โอวาทสี่ท่านเหลี่ยวฝานข้อที่สาม(๒)


“ลูกจะต้องเจียมเนื้อเจียมตัว อย่าได้อวดดี ว่าวิเศษกว่าผู้อื่น อย่านำความสามารถของลูก ไปข่มผู้อื่นที่ด้อยกว่า ให้เขาได้อาย จงเก็บความรู้ ความสามารถของเจ้าไว้ในใจ อย่าได้แสดงออกให้ปรากฏแก่สายตาผู้อื่น ใครพลาดพลั้งล่วงเกินลูก ก็จงรู้จักให้อภัย อย่าได้แพร่งพรายความไม่ดีออกไป

ผมยังเล่าโอวาทข้อสามไม่จบ วันนี้มาขอต่อข้อสามเพื่อให้จบครับ ท่านสอนลูกว่าการช่วยเหลือผู้อื่นนั้น มีวิธีการมากมายและสามารถแยกออกได้ ๑๐ วิธีด้วยกัน คือ

๑. ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี
๒. รักและเคารพทุกคนอย่างเสมอหน้า
๓. สนับสนุนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความดีพร้อม
๔. ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดี
๕. ช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในความคับขัน
๖. กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
๗. ไม่ทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หมั่นบริจาค
๘. ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมะ
๙. เคารพผู้มีอาวุโสกว่า
๑๐. รักชีวิตผู้อื่นดุจรักชีวิตตนเอง

ซึ่งในแต่ละข้อ ท่านเหลี่ยวฝานก็ยังอธิบายและยกตัวอย่างการทำความดีในแต่ละอย่างมาสอนลูกด้วย ทั้งยังอธิบายเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจ

การช่วยเหลือผู้อื่นทำความดีท่านเล่าให้ฟังเรื่องท่านตี้ซุนก่อนจะขึ้นครองราชย์ ที่ไปช่วยชาวบ้านชาวบ้านยากจนและคนแก่จับปลา และก็เห็นพฤติกรรมของคนหาปลา ใครที่ไม่เห็นแก่ตัวท่านก็จะนำไปบอกกล่าวเล่าขาน จนทำให้คนรักที่จะทำความดี ไม่เห็นแก่ตัว และท่านยังสอนลูกว่าสมัยนี้ผู้คนไม่ค่อยมีศีลธรรม เหมือนดังยุคก่อน เพราะฉะนั้น “ลูกจะต้องเจียมเนื้อเจียมตัว อย่าได้อวดดี ว่าวิเศษกว่าผู้อื่น อย่านำความสามารถของลูก ไปข่มผู้อื่นที่ด้อยกว่า ให้เขาได้อาย จงเก็บความรู้ ความสามารถของเจ้าไว้ในใจ อย่าได้แสดงออกให้ปรากฏแก่สายตาผู้อื่น ใครพลาดพลั้งล่วงเกินลูก ก็จงรู้จักให้อภัย อย่าได้แพร่งพรายความไม่ดีออกไป
เพื่อให้โอกาสเขากลับตัวกลับใจ และเมื่อไม่มีใครรู้ และก็ทำให้เขาไม่กล้ากำเริบเสิบสาน เพราะทุกคนย่อมรักหน้ารักตา ไม่อยากเป็นคนเสียชื่อเสียง” ในชีวิตประจำวันของลูก ไม่ว่าจะพูดสักคำ จะทำอะไรสักอย่าง จงอย่าทำเพื่อประโยชน์ตนเอง ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ลูกจงจำไว้ให้ดี

รักและเคารพทุกคนอย่างเสมอหน้านั้นเป็นอย่างไร ในข้อนี้ท่านสอนให้ลูกรู้จักดูว่าคนดีเป็นอย่างไร เพราะ “ผู้ดีที่มีข้อแตกต่างจากคนทั่วไปนั้น คือ มีน้ำใจรักและเคารพทุกคน อย่างเสมอหน้ากันธรรมดา คนที่เราได้พบเห็นในชีวิตประจำวันนั้น บางคนเราก็เคยใกล้ชิดด้วย บางคนก็ห่างเหินกันไป บางคนสูงศักดิ์ บางคนต่ำต้อย บางคนฉลาดหลักแหลม บางคนโง่เขลาเบาปัญญา บางคนมีคุณธรรมประจำใจ
บางคนก็ร้าย จนได้ชื่อว่าเป็นคนพาล แม้ทุกคนจะมีสถานภาพและจิตใจไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนก็เป็นเพื่อนมนุษย์ ที่ต้องเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน นักปราชญ์ทั้งปวง จึงไม่ชอบให้คนเกลียดกันดูถูกกัน ต้องรักกันเคารพกันอย่างเสมอหน้า จึงจะมีสันติสุขเกิดขึ้นได้

สนับสนุนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความดีพร้อมนั้น อย่างไร ข้อนี้ท่านสอนให้ลูกรู้จักยกย่องคนดี ท่านเปรียบเทียบว่า “หยกมีความงาม และความสำคัญขึ้นมาได้
เพราะฝีมือของมนุษย์เอง คนก็เช่นกัน ถ้ามีคนคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำที่ดี คนธรรมดาๆ ก็จะกลายเป็นคนดีพร้อมไปได้ เพราะฉะนั้น ลูกจงใส่ใจในคนที่รักดี มุ่งมั่นจะเป็นคนดี ลูกจงให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้กำลังใจ ประคับประคอง เพื่อให้เขาเป็นคนดีพร้อมให้ได้”  คนดีมักจะเป็นคนตรง และไม่กลัวตาย ไม่ชอบการแต่งตัวที่หรูหราไม่ชอบมีความเป็นอยู่ที่ฟุ่มเฟือย จึงมักตกเป็นขี้ปากคนชั่ว ท่านจึงให้ลูก “ช่วยปกป้องคนดี และช่วยชี้ทางให้คนชั่วกลับใจเป็นคนดีเสีย” เพราะนี่คือมหากุศล

ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดีนั้นอย่างไร ข้อนี้ท่านสอนถึงแนวทางการชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดีโดยให้ใช้คำพูด ใช้หนังสือเป็นตัวอย่าง “ลูกก็จะต้องใช้ให้เหมาะสม
มิฉะนั้นก็จะไม่ได้ผลเลยดุจดั่งคนป่วย ถ้าได้ยาตรงกับโรค ก็จะหายวันหายคืน เหมือนคนที่มีนิสัยแข็งกระด้าง ถ้าเราใช้คำพูดตักเตือน เขาจะไม่เชื่อโดยง่ายพูดไปก็เสีย เวลาเปล่า ถ้าเป็นคนที่มีนิสัยอ่อนโยน การตักเตือนด้วยคำพูดมักจะได้ผล ลูกไม่ควรพลาดโอกาสอันดีนี้เสีย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ลูกต้องดูคนเป็น ต้องอ่านนิสัยได้ถูกต้อง
แล้วจึงจะวินิจฉัยได้ว่า คนเช่นไรสมควรตักเตือนด้วยคำพูด คนเช่นไรสมควรให้เขาอ่านหนังสือ

จะช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในความคับขันได้อย่างไร เพราะท่านเห็นว่าเคราะห์กรรมอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้จึงสอนลูกว่า “หากลูกพบเห็นคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ลูกจะต้องเข้าช่วยเหลือให้ทันท่วงทีและจะต้องช่วยแก้ไขสถานการณ์ ด้วยสติปัญญาของลูกอย่างรอบคอบ เพื่อให้การช่วยนั้น ประสบความสำเร็จ”

กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างไร ข้อนี้ท่านสอนให้ลูกมีจิตสาธารณะ ให้เข้าไปช่วยผู้อื่นทำงานเพื่อส่วนรวม “ไม่ว่าลูกจะอยู่ในชนบทเล็กๆ หรือในเมืองใหญ่ๆ หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ประโยชน์สุขของส่วนรวมแล้ว ลูกจะต้องไม่ท้อถอยในการเป็นอาสาสมัคร” และยังสอนอีกว่า “หากใครมาว่าร้าย ลูกก็จงอย่าใส่ใจ ถ้าเราทำดีโดยสุจริตแล้ว ใครๆ ก็ย่อมเข้าใจและช่วยป้องกันลูกเสียอีก ลูกจงอย่าท้อถอยไม่ว่าจะประสบอุปสรรคใดๆอย่าได้วางมือเป็นอันขาด”

ไม่ทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หมั่นบริจาค อย่างไร ข้อนี้ท่านสอนให้ลูกรู้จักเสียสละ คำสอนในพระพุทธศาสนานั้นมากมาย พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำให้รู้จักให้ทานเสียก่อน การให้คือการเสียสละ ผู้ที่ไม่สามารถเสียสละได้ทั้งหมด
ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการให้ทานบริจาคทรัพย์เสียก่อน

ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมได้อย่างไร ข้อนี้ท่านสอนให้ลูกใกล้ชิดความดีด้วยการปฏิบัติธรรมยึดมั่นในธรรม เคารพผู้ประพฤติธรรม เพราะธรรมะ คือ ประทีปที่ส่องวิถีทางแห่งชีวิต  ธรรมะ คือ การธำรงไว้ซึ่งฟ้าดินและมนุษย์ ธรรมะทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ ท่านจึงสอนว่า “ฉะนั้น เมื่อลูกเห็นศาลที่บูชานักปราชญ์ราชบัณฑิต หรือเห็นคัมภีร์โบราณ ที่เป็นธรรมะอันสูงส่ง ลูกจะต้องถนอมด้วยความเคารพ หากมีสิ่งขาดตกบกพร่องลูกจะต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม เพื่อเป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป ลูกจะต้องเผยแผ่ธรรมะ ธำรงไว้ซึ่งธรรมะ ปฏิบัติตนด้วยธรรมะ สอนให้ผู้อื่นรู้จักธรรมะ”

เคารพผู้มีอาวุโสกว่าอย่างไร ท่านสอนให้ดูแลตั้งแต่คนในครอบครัวไปจนถึงฮ่องเต้  โดยสอนว่า “ในครอบครัว ย่อมมีบิดามารดา พี่ชายพี่สาว ที่มีอาวุโสกว่าเรา เราต้องเคารพรักรู้จักปรนนิบัติเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุข ในประเทศ ย่อมมีฮ่องเต้เป็นประมุข ที่เราจะต้องแสดงความจงรักภักดี รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษากฎหมายยิ่งกว่าชีวิตของลูกเอง”

รักชีวิตผู้อื่นดุจรักชีวิตตนเองอย่างไร ข้อนี้ท่านสอนให้มีเมตตา เพราะการเอาชนะสิ่งที่ยากที่สุด คือ ใจของตนเอง ต้องเริ่มปลูกฝังจิต ให้มีเมตตากรุณาก่อน
การสั่งสมคุณธรรมใดๆ ท่านผู้ใหญ่แต่กาลก่อน จึงไม่ยอมบริโภคเนื้อสัตว์สี่ประเภท คือ ๑. สัตว์ที่ได้ยินเสียงเขาฆ่า ๒. สัตว์ที่เห็นเขากำลังฆ่า ๓. สัดว์ที่เลี้ยงอยู่เอง
๔. สัตว์ที่เขาจงใจฆ่าเพื่อให้เราบริโภค

ที่สุดท่านสรุปว่า “การทำความดีนั้นไม่มีที่สิ้นสุด อธิบายเท่าไรก็คงไม่หมด
จงถือหลักสิบประการนี้แล้ว ลูกก็จะแผ่ขยายการทำดีให้กว้างขวางออกไปเอง
การสั่งสมคุณธรรม ให้ครบหนึ่งหมื่นครั้ง ก็จะอยู่เพียงแค่เอื้อม

ขออภัยที่เขียนต่อช้าเป็นที่รำคาญใจแก่ผู้ที่รออ่าน เพราะกำลังเขียนแก้อุทธรณ์และเตรียมตัวบรรยายครับ อาทิตย์หน้าทุกอย่างจะเบาขึ้น จะรีบมาเขียนโอวาทข้อสุดท้ายครับ

หมายเลขบันทึก: 363588เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับ

   หนึ่งหมื่นครั้งในการสั่งสมคุณธรรม อยู่เพียงแค่เอื้อมจริง ๆ หากเราปฎิบัติตนได้

                                                    ขอบคุณครับ

(ตอนนี้อยู่สงขลาครับ)

 

สวัสดีขอรับ

  • ผมช่างโชคดีที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้ได้ถูกที่ถูกเวลาพอดี เพราะช่วงนี้มีปัญหาอยากจะลาออกจากการเป็นประธานคณะทำงาน ผมรู้สึกว่าผมเองจะมีปัญหาการทำงานเป็นทีม เมื่อได้อ่านบันทึกนี้แล้วได้แนวปฏิบัติชัดขึ้นขอรับ จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติพัฒนาตนต่อไปขอรับ
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ท่านอัยการสบายดีนะคะ  บันทึกนี้อ่านแล้วเหมือนได้อ่านตำราเล่มหนึ่งนะคะ ความดีไม่มีที่สิ้นสุดจริง ๆค่ะ   ขอขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณท่านอัยการมากครับ ข้อเขียนนี้ดีจริงๆขออนุญาต นำไปเผยแพร่ต่อนะครับ

เก็บคำ.. ชวนคิด.. ที่ท่านเล่า.. มาใคร่ครวญ...

สนับสนุนผู้อื่นให้เป็นผู้มีความดีพร้อมนั้น อย่างไร ข้อนี้ท่านสอนให้ลูกรู้จักยกย่องคนดี ท่านเปรียบเทียบว่า “หยกมีความงาม และความสำคัญขึ้นมาได้
เพราะฝีมือของมนุษย์เอง คนก็เช่นกัน ถ้ามีคนคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำที่ดี คนธรรมดาๆ ก็จะกลายเป็นคนดีพร้อมไปได้ เพราะฉะนั้น ลูกจงใส่ใจในคนที่รักดี มุ่งมั่นจะเป็นคนดี ลูกจงให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้กำลังใจ ประคับประคอง เพื่อให้เขาเป็นคนดีพร้อมให้ได้”  คนดีมักจะเป็นคนตรง และไม่กลัวตาย ไม่ชอบการแต่งตัวที่หรูหราไม่ชอบมีความเป็นอยู่ที่ฟุ่มเฟือย จึงมักตกเป็นขี้ปากคนชั่ว ท่านจึงให้ลูก “ช่วยปกป้องคนดี และช่วยชี้ทางให้คนชั่วกลับใจเป็นคนดีเสีย” เพราะนี่คือมหากุศล

ได้ฟัง ซีดี "โอวาท" ของท่านเหลี่ยวฝาน หลายครั้ง.... เมื่อได้อ่านที่ "ท่านอัยการชาวเกาะ" บรรยาย ยังคงประทับใจ...... เพียร......... ให้คนเป็นคนดี.......มีความใกล้เคียง....กับ "การยุ่งเรื่องชาวบ้าน" ที่สำคัญ คำสอนนี้มีทั้งกระตุ้น (ปลุก) วิธีการ ตัวอย่าง และ ข้อควรระวังไว้อย่างดี จึงป้องกันการยุ่งเรื่องชาวบ้านด้วย ความไม่เหมาะสม ไว้ว่า

ขอบพระคุณในนำใจที่ท่าน...เพียร...นำเรื่องดีๆ..มาเล่าค่ะ

ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดีนั้นอย่างไร ข้อนี้ท่านสอนถึงแนวทางการชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดีโดยให้ใช้คำพูด ใช้หนังสือเป็นตัวอย่าง “ลูกก็จะต้องใช้ให้เหมาะสม"

ขออภัยที่ ข้อความมีการสลับที่กับความต้องการสื่อ

  • "การทำความดีนั้นไม่มีที่สิ้นสุด....
  • ขอบพระคุณมากครับ ที่นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน
  • สบายดีนะครับท่าน

สวัสดีค่ะ

ดีทุกข้อ ชอบทุกข้อ ขอบคุณมากสำหรับทุกๆ ข้อ แล้วก็อย่าลืมพักผ่อนบางนะคะเดี๋ยวจะปวดข้อ ...

ศิริวรรณค่ะ

ได้ยินเสียงพี่บ่าวโทร.หาก็ดีใจแล้วครับ เสียดายแต่ไม่ได้กินข้าวด้วยกัน ผมกำลังจะไปหาดใหญ่ครับ

สวัสดีครับคุณเด็กข้างบ้าน

ผมเป็นประธานอยู่หลายคณะเหมือนกัน ปัญหาเรื่องคนเป็นปัญหาที่ปวดหัวที่สุด ต้องค่อยปรับค่อยแก้ไปเรื่อยครับ ต้องหาจุดที่ลงตัว มันเป็นทั้งศาสตร์ทั้งศิลป์ครับ ท่านเหลี่ยวฝานสอนให้จัดการเรื่องคนดีมากครับเพราะไม่ต้องไปสู้รบปรบมือกับใคร

ขอบคุณที่แวะมา

สวัสดีครับพี่คิม

สบายดีนะครับ

ขออภัยที่ไม่ได้แวะไปเยี่ยมบันทึกเลย เพราะสองอาทิตย์นี้งานผมมโหฬารบานเบอะเลยครับ

สวัสดีครับคุณสันติ

บันทึกนี้ยินดีให้นำไปเผยแพร่ได้ เพราะผู้เขียนต้นฉบับก็อยากให้เผยแพร่ให้คนอ่านแล้วนำไปปฏิบัติเยอะเพื่อสังคมจะได้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไปครับ

สวัสดีครับคุณpranrx

ขอบคุณที่แวะมา

ท่านเหลี่ยวฝานช่างเปรียบเทียบกับหยก ที่ถ้ายังไม่เจียระนัยก็คงเป็นก้อนหินสีธรรมดา แต่เมื่อเอามาขัดแต่งก็กลายเป็นของมีค่า คนก็เหมือนกันถ้าไม่ขัดแต่งบางทีก็อาจดูไม่มีคุณค่า แต่เมื่อไรที่นำมาสอน มาปรับปรุงตัวเหมือนกับการขัดแต่งหยกเขาก็จะกลายเป็นบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคม

สวัสดีครับท่านสิงห์ป่าสัก

คิดถึงอยู่ครับ

ขอบคุณคุณศิริวรรณที่เป็นห่วงครับ นี่ต้องไปบรรยายที่หาดใหญ่ครับ ขับรถไปเองครับ

สวัสดีค่ะ คุณลุงอัยการ

  • มาทักทายค่ะ
  • ชอบมากเลยค่ะประโยคนี้“ลูกจะต้องเจียมเนื้อเจียมตัว อย่าได้อวดดี ว่าวิเศษกว่าผู้อื่น อย่านำความสามารถของลูก ไปข่มผู้อื่นที่ด้อยกว่า ให้เขาได้อาย จงเก็บความรู้ ความสามารถของเจ้าไว้ในใจ อย่าได้แสดงออกให้ปรากฏแก่สายตาผู้อื่น ใครพลาดพลั้งล่วงเกินลูก ก็จงรู้จักให้อภัย อย่าได้แพร่งพรายความไม่ดีออกไป
    เพื่อให้โอกาสเขากลับตัวกลับใจ และเมื่อไม่มีใครรู้ และก็ทำให้เขาไม่กล้ากำเริบเสิบสาน เพราะทุกคนย่อมรักหน้ารักตา ไม่อยากเป็นคนเสียชื่อเสียง”
  • นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกข้อเลย

 

แอ้ม เมืองขนมหวาน

สวัสดีหนูแอ้ม

ขอบคุณมากสำหรับส้มในน้ำเชื่อม อร่อยมากกกก ขอบอก

ลุงมาบรรยายที่หาดใหญ่ขับรถมาตั้งแต่เมื่อวาน เมื่อคืนมาถึงสองทุ่ม หาข้าวกินแล้วนอนเลย

วันนี้บรรยายตั้งแต่ ๙ โมงถึงเที่ยง แล้วทานข้าว บ่ายโมงถึงสี่โมงเย็นบรรยายต่อ ห้าโมงเย็นนั่งฟังพระมหานภัณฑ์ แสดงธรรมถึง ๒ ทุ่ม เพิ่งได้ทานข้าวเย็นแล้วกลับมาที่ห้องเพิ่งรู้ว่าใช้อินเทอร์เน็ตได้ ก็เลยเปิดมาเจอที่หนูแอ้มเขียนไว้ เพิ่งได้ตอบเนี่ย...

ว่าแต่ว่าของ dole อร่อยจริง อิอิ

สวัสดีค่ะ ท่านอัยการฯ

ก่อนหน้านี้มาอ่านแล้ว...แต่ยังไม่เม้นท์

โอวาท...วาทะดีดีนะ...โอเคเลยแล้วจะอ่านให้หมดเลยล่ะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

สวัสดีครับครูจิ๋ว

ผมอยากปลูกฝังให้เด็กเป็นคนด หากเด็กๆได้อ่านหนังสือดีๆเหล่านี้ เข้าถึงคำสอนเหล่านี้ ผมเชื่อว่าสังคมอีก ๑๐ ปีข้างหน้าจะดีขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท