ร่วมมือกันทำสิ่งที่ดีกว่าเดิม


ไม่ปิดกั้นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมหรือการพัฒนาโดยภาคส่วนอื่นๆ ไม่ผูกขาดไว้แต่ตนเอง และต้องเห็นศักยภาพของคนอื่น

 

๖ จังหวัดอีสานตอนบน มีปัญหาสำคัญที่ผู้คนต้องเจ็บป่วยล้มตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ โรคไตวาย เบาหวาน โรคมะเร็งท่อน้ำดี ปัญหาการขาดสารไอโอดีน

เป็นที่ทราบกันดี พฤติกรรมการบริโภคของชาวอีสาน เช่นการกินเค็มมาก หวานมาก กินของดิบ และกินอาหารที่ขาดสารไอโอดีนล้วนนำมาสู่โรคดังกล่าวคือไตวาย เบาหวาน มะเร็งท่อน้ำดี และภาวะขาดสารไอโอดีนในทุกจังหวัดในเขตอีสานตอนบนคือจังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม สถานการณ์นี้น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเพราะมีปัญหารุนแรงในอันดับต้นๆของประเทศส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสติปัญญาประชาชนในพื้นที่  นอกจากแต่ละจังหวัดต้องแก้ไขปัญหาของจังหวัดตนเองแล้ว การร่วมมือกัน หรือดำเนินการให้สอดประสานกันจะทำให้เกิดพลังในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกรรมหรือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ออกไปสู่ประชาชน การแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆที่เน้นดำเนินการโดยภาคราชการคงต้องมีการทบทวน เพราะทำมาหลายปีแต่สถานการณ์ต่างๆยังไม่ดีขึ้นอย่างที่อยากเห็น หากยังไม่ร่วมมือกันดำเนินการอย่างจริงจังทุกภาคส่วน เราจะเสียโอกาส และประชาชนคงต้องประสบปัญหาต่อไป สูญเสียสุขภาพ สูญเสียงบประมาณประเทศในการรักษา สูญเสียศักยภาพอย่างน่าเสียดาย  

การแก้ไขปัญหาที่เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนให้ร่วมดำเนินการอย่างจริงจังเป็นแนวทางที่ดี และมีบางพื้นที่ดำเนินการแก้ปัญหาของประชาชนได้เป็นอย่างดี เช่น การแก้ไขปัญหาการขาดสารไอโอดีนในพื้นที่อบต.นาพู่ อ.เพ็ญ และที่อบต.ผาสุข อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานีก็เช่นกัน เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมที่ดำเนินการอย่างได้ผลและคนในชุมชนทุกฝ่ายได้ร่วมมือกันอย่างดีเพื่อชุมชนของเขา ยังมีรูปแบบนวัตกรรมของชุมชนในเรื่องอื่นๆอีกมากในระบบสุขภาพที่ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในมือของฝ่ายราชการเท่านั้นซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และจะเป็นผลดีต่อส่วนรวม แต่ฝ่ายราชการต้องเปิดใจกว้าง ไม่ปิดกั้นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมหรือการพัฒนาโดยภาคส่วนอื่นๆ ไม่ผูกขาดไว้แต่ตนเอง และต้องเห็นศักยภาพของคนอื่น

การช่วยกันคิดช่วยกันทำ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดสิ่งใหม่ๆ ทดแทนการทำงานแบบเดิมๆที่แก้ไขปัญหาไม่ได้ จะนำไปสู่การพัฒนาแบบก้าวกระโดด  มีความหลากหลายและยั่งยืน

ทุกภาคส่วน พร้อมที่จะร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อผลักดันการพัฒนาสุขภาพของประชาชนหรือไม่....พร้อมหรือยังที่จะก้าวออกจากความเคยชินเดิมๆ?


 

หมายเลขบันทึก: 363870เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2010 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ความร่วมมือร่วมใจคิดสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอปท.

ถ้าได้ร่วมมือกันจริงจังจะทำให้การแก้ปัญหาได้ผลดีนะคะ

โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้วยชุมชนเอง

ครับ การแก้ไขปัญหาด้วยคนในชุมชนเองจะยั่งยืนกว่าคนภายนอกไปทำให้

1 a1c สูงครับ ร้อยละ 80 ของคนไข้ น้ำตาลสูง

2 คนไข้ หลายคนไม่ได้ยาที่จำเป็น เช่น aspirin +simvastatin

3 ไม่มี การนำเอา จิตอาสา ไปดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง

แต่เอาไป ทำงานสุขาภิบาลและโรคติดต่อเท่านั้น

เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์มากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท