วัฒนธรรมพื้นบ้าน


เก็บมาฝาก
  ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
 วัฒนธรรม
                วัฒน  กับ  ธรรม   มาเข้าสมาสกัน แปลว่า “ธรรมเป็นเหตุให้เจริญ” หรือ  “ธรรมคือความเจริญ”
                คำว่า วัฒนธรรม ซึ่งแปลว่า  ธรรมคือความเจริญ หรือ ธรรมเป็นเหตุให้เจริญนั้น แสดงให้เห็นว่ามิใช่มีลักษณะอยู่กับที่    จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ    แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเป็นไปในทางที่ดีขึ้นตามลำดับ สิ่งใดที่อยู่กับที่ ไม่ชื่อว่า วัฒนะ  คือ เจริญ วัฒนธรรมจึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่กาลเวลาอยู่เสมอ  ผู้มีวัฒนธรรมจะชื่อว่าเป็นคนทันสมัย ไม่ล้าหลัง แต่ก็ไม่ใช่ล้ำหน้าเสียจนกระทั่งไม่มีหลักจนกลายเป็น  หายนะคือความเสียหายไป
 เนื้อหาวัฒนธรรม
เนื้อหาของวัฒนธรรม เราอาจแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง คือ
                ๑. คติธรรม (Moral Culture) ได้แก่ วัฒนธรรมทางศีลธรรม และทางจิตใจอันเป็นคติหรือหลักดำเนินชีวิต เช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที
                ๒. เนติธรรม (Legal Culture) ได้แก่ วัฒนธรรมทางกฎหมาย  หรือขนมธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมาย คือ บางอย่างแม้ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เป็นที่น่าอับอายขายหน้าเพราะถือกันเสียหาย
                ๓. วัตถุธรรม (Material Culture) ได้แก่ วัฒนธรรมทางวัตถุ ไม่ใช่หมายเฉพาะวัตถุทางศิลปกรรมเท่านั้น แม้บ้านเรือน เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ ถนนหนทาง และสิ่งประกอบความเป็นอยู่ทุกชนิดก็จัดเข้าในวัตถุธรรมทั้งสิ้น อย่างบ้านไทย วัดวาอาราม พระราชวัง ฯลฯ ซึ่งล้วนเต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางด้านวัตถุธรรมทั้งนั้น
                ๔. สหธรรม (Social Culture) ได้แก่วัฒนธรรมทางสังคม คือ วัฒนธรรมในการติดต่อเกี่ยวข้องกับกลุ่มชน เช่น มรรยาทในการเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ มรรยาทในโต๊ะอาหาร มรรยาทในการเข้าสังคม
 ประเพณี
 ประเพณี  ได้แก่สิ่งที่ได้ประพฤติกันสืบ ๆ มาจนเป็นธรรมเนียม 
แบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะของประเพณีที่มีอยู่ ๓ ประเภท
                จารีตประเพณี  ได้แก่ประเพณีอันเนื่องด้วยศีลธรรม  ซึ่งคนในส่วนรวมถือว่ามีค่าแก่สังคม ใครประพฤติฝ่าฝืนหรืองดเว้นไม่กระทำตามที่กำหนดไว้ ถือว่าเป็นผิดเป็นชั่ว  เช่น หนุ่มสาวหนีตามกัน   การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ  
                ขนบประเพณี   ได้แก่ประเพณีที่มีค่าของสังคม ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  ขนบ แปลว่า  ระเบียบแบบแผน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต  เช่น การเกิด  แต่งงาน  ทำบุญ  บวชนาค  เผาศพ เป็นขนบประเพณีทั้งสิ้น
                ธรรมเนียมประเพณี  ได้แก่  ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ    แม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดประเพณี  ก็ไม่ถือว่าสำคัญอะไร  นอกจากจะเห็นว่าเสียมารยาทหรือไม่สุภาพเท่านั้น  เช่นการเข้าสังคม  การร่วมรับประทานอาหาร  งานในชุมชนต่าง ๆ
 นิทานชาวบ้าน
นิทานชาวบ้าน (Folktale) คือเรื่องราวที่บุคคลในท้องถิ่นต่าง ๆ แต่งขึ้นและเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน มีความมุ่งหมายเพียงเป็นเครื่องบันเทิงใจ และสั่งสอนบุคคลให้กระทำความดี
นิทานแบ่งออกเป็น ๕  ประเภทด้วยกัน  คือ
๑. นิทานปรับปรา  ซึ่งมักเป็นเรื่องค่อนข้างยาว  มีสารัตถะสำคัญ ๆ อยู่ในนิทานมากมาย เป็นเรื่องทีสมมุติว่าเกิดขึ้นในที่ใดที่หนึ่ง  แต่สถานที่เลื่อนลอย  กำหนดให้ชัดเจนลงไปไม่ได้ว่าที่ไหน
 ๒. นิทานท้องถิ่น  เป็นนิทานขนาดสั้น  มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี  โชคลาง   หรือบางเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของวีรบุรุษ   หรือบางเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับนางนาค นางไม้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ก็ได้
 ๓. เทพนิยาย มักเป็นนิทานเกี่ยวกับเทวดา  นางฟ้าหรือกึ่งเทวดา เช่นเรื่อง  เมขลา-รามสูร  นารายณ์สิบปาง เป็นต้น
 ๔. นิทานเรื่องสัตว์  อย่างในชาดกต่าง ๆ
 ๕. นิทานตลกขบขัน  มักเป็นเรื่องสั้น ๆ   หรือชวนให้ขบขัน     และมักจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้  เช่น เรื่องศรีธนนไชย  เป็นต้น
 ตำนาน
       ตำนาน  คือ  เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง  เรื่องราวนมนานที่ต่อปากกันมาโดยมากใช้แก่โบราณวัตถุ  โบราณสถาน  หรือบ้านเมือง  หรือจะกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือประวัติ เรื่องราวที่เกี่ยวกับความเป็นมาของโบราณวัตถุ โบราณสถาน และบ้านเมืองต่าง ๆ ชนิดที่เล่าต่อปากกันมานั่นเอง
                ตำนานที่เกี่ยวกับโบราณวัตถุ  เช่น  ตำนานเกี่ยวกับพระแก้วมรกต  หรือตำนานเกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์  เป็นต้น
 ภาษิตไทย
                ภาษิต  คือ  คำพูดที่ถือเป็นคติ คำกล่าวที่มีคติควรฟัง  หมายถึงคำที่นักปราชญ์ท่านกล่าวหรือเรียบเรียงไว้เป็นข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด  บางทีก็มีสัมผัสอักษร    เพื่อเป็นคติสอนใจลูกหลานหรือคนในชาติ และให้กำหนดจดจำได้ง่าย ๆ
                คำประเภท  ภาษิต  หรือ สุภาษิต  นี้ มีอยู่ทั่วไปในทุกชาติทุกภาษา
 สำนวนไทย
                สำนวน  คือ  โวหาร,  ทำนองพูด,  ถ้อยคำที่เรียบเรียง,  ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์  แต่รับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง,  การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นภาษาพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ  หรือหนังสือแบบหนึ่ง ๆ,  ลักษณะนามใช้เรียกข้อความรายหนึ่ง ๆ
                ในฐานะที่ไทยเราเป็นชาติที่เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่ง  ได้มีวัฒนธรรมของตนเองมาหลายพันปีแล้ว คำพูดที่เป็นสำนวนไทยก็คงมีมานานแล้วเช่นเดียวกัน และสำนวนต่างๆเหล่านี้จะมีแปลก ๆ ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาเสมอ ๆ  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการคบหาสมาคมกับชาติต่าง ๆ   สำนวนไทยบางทีก็พูดเป็นทำนองเปรียบเทียบ  เช่น  ขมเหมือนบอระเพ็ด   บาทีก็พูดให้คล้องจองกัน  เช่น    ข้าวยากหมากแพง  บางทีก็เป็นสำนวนซ้ำคำ  เช่น ปากหอยปากปู  หรือเราอาจแปลงรูปคำบางคำในภาษาอื่นให้เป็นเสียงไทย ๆ แล้วใช้เป็นสำนวนที่มีความหมายแบบไทย ๆ เราก็ได้
ความเชื่อโชคลาง
            โชค  คือ   เคราะห์,  คราวดี,  คราวร้าย,  โดยมากใช้ในทางดี
     ลาง  คือ  เครื่องหมายที่ปรากฏให้เห็นอันบอกเหตุร้ายเป็นดี
     เคราะห์  คือ  โชค, คราวดี, คราวร้าย,  โดยมากใช้ในทางร้าย  เช่นฟาดเคราะห์,  คำเรียก
ดาวเฉพาะเก้าดวงว่า  ดาวนพเคราะห์   คือ  อาทิตย์  จันทร์  อังคาร  พุธ  เสาร์ พฤหัสบดี  ราหู  ศุกร์   เกตุ  ซึ่งตามโหราศาสตร์  ถือว่า  ยึดโชคของคน
                ตามวิสัยของมนุษย์ปุถุชน    (คือคนที่ยังมีกิเลสหนาแน่นอยู่)  คนทั่ว ๆ     ไปที่ยังเข้าไม่ถึงสัจธรรม   คือความจริงแท้ของชีวิต  ย่อมจะตกอยู่ในวิสัยแห่งความงมงายด้วยกันทุกคน ไม่มากก็น้อย  ในทางพระพุทธศาสนา  ถือว่าตราบใดที่เรายังเป็นปุถุชนอยู่  เราก็ยังต้องยึดถือในเรื่องโชคเรื่องลางด้วยกันทั้งนั้น  มากบ้างน้อยบ้าง  ตามแต่ภูมิปัญญาของตน  ถ้ามีความเข้าใจซาบซึ้งในเรื่องลางด้วยกันทั้งนั้น   มากบ้างน้อยบ้าง    ตามแต่ภูมิปัญญาของตน  ถ้ามีความเข้าใจซาบซึ้งในสัจธรรมมาก    ความเชื่อถือโชคลาง    ก็จะน้อยลง    ถ้าไม่เข้าใจซาบซึ้งในสัจธรรมหรือเข้าใจเพียงเล็กน้อย  ความเชื่อถือโชคลางก็ย่อมมีมาก  เป็นเงาตามตัว  ความเชื่อถือโชคลางนี้มีอยู่ด้วยกันทุกชาติในโลก  ไม่ว่าจะเป็นชาติที่ป่าเถื่อน  หรือที่เจริญแล้วก็ตาม  แม้แต่ผู้ที่ได้รับการศึกษาทางโลกมาสูง  แต่ถ้าไม่เข้าใจสัจธรรมแล้ว ก็ยังชื่อว่างมงายอยู่ และคงเชื่อถือโชคลางมากพอ ๆ   กับคนที่ไม่ได้รับการศึกษาเหมือนกัน ผู้ที่จะเลิกเชื่อถือโชคลางได้เด็ดขาดจริง  ๆ   ทางพระพุทธศาสนาถือว่าต้องเป็นพระโสดาบันเป็นอย่างต่ำ พระโสดาบันเป็นชื่อพระอริยบุคคลขั้นต้นในพระพุทธศาสนาที่ไม่เชื่อถือโชคลางอีกต่อไปแล้ว
                การตั้งชื่อเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิต เพราะในการตั้งชื่อ ถ้าไม่ตรวจดูให้ดีเสียก่อนชื่อนั้นอาจเป็น “กาลกรรณี”  หรือ  “กาลกิณี”  คือเป็นเสนียดหรือนำโชคร้ายมาให้แก่เจ้าของชื่อได้  จึงถือว่าการให้ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจวาสนาหรือผู้ทรงศีลเป็นผู้ตั้งให้จะเป็นสิริมงคลแก่เด็กต่อไปในชีวิตข้างหน้า     การพิจารณา  วัน  เดือน  ปี ของเด็กในเวลาที่เกิดเป็นเกณฑ์ ถ้าเป็นชายมักนิยมให้ใช้อักษรที่เป็น  “เดช”  เป็นตัวนำหรือตัวออกเสียง    ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีเดชานุภาพเกรียงไกร  มีอำนาจราชศักดิ์  และเกียรติยศยิ่งใหญ่   แล้วใช้อักษรอื่น ๆ  รองลงไปตามความหมายที่ต้องการ ส่วนเด็กผู้หญิงก็นิยมตั้งชื่อด้วยการใช้อักษรที่เป็น  “ศรี”   เพื่อให้เกิดความสง่างามสวยสดสมเพศตน  และใช้เดชและอักษรที่เป็นสิริมงคลอื่น ๆ เป็นตัวประกอบใส่ตามความหมายที่ปรารถนา
 อักษรที่นับว่าเป็นสิริมงคล  มีอยู่ ๗ อย่าง  คือ  เดช  ศรี  อุตสาหะ  มูละ  บริวาร  และอายุ
 ๑. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันอาทิตย์
เดช           คือ   จ     ฉ     ช     ซ     ฌ     ญ                  (ดีทางเกียรติ)
ศรี            “    ฎ     ฏ     ฐ     ฑ    ฒ     ณ                    (ดีทางทรัพย์  ความเจริญ)
มนตรี       “    ย     ร      ล     ว                                     (ดีทางคนรักใคร่)
อุตสาหะ   “    บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม      (ดีทางความเพียร)
มูละ         “    ด     ต     ถ     ท      ธ     น         ทรัพย์สมบัติหรือของ วงศ์ตระกูล)
บริวาร     “    สระทั้งหมด                                (ดีทางบริวารพวกพ้องเพื่อนฝูง)
อายุ         “    ก     ข     ค     ฆ     ง                                 (ดีทางอายุ)
อักษรที่พึงเว้น     “    ศ     ษ     ส     ห     ฬ     ฮ             ถือว่าเป็น  กาลกิณี
๒. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันจันทร์
เดช                         คือ   ฎ     ฏ     ฐ     ฑ     ฒ     ณ    
ศรี                             “    ด     ต     ถ     ท      ธ      น
มนตรี                       “    ศ     ษ     ส     ห     ฬ      ฮ      
อุตสาหะ                                  “    ย     ร      ล     ว                           
มูละ                          “    บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม
บริวาร                      “    ก     ข     ค     ฆ     ง
อายุ                           “    จ     ฉ     ช     ซ     ฌ     ญ           
อักษรที่พึงเว้น        “    สระทั้งหมด                
๓. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันอังคาร
เดช                         คือ   ด     ต     ถ     ท     ธ      น   
ศรี                             “    บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม
มนตรี                       “    สระทั้งหมด                              
อุตสาหะ                  “    ศ     ษ     ส     ห     ฬ     ฮ                
มูละ                          “    ย     ร      ล     ว                       
บริวาร                      “    จ     ฉ     ช     ซ     ฌ     ญ
อายุ                           “    ฎ     ฏ     ฐ     ฑ    ฒ     ณ           
อักษรที่พึงเว้น        “    ก     ข     ค     ฆ     ง        
๔. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันพุธ
เดช                         คือ   บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม
ศรี                             “    ย     ร     ล     ว                         
มนตรี                       “    ก     ข     ค     ฆ     ง             
อุตสาหะ                  “    สระทั้งหมด                                       
มูละ                          “    ศ     ษ     ส     ห     ฬ     ฮ            
บริวาร                      “    ฎ     ฏ     ฐ     ฑ     ฒ    ณ
อายุ                           “    ด     ต     ถ     ท     ธ      น         
อักษรที่พึงเว้น        “    จ     ฉ     ช     ซ     ฌ     ญ                
๕. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันพฤหัสบดี
เดช                         คือ   ศ     ษ     ส     ห     ฬ     ฮ            
ศรี                             “    สระทั้งหมด                                    
มนตรี                       “    ฎ     ฏ     ฐ     ฑ     ฒ    ณ
 อุตสาหะ                 “    จ     ฉ     ช      ซ     ฌ    ญ            
มูละ                          “    ก     ข      ค     ฆ     ง                  
บริวาร                      “    บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม
อายุ                           “    ย     ร      ล     ว                     
อักษรที่พึงเว้น        “    ด     ต     ถ     ท     ธ      น
 ๖. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันศุกร์
เดช                         คือ   ก     ข     ค     ฆ     ง                  
ศรี                             “    จ     ฉ     ช      ซ     ฌ    ญ       
มนตรี                       “    บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม
 อุตสาหะ               “    ด     ต     ถ     ท     ธ     น            
มูละ                          “    ฎ     ฏ     ฐ     ฑ     ฒ     ณ             
บริวาร                      “    ศ     ษ     ส     ห     ฬ      ฮ           
อายุ                           “    สระทั้งหมด                                  
อักษรที่พึงเว้น        “    ย     ร     ล     ว            

 ๗. อักษรที่เป็นสิริมงคลของคนที่เกิดวันเสาร์

เดช                         คือ   ย     ร      ล     ว                       
ศรี                             “    ศ     ษ     ส     ห     ฬ     ฮ            
มนตรี                       “    จ     ฉ     ช     ซ     ฌ     ญ
 อุตสาหะ                 “    ก     ข     ค     ฆ     ง                   
มูละ                          “    สระทั้งหมด                                    
บริวาร                      “    ด     ต     ถ     ท     ธ     น            
อายุ                           “    บ     ป     ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ     ม
อักษรที่พึงเว้น        “    ฎ     ฏ     ฐ     ฑ     ฒ    ณ
                อักษรที่เป็นสิริมงคลและพึงเว้นนั้น หมายถึงตัวที่ออกเสียง  ตัวสะกดซึ่งไม่ออกเสียง ไม่ห้าม  นอกจากนี้นั้นพึงจำไว้ว่า  ผู้ชายถือคำหน้าเป็นเกณฑ์  ผู้หญิงถือคำหลังเป็นเกณฑ์  เช่น คำว่า  “อุดม”  ถ้าเป็นชาย  หมายถึงอักษร   อ  ถ้าเป็นหญิง  หมายถึงอักษร   ด  ส่วนคำที่กล้ำกันเช่น  “ศรี”  ถ้าเป็นชาย  หมายถึงตัว  ศ  ถ้าเป็นหญิงหมายถึงตัว  ร  เป็นต้น
 
ตารางการตั้งชื่อ

วันเกิด

บริวาร

อายุ

เดช

ศรี

มูละ

อุตสาหะ

มนตรี

กาลกีณี

อาทิตย์

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

สระทั้งหมด

ก – ง

จ – ญ

ฎ – ณ

บ – ม

ศ – ฬ

ด – น

ก – ง

จ – ญ

ฎ – ณ

ด – น

ย – ว

สระทั้งหมด

    บ - ม

จ – ญ

ฎ – ณ

ด – น

บ – ม

ศ –ฬ

ก – ง

ย - ว

ฎ – ณ

ด – น

บ – ม

ย – ว

สระทั้งหมด

จ – ญ

ศ - ฬ

ด – น

บ – ม

ย – ว

ศ – ฬ

ก – ง

ฎ – ณ

สระทั้งหมด

บ – ม

ย – ว

ศ – ฬ

สระทั้งหมด

จ – ญ

ด – น

ก – ง

ย – ว

ศ – ฬ

สระทั้งหมด

ก – ง

ฎ – ณ

บ – ม

จ - ญ

ศ -  ฬ

สระทั้งหมด

ก – ง

จ – ญ

ด – น

ย – ว

ฎ – ณ

ตำราบางฉบับก็แยกคนที่เกิดวันพุธกลางคืนเป็นอีกวันหนึ่ง  เรียกว่า  “วันราหู”  โดยถือ “อักษรสิริมงคลของคนที่เกิดวันราหู”  ดังนี้
เดช         คือ     สระทั้งหมด
ศรี             “      ก     ข     ค     ฆ     ง
มนตรี       “      ด     ต     ถ     ท     ธ     น
อุตสาหะ   “      ฎ     ฏ     ฐ     ฑ     ฒ    ณ
มูละ          “      จ     ฉ     ช     ซ     ฌ     ญ
บริวาร      “     ไอ     ย     ร     ล     ว
อายุ           “      ศ     ษ    ส     ฬ     ฮ
กาลกีณี    “      บ     ป    ผ     ฝ     พ     ฟ     ภ  
 ความเชื่อเรื่องวันมงคล
วันคู่มิตรและคู่ศัตรูกัน             
                การเชื่อถือเรื่องโชคชะตาราศี นั้น เป็นเรื่องที่มีอยู่ในแทบทุกชาติทุกภาษา   ไทยเราแม้จะนับถือพระพุทธศาสนา  ซึ่งเป็นศาสนาที่สอนให้ยึดถือในเรื่อง     “กรรม”   คือ   “ทำดี   ได้ดี  ทำชั่ว  ได้ชั่ว”  แต่ถึงกระนั้น  ก็ยังคงมีความเชื่อถือเรื่องโชคลางต่าง ๆ  อยู่เป็นส่วนมาก  แม้ในการที่จะคบหากัน  ก็ยังต้องคำนึงถึงเรื่องวันเดือนปีเกิดอีกด้วย  การที่จะรับใครมาอยู่ด้วย  บางทีก็ต้องพิจารณาว่าคนที่จะมาอยู่ด้วยนั้น    วันเป็นมิตรกันหรือไม่   ถ้าไม่เป็นมิตรกัน  ก็ไม่รับ   เกรงว่าอยู่ด้วยกันแล้วจะเดือดร้อน    ยิ่งวันเป็นศัตรูกันด้วยแล้ว  ยิ่งไม่มีทางจะรับไว้ได้เลย
 วันเป็นมิตรกัน
สิทธิการิยะ  ฯ  เกจิอาจารย์ท่านผูกกลอนสอนสืบต่อกันมาว่าดังนี้
อาทิตย์                              เป็นมิตรกับครู
จันทร์โฉมตรู                               นงเยาว์
ศุกร์ปากหวาน                            อังคารรับเอา
ราหูกับเสาร์                                เป็นมิตรแก่กัน
 ตามกลอนดังกล่าวนี้  ถอดความได้เป็นอย่างดี
วันอาทิตย์                    เป็นมิตรกับ                           วันพฤหัสบดี
วันจันทร์                               “                                     วันพุธ
วันอังคาร                              “                                     วันศุกร์
วันเสาร์                                 “                                     วันพุธ  (กลางคืน)
วันเป็นศัตรูกัน
วันอังคาร                     เป็นมิตรกับ                           วันอาทิตย์             
วันพุธ                                    “                                     วันศุกร์
วันพฤหัสบดี                        “                                     วันจันทร์
วันศุกร์                                  “                                     วันเสาร์     
 วันที่ควรสวมใส่สีชุดเครื่องแต่งกายประจำวัน
                การแต่งกายสีต่าง ๆ  ให้ถูกโฉลกตามลักษณะวันเกิดนั้น  ท่านนิยมใช้กันตามตำราโบราณ ซึ่งผู้หญิงมักจะเข้าใจและสนใจเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ  สุนทรภู่ กวีเอกของไทยได้ผูกกลอนเรื่องการใช้สีเครื่องแต่งกายประจำวันได้ดังนี้
 วันอาทิตย์              สิทธิโชค                          โฉลกดี
เอาเครื่องสี             ดงทรง                              เป็นมงคล
เครื่องวันจันทร์       นั้นควร                              สีนวลขาว
จะยืนยาว             ชันษา                                สถาผล
อังคารม่วง            ช่วงงาม                            สีครามปน
เป็นมงคล             ขัติยา                                เข้าราวี
เครื่องวันพุธ         สุดดี                                  ด้วยสีแสด
กับเหลืองแปด      ปนสลับ                              ระยับสี
วันพฤหัสบดี        จัดเครื่อง                            เขียวเหลืองดี
วันศุกร์สี             ม่วงหมอก                           ออกสงคราม
วันเสาร์ทรง        เครื่องดำ                              จึงนำเลิศ
แสนประเสริฐ      เสี้ยนศึก                               ก็นึกขาม
ทั้งพาชี             ขี่ขับ                                     ประดับงาม
ให้ต้องตาม        สีสัน                                     จึงกันภัย  ฯ
               
หมายเลขบันทึก: 363206เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท