ความหมายของการทุ่มตลาด


การทุ่มตลาดเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการกระทำของหน่วยธุรกิจที่มีฐานทางด้านการเงินการลงทุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าการศึกษาในเรื่งนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการใช้เป็นเครื่องมือของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประเทศไทย
ซึ่งในปัจจุบันนี้ต่างก็เป็นที่ยอมรับกันว่ากระแสแห่งทุนนิยมเป็นกระแสหลักบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ แม้ประเทศใดก็ตามที่ยังไม่พร้อมจะก้าวลงสู่เวทีดังกล่าว แต่ด้วยกฎกติการะหว่างประเทศในปัจจุบันทำให้ประเทศที่ยังไม่พร้อมก็ต้องเข้าสู่สนามการแข่งขันในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การศึกษาถึงมาตรการการป้องกันการทุ่มตลาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วงชิงความได้เปรียบและรักษาใว้ซึ่งความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของประเทศไทย
โดยหลักแล้วในประเด็นการทุ่มตลาดนี้ ถูกกำหนดและเป็นไปตามกรอบกติกาของ "ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรา 6 ของแกตต์ ปี1994" (Agreement on Implementation of Article 6 of GATT 1994)
โดยสาระสำคัญของความตกลงนี้ได้ให้ความหมายของการทุ่มตลาดว่า การที่สินค้าถูกนำเข้ามาเพื่อการพานิชย์ในราคาที่ต่ำกว่าค่าปกติ กล่าวคือ
1)ถ้าราคาส่งออกจากประเทศผู้ส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้า ต่ำกว่าราคาที่พอจะเปรียบเทียบได้ในทางการค้าปกติของสินค้าที่คล้ายคลึงกันนั้น ที่ขายเพื่อการบริโภคภายในประเทศผู้ส่งออก
2)ถ้าไม่มีการขายเช่นนั้นในประเทศผู้ส่งออกหรือมีแต่เป็นปริมาณน้อยมาก ทำให้ไม่สามารถหาราคาเปรียบเทียบที่เหมาะสมได้ ให้เอาราคาที่ส่งออกไปยังประเทศที่สามมาเปรียบเทียบกับราคาที่ส่งออก หรือให้เอาราคาที่สร้างขึ้นมาเปรียบเทียบกับราคาส่งออก
3)กรณีไม่มีราคาส่งออกหรือมีแต่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะผู้ส่งออกและผู้นำเข้ามรความสำพันธ์ไกล้ชิดกันหรือผู้ส่งออกมีความสำพันธ์กับประเทศที่สาม ราคาส่งออกให้คิดจากราคาที่มีการซื้อขายสินค้ากันเป็นครั้งแรกให้กับผู้ซื้อรายบุคคล
4)ในกรณีที่ไม่ได้มีการนำเข้าสินค้าโดยตรงจากประเทศผู้ผลิต แต่มีการส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้าโดยผ่านทางประเทศตัวกลาง หากมีการผลิตเพิ่มเติมในประเทศตัวกลาง ให้เอาราคาสินค้าที่ส่งออกจากประเทศผู้ส่งออก(ประเทศตัวกลาง)ไปยังประเทศผู้นำเข้ามาเปรียบเทียบกับราคาที่พอจะเปรียบเทียบได้ในประเทศผู้ส่งออก(ประเทศตัวกลาง) แต่ในกรณีไม่มีการผลิตเพิ่มเติมเพียงแต่นำสินค้านั้นถ่ายเรือ ให้เอาราคาที่ส่งออกจากประเทศผู้ส่งออกเปรียบเทียบกับราคาในประเทศผู้ผลิต
ทั้งนี้เมื่อพิสูจน์ได้ว่ามีการทุ่มตลาด และการทุ่มตลาดนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย หรือคุกคามที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสหกรรมภายในประเทศผู้นำเข้าที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันนั้นที่นำเข้า หรือก่อให้เกิดความชะงักงันต่อการตั้งตัวได้ของอุตสาหกรรมนั้น ปรเทศผู้นำเข้ามีสิทธิเก็บภาษีเพื่อตอบโต้เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเก็บได้เพื่อเยียวยาความเสียหายเท่านั้นแต่ไม่เกินส่วนเหลื่อมของการทุ่มตลาด
หมายเลขบันทึก: 36290เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท