จะสอนลูกเสือเรื่องอะไรดี ช่วงเวลานี้


เปิดเทอมใหม่ ครูถามเรื่องแผนการสอน และกิจกรรมลูกเสือที่ต้องรับผิดชอบว่า ควรสอนอะไรก่อน..? ตามปฏิทิน กิจกรรมสำคัญๆที่ครูต้องเตรียมเด็กให้พร้อม คือ วันที่ ๑ กรกฎาคม

เปิดเทอมใหม่ ครูถามเรื่องแผนการสอน  และกิจกรรมลูกเสือที่ต้องรับผิดชอบว่า ควรสอนอะไรก่อน..?

ตามปฏิทินกิจกรรมสำคัญๆที่ครูต้องเตรียมเด็กให้พร้อม  คือ  วันที่ ๑ กรกฎาคม  ของทุกปี  จะเป็นวันครบรอบวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ  ซึ่งโรงเรียนควรจัดกิจกรรมการสวนสนามของลูกเสือ เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย  เสริมสร้างความอดทน  สร้างบุคลิกภาพทางกายให้เป็นคนสง่างามในอริยาบทของการเดิน  ยืน ด้วยกิจกรรมการฝึกระเบียบแถว  และการเดินอย่างถูกวิธี  ด้วยกิจกรรมการสวนสนาม

หลังจากที่โรงเรียนได้  จัดระบบหมู่ลูกเสือได้ครบจำนวนหมู่  และกองแล้ว  (จะเป็นแบบคละชั้น(คือมีทั้ง ลส.เอก+โท+ตรี)  หรือ  แยกเป็นชั้นใครชั้นมัน(แยกเป็นกองลส.เอก, กองลส.โท, กอง ลส.ตรี ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของลูกเสือ-เนตรนารี  แต่ที่สำคัญ ควรเป็นลูกเสือประเภทเดียวกัน  ระดับช่วงชั้นเดียวกัน คือ ลส.สำรอง , ลส.สามัญ ,ลส.สามัญรุ่นใหญ่ หรือ ลส.วิสามัญ แยกเป็นกองใครกองมัน

 จัดรูปขบวนอย่างไร  ?

ให้มีลูกเสือ-เนตรนารี แต่ละประเภทที่โรงเรียนจัดสอน  เป็น กองลส.สำรอง  กองเนตรนารีสำรอง  กองลส.สามัญ  กองนร.สามัญ  กองลส.สามัญรุ่นใหญ่ ,กองนร.สามัญรุ่นใหญ่ ,กองลส.วิสามัญ และกอง นร.วิสามัญ  ให้ลส.๑ กอง  มี ๔ หมู่ ให้มีรูปขบวนตามระเบียบว่าด้วยการสวนสนาม

การจัดรูปขบวนสวนสนาม ในระดับอำเภอ

การสอนให้ลูกเสือสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ  ข้อปฏิบัติที่กำหนดในคู่มือการฝึกระเบียบแถวลูกเสือ  ผู้บังคับบัญชาควรได้วางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  และเตรียมความพร้อมให้มีการปฏิบัติจริงจนเกิดเป็นทักษะประจำตัวเด็กในเรื่องต่อไปนี้  คือ

            1.   การจัดรูปแถวของลูกเสือจัดเป็นแถวตอน  แถวหน้ากระดาน  และรูปขบวน  ทั้งการฝึกเป็นหมู่และเป็นกอง

            2.   การฝึกท่ามือเปล่า  ท่าอาวุธของลูกเสือและผู้บังคับบัญชา

            3.   บทบาทของผู้บังคับบัญชา  (ผู้กำกับ,  รองผู้กำกับ)  นายหมู่  รองนายหมู่และลูกเสือ

            4.   คำสั่งด้วยปาก  คำบอกในการบอกแถวด้วยสัญญาณนกหวีด

            5.   หากลวิธีในการปลุกใจลูกเสือให้กระตือรือร้น  เอาใจใส่ต่อการฝึกฝน  หาวิธีแก้ไขข้อบกพร่อง  หาวิธีฝึกตนเองภายในกองหรือขอคำแนะนำจากหน่วยอื่น  ในบางกรณีอาจขอคำแนะนำจากวิทยากรลูกเสือ  ศึกษานิเทศก์  และผู้ชำนาญการสวนสนามในระดับจังหวัดให้เป็นผู้ชี้นำ

            6.   กำหนดการฝึกเป็นรายสัปดาห์ตามความเหมาะสมแก่เวลาที่มี

            7.   การฝึกแต่ละครั้งต้องรู้กลวิธี  เน้นความถูกต้องตามระเบียบ  ขั้นตอนทั้งคำบอก  บุคลิกภาพ  การแต่งกายให้เป็นแบบอย่างที่ถูกต้องแก่ลูกเสืออยู่เสมอ

            8.   เตรียมสถานที่  และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการฝึกภาคสนาม  ควรให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย

            9.   กองดุริยางค์  ใช้ประกอบพิธีการและการเดิน  ถ้าโรงเรียนไม่มีก็ใช้เพียงสัญญาณกองหรือใช้เครื่องเสียงเปิดเพลงเดินเพื่อประกอบจังหวะก็ได้

            ต่อนี้ไปผู้เขียนได้เสนอแนะข้อปฏิบัติในการสวนสนาม  และกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือ  รูปแบบพิธีการจริงในการสวนสนาม  วันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ  ณ สนามศุภชราศัย  วันที่  1  กรกฏาคม  ของทุกปีมา

คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 363868เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2010 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท