทรต่อกัน

สามัคคี  คือ  อย่าทำคนเดียว   อย่าเก่งคนเดียว .....

ในช่วงสุดท้ายท่านได้กล่าวถึง ศิลปแห่งความเป็นครู คือ "เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา"

เข้าใจ  คือ เราเข้าใจเค้าแล้วต้องทำให้เค้าเข้าใจเราด้วย

เข้าถึง  คือ มิใช่เพียงเพื่อเราไปเยี่ยมเค้า  แต่ต้องทำให้เค้าเข้ามาหาเราได้ด้วย คือ "เข้าถึงซึ่งกันและกัน"

เมื่อเข้าใจ และเข้าถึงแล้ว เป็น การสื่อสารสองทาง  จึงจะพัฒนา ต่อไปได้....

ในบทสรุป สุดท้าย ที่ท่านฝากไว้อย่างชัดเจน คือ

"ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลง ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของแต่ละคนเป็นสำคัญ" 

 ...จากการฟัง บรรยายเพียงแค่ ชั่วโมงเศษ ๆ ทำให้กระจ่าง ในบทบาทแห่งความเป็นครู ขึ้นมาในสถานการณ์ปัจจุบันมากทีเดียว ... ครู อาจารย์ ในปัจจุบัน เราคงต้องปรับตั้งแต่กระบวนความคิด ..และการกระทำ โดยใช้สถานการณ์บ้านเมือง เป็นฐานเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ .. เพื่อนำมาคิด วิเคราะห์ เป็น กรณีศึกษา หรือกรณีตัวอย่าง ให้กับลูกศิษย์ของเรา ในหลากศาสตร์ หลากสาขา ได้เป็นอย่างดี....

หมายเลขบันทึก: 364231เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2010 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

*** "ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลง ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของแต่ละคนเป็นสำคัญ" การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพจึงต้องเป็นคุณภาพที่แท้จริงและควรมีการประเมินผลและตรวจสอบตลอดว่ามีการพัฒนาตนเองและนักเรียนได้จริงหรือไม่

เห็นด้วย กับ อาจารย์กิติยา อย่างมากคะ...

แต่เท่าที่เห็นระบบการศึกษาในบ้านเรา... การประเมิน ตั้งแต่ ประเมินตนเอง จนถึงประเมินองค์กร...อาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกมากทีเดียว....โดยเฉพาะ....อาจจะต้อง ปรับอุปสงค์ของการประเมินคุณภาพ ให้เป็นการ ...ประเมินเพื่อพัฒนา...ทั้งตนเองและองค์กร ...โดยมุ่งเน้นที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สุข ได้จริงๆ ของตนเอง และองค์กร จนถึงระดับชาติ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท