ปรัชญา


คำสอนของศาสนาอิสลาม ปัจจัยสำคัญของปรัชญาอิสลามคือ การใช้ความคิดอิสระโดยไม่ยึด

ปรัชญาอิสลาม

ชีวิตของชาวอาหรับก่อนอิสลาม

คาบสมุทรอาหรับ

                คาบสมุทรอาหรับตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ผู้ที่อาศัยอยู่ในแถบนี้เรียกดินแดนนี้ว่าเกาะอาหรับ (   جَزِيْرَةُ الْعَرَبِ   ) แม้ว่าจะไม่มีทะเลล้อมรอบทุกด้านก็ตาม นักประวัติศาสตร์มีความคิดเห็นแตกต่างกันในการกำหนดอาณาเขตของคาบสมุทรอาหรับ บางทัศนะกล่าวว่าเกาะอาหรับตั้งอยู่ระหว่างอ่าวเปอร์เซียและอ่าวอะกอบะฮ์ แต่บางทัศนะได้นับรวมดินแดนอิรักและชาม(ซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์ และจอร์แดน) เข้าไปด้วย

                คาบสมุทรอาหรับส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายมีความแห้งแล้ง ฝนตกน้อย แหล่งน้ำใต้ดินค่อนข้างหายาก นอกจากพื้นที่ติดชายทะเลจะมีฝนตกในปริมาณพอสมควร มีต้นไม้ขึ้นเขียวขจี ชาวอาหรับก่อนอิสลามแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1-      อาหรับชาวเมือง มีจำนวนน้อย อาศัยอยู่ภายในบ้านเรือน ประกอบอาชีพค้าขาย เกษตรกรรม  และอุตสาหกรรม พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ภายในเมืองและหมู่บ้าน เมืองสำคัญในแคว้นฮิญาซ ได้แก่ มักกะฮฺ ยัษริบ (มะดีนะฮฺ) ฏออิฟ และมีผู้อาศัยอยู่ในเมืองอื่น เช่น ศอนอาอฺในประเทศเยเมนในปัจจุบัน ชาวอาหรับส่วนมากอยู่ภายใต้การปกครองของอาญาจักรมะนาศิเราะฮฺ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอาหรับ โดยเป็นกันชนของอาณาจักรเปอร์เซีย และอาณาจักรเฆาะซาซีนะฮฺซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอาหรับ โดยเป็นกันชนของอาณาจักรโรมัน และมีอาณาจักรกินดะฮฺอยู่ระหว่างสองอาณาจักร

                                อาหรับชาวเมืองที่มีชื่อเสียงได้แก่ เผ่ากุร็อยชฺซึ่งมีอาชีพค้าขาย กองคารวานของพวกเขาได้รับการปกป้องความปลอดภัยจากเผ่าต่างๆ เพราะทุกเผ่าต้องพึ่งพิงเผ่ากุร็อยชฺ การค้าขายของเผ่ากุร็อยชฺมี 2 ช่วงคือ ช่วงฤดูหนาวได้เดินทางไปค้าขายยังประเทศเยเมน และในฤดูร้อนเดินทางไปค้าขายยังประเทศชาม

2-      อาหรับชนบท ใช้ชีวิตเร่ร่อนในทะเลทราย เพื่อหาทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ อาหารหลักคือ น้ำนมและเนื้อสัตว์ อาหรับชนบทไม่ชอบการตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง ไม่ชอบอุตสาหกรรม มีความรักต่อเผ่า โดยให้การช่วยเหลือแก่สมาชิกภายในเผ่า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกอธรรมหรือเป็นผู้อธรรมก็ตาม สตรีอาหรับก่อนอิสลามบางคนมีความสามารถ มีสติปัญญาปราดเปรื่อง และมีส่วนร่วมในการประกอบอาชีพ  

จริยธรรมของชาวอาหรับก่อนอิสลาม

                ชาวอาหรับก่อนอิสลามมีจรรยามารยาทที่ดีงามซึ่งตรงกับคำสอนของศาสนาอิสลาม ขณะเดียวกันก็มีการปฏิบัติที่ไม่ดีงามซึ่งศาสนาอิสลามปฏิเสธ ส่วนหนึ่งจากจรรยามารยาทที่ดีงาม เช่น การมีสัจจะ มีความซื่อสัตย์ โอบอ้อมอารี มีความยุติธรรม มีความกล้าหาญ สงบเสงี่ยม ให้เกียรติแก่แขก ใจบุญ เป็นต้น ส่วนการปฏิบัติที่ศาสนาอิสลามปฏิเสธ เช่น การดื่มสุรา เล่นการพนัน คดโกง กินดอกเบี้ย ปล้นสดมภ์ หลงใหลในเผ่า ฝังลูกสาวทั้งเป็น เป็นต้น

 

ศาสนาของชาวอาหรับ

                ชาวอาหรับส่วนใหญ่บูชาเจว็ด รูปเจว็ดสำคัญที่บูชาคือ ลาต อุซซา มานาต ฮุบัล นอกเหนือไปจากเจว็ดที่พวกเขานำไปตั้งไว้รอบกะอฺบะฮฺ ซึ่งมีมากกว่า 360 รูป และที่พวกเขาเก็บรักษาไว้ในบ้าน บางคนนำเอาผลอินทผาลัมสุกมาเป็นรูปเจว็ดเพื่อบูชา เมื่อหิวก็กินมัน

                ชาวอาหรับบางคนบูชาดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ บางคนก็บูชาไฟ มีชาวอาหรับจำนวนน้อยที่นับถือศาสนายิวและศาสนาคริสต์ มีบางคนที่เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺองค์เดียวตามแนวทางของท่านนบีอิบรอฮีมบุคคลเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นพวก “หะนีฟียะฮฺ” เช่น  ก็อส อิบนิซาอิศดะฮ์ , วะเราะเกาะฮ์ อิบนิเนาฟัล , อบูบักรอัศ-ศิดดีก นบีมุฮัมมัด  

 

วิชาการของชาวอาหรับก่อนอิสลาม

                ชาวอาหรับก่อนอิสลามมีความรู้และวัฒนธรรมค่อนข้างจำกัด ซึ่งเหมาะสมกับการใช้ชีวิตในทะเลทราย ชาวอาหรับจำนวนมากอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ความรู้ของชาวอาหรับก่อนอิสลามได้แก่

1-      ความรู้ทางด้านวรรณกรรม ชาวอาหรับมีคำพูดที่ฉะฉาน มีความสามารถในการแต่งโคลงกลอน

คัมภีร์อัลกุรอานได้ท้าทายพวกเขาทางด้านวรรณกรรม ดังที่ปรากฎในอัล-กุรอานว่า

bÎ)ur öNçFZà2 ’Îû 5=÷ƒu‘ $£JÏiB $uZø9¨“tR 4’n?tã $tRωö7tã (#qè?ù'sù ;ou‘qÝ¡Î/ `ÏiB ¾Ï&Î#÷VÏiB (#qãã÷Š$#ur

Nä.uä!#y‰ygä© `ÏiB Èbrߊ «!$# cÎ) öNçFZä. tûüÏ%ω»|¹ ÇËÌÈ

 

ความว่า “และหากสูเจ้าทั้งหลายมีความสงสัยในสิ่งที่เรา(อัลลอฮ์)ประทานลงมายังบ่าวของเรา ดังนั้น พวกสูเจ้าจงนำมาสักสูเราะฮฺหนึ่งอย่างเช่นอัล-กุรฺอ่าน โดยพวกสูเจ้าจงชักชวนพรรคพวกของสูเจ้านอกจากอัลลอฮฺมาร่วมด้วย  ถ้าหากว่า พวกสูเจ้าเป็นผู้สัจจริง”

(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ  อายะฮฺที่ 23)

2-      การแพทย์ ชาวอาหรับก่อนอิสลามรักษาโรคโดยใช้สมุนไพร และการนาบด้วยเหล็กที่ร้อน

บางครั้งรักษาโดยวิธีทางไสยศาสตร์ การทำนายโชคชะตา การสะเดาะเคราะห์ การทำตะกรุด ผ้ายันต์ การประพรมน้ำมนต์

3-      วิชาการสืบสายสกุล ชาวอาหรับมีความสามารถจดจำสายสกุลของพวกเขาได้จนถึงต้นตระกูล

4-      วิชาไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ขัดต่อบทบัญญัติอิสลาม เพราะเป็นการแสดงถึง

ความรู้ในอนาคตและสิ่งเร้นลับ ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ได้นอกจากอัลลอฮ์องค์เดียว

5-      วิชาดาราศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา ชาวอาหรับมีความรู้เกี่ยวกับการโคจรของดวงดาว ทิศทาง

ลม การเคลื่อนตัวของก้อนเมฆ  ซึ่งใช้นำทางในยามค่ำคืน กำหนดเส้นทางเดิน รู้ถึงกำหนดเวลาออกเดินทาง  รู้ถึงกำหนดเวลาที่ฝนตก และฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล อิสลามปฏิเสธการทำนายโชคชะตาด้วยดวงดาว เพราะเป็นการแสดงถึงการหยั่งรู้สิ่งเร้นลับและอนาคต

จากความรู้เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ชาวอาหรับไม่มีความรู้ทางปรัชญา แม้ว่าพวกเขาจะใช้ความคิด และมีบุคคลที่มีสติปัญญาปราดเปรื่องก็ตาม

 

ความหมายของปรัชญาอิสลาม

                การถ่ายทอดทางด้านอารยธรรมระหว่างชนชาติต่างๆในอดีตมีอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เนื่องจากการติดต่อค้าขาย การแผ่ขยายดินแดนระหว่างอาณาจักรต่างๆ จึงทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องของเทพเจ้า วิญญาณ การเกิดโลกและจักรวาลได้เกิดขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น บางครั้งก็นำประโยชน์ บางครั้งก็นำเอาความพินาศและความหายนะมาให้กับมนุษย์ โดยเฉพาะในคาบสมุทรอาหรับ นอกเหนือไปจากการสืบทอดมรดกทางอารยธรรมจากชนชาติโบราณในดินแดนเมโสโปเตเมีย(Mesopotamia) ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำยูเฟรติสกับแม่น้ำไทกริสในอิรัก ปัจจุบันอันได้แก่อารยธรรมของชนชาติสุเมเรียน (Sumerians) บาบิโลน (Babylnia) ชนชาติอัซซีเรีย(Asseria) ชนชาติแคลเดีย(Chaldia) อารยธรรมของพวกฟาโรห์(Pharaoh) แห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ อารยธรรมเปอร์เซีย กรีกโบราณ จีน อินเดีย เป็นต้น

                จากการสืบทอดทางความคิดเช่นนี้ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างมากมาย ทั้งด้านการศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และด้านศาสนา  ชาวอาหรับมีแนวความคิดในการค้นหาสิ่งที่เป็นสัจธรรมขั้นสูงสุดว่า อะไรคือจริยธรรม อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว ต้นกำเนิดของจักรวาลมีความเป็นมาอย่างไร  จุดจบของจักรวาลจะเป็นอย่างไร สิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดอย่างไร บั้นปลายของชีวิตมนุษย์เป็นอย่างไร ปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร อำนาจแฝงเร้นที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆมีหรือไม่ การมีความคิดอันมีที่มาจากพื้นฐานแห่งความประหลาดใจความสงสัย เรียกว่าความคิดทางปรัชญา เรียกเป็นภาษาอาหรับว่า “ฟัลสะฟะฮฺ” ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันในชาวอาหรับสมัยก่อน แต่พวกเขาจะเรียกการมีแนวคิดแบบนี้ว่า “ฮิกมะฮฺ” แปลว่า ปัญญาวุฒิ (wisdom)

                คำว่า ฮิกมะฮฺ ในภาษาอาหรับยังมีความหมายอื่นอีก เช่น ความรอบรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ดังที่ปรากฏในอัล-กุรฺอานว่า

’ÎA÷sムspyJò6Åsø9$# `tB âä!$t±o„ 4 `tBur |N÷sムspyJò6Åsø9$# ô‰s)sù u’ÎAré& #ZŽöyz #ZŽÏWŸ2 3      ÇËÏÒÈ

                ความว่า“อัลลอฮฺทรงประทานความรู้แก่ผู้ที่ทรงประสงค์ และผู้ใดที่ได้รับความรู้ แน่นอนเขาได้รับความดีอย่างมากมาย” 

(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ ที่269)

 สมัยอาณาจักรอะมะวียะฮฺ (ค.ศ. 661-750) เริ่มมีการแปลตำราจากภาษาอื่นเป็นภาษาอาหรับบ้างแล้ว แต่ในสมัยเคาะลีฟะฮฺอัล-มะอฺมูน แห่งอาณาจักรอับบาสียะฮฺ(ค.ศ.813-833) มีการใช้คำว่า  “ฟัลสะฟะฮฺ” จากภาษากรีกแปลว่า ปรัชญา แทนคำว่า “ฮิกมะฮฺ” เรียกนักปรัชญาว่า “ฟัยละสูฟ” มุสลิมจึงศึกษาปรัชญากรีก ควบคู่ไปกับบทบัญญัติอิสลาม  นักปรัชญามุสลิมจึงให้คำจำกัดความปรัชญาโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติอิสลาม

-          อัล-กินดียฺ ให้คำจำกัดความปรัชญาว่า ปรัชญาคือความรู้แห่งปฐมสัจจะ ซึ่งเป็นสาเหตุของทุก

สัจจะ

-          อัล-ฟารอบียฺ ให้คำจำกัดความปรัชญาว่า ปรัชญาคือความรู้เกี่ยวกับภาวะทั้งหลายตามที่มีอยู่

-          อิบนุ สีนา ให้คำจำกัดความปรัชญาว่า ปรัชญาคือ จิตสมบูรณ์ของมนุษย์ในการมโนภาพและการยืนยันถึงข้อเท็จจริงทางทฤษฎีและปฏิบัติ

-          อิบนุ รุชดฺ ให้คำจำกัดความปรัชญาว่า ปรัชญาคือ การมีความรู้เกี่ยวกับอัลลอฮฺและการรู้จักพระองค์อย่างแท้จริง

-          นักปรัชญาอีกท่านหนึ่งได้ให้คำจำกัดความปรัชญาอิสลามไว้ว่า ปรัชญาอิสลามคือ ปรัชญาที่มี

รากฐานมาจากบทบัญญัติอิสลามโดยพิจารณาเกี่ยวกับจักรวาล   การสร้างสรรค์และชีวิต

 

ที่มาของปรัชญาอิสลาม

                ถ้าหากพิจารณาดูคำนิยามปรัชญาอิสลามแล้วจะพบว่า ศาสตร์ในปรัชญาอิสลามได้มีการค้นคว้าถึงการสร้างสรรค์จักรวาลและชีวิตอย่างครอบคลุม ด้วยกระบวนการคิดพิจารณาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถค้นพบสัจธรรมและสร้างสรรค์ผลงานทางด้านอารยธรรมอย่างมากมาย และพยายามใช้แนวทางอิสลามในการศึกษาปรัชญา แทนการใช้วิธีการของปรัชญากรีก   ดังนั้นปรัชญาอิสลามจึงมีที่มา ดังนี้

1-      แนวความคิดของปรัชญากรีก

2-      คำสอนของศาสนาอิสลาม

3-      ความสัมพันธ์ของมุสลิมกับศาสนิกอื่น 

 

1-      แนวความคิดของปรัชญากรีก               ปรัชญากรีกมีอิทธิพลต่อปรัชญาอิสลามอย่างไม่อาจ

ปฏิเสธได้ แม้ว่านักวิชาการบางคนจะไม่ยอมรับปรัชญากรีกก็ตาม

แนวคิดทางปรัชญาเกิดจากความต้องการในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เพราะว่ามนุษย์ในสมัยโบราณไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น จึงเกิดความสงสัยว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร จากความสงสัยนี้  ทำให้เกิดการสังเกต การวิเคราะห์สาเหตุและค้นหาข้อมูลเท่าที่สามารถหามาได้ จึงนำมาสรุปในคำอธิบายถึงสมมติฐานในแนวคิด ชาวกรีกจัดได้ว่าเป็นชนชาติหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่พยายามค้นคว้า อธิบายหาเหตุผล เพื่อสืบค้นความจริงที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ  นับได้ว่าชนชาติกรีกโบราณเป็นผู้บุกเบิกวิชาความรู้ด้านปรัชญาจนพัฒนามาเป็นศาสตร์สาขาต่างๆ

ปรัชญากรีกเริ่มต้นในยุคของธาเลสแห่งมิเลตุส(Thales of miletus 624 – 548 ก่อน ค.ศ.)จนถึงยุคที่จักรพรรดิจัสติเนียนมีคำสั่งให้ปิดสำนักปรัชญา และห้ามเรียนปรัชญาในเมืองเอเธนส์ปี ค.ศ. 529 ถ้าจะแบ่งยุคของปรัชญากรีกโบราณก็สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ

ช่วงแรก ยุคก่อนโสเครติส   เป็นช่วงที่มีการศึกษาธรรมชาติของจักรวาล สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นจักรวาลและพยายามค้นหาถึงสมมติฐานที่ประกอบขึ้นเป็นจักรวาลและโลกดังที่ปรากฏอยู่ แม้ว่านักปรัชญาจะมีความเห็นแตกต่างกันในการกำหนดรากฐานของโลก เช่น

ธาเลส (Thales of miletus 624 – 548 ก่อน ค.ศ.) กล่าวว่า น้ำคือปฐมธาตุของโลก

อแนกซิแมนเดอร์(Anaximander 610 – 545 ก่อน ค.ศ.) กล่าวว่า ปฐมธาตุของโลกคืออนันต์ไร้รูป อแนกซิเมเนส(Anaximenes 588 – 528 ก่อน ค.ศ.) กล่าวว่าอากาศเป็นมวลสารพื้นฐานของสิ่งทั้งหลาย

พิธาโกรัส(Pythagoras 582 – 517 ก่อน ค.ศ. ) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ กล่าวว่า จำนวนทำให้เกิดสรรพสิ่งในจักรวาล 

เอ็มพิโดลิส(Empedocles 492 – 430 ก่อน ค.ศ.) กล่าวว่า ปฐมธาตุมี 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ดิโมคริตุส (Democritus 460 – 370 ก่อน ค.ศ.) กล่าวว่า ส่วนย่อยของเนื้อสารคือ ปรมาณู(Atom)

สรุปแล้วนักปรัชญาในยุคนี้ให้ความสนใจในจักรวาลตามธรรมชาติเป็นสาระในการใช้ความคิด

ช่วงที่ 2 ยุคโซฟิสท์และโสเครติส(Sophists and Socrates) ประมาณศตวรรษที่ 4 ก่อนค.ศ. นักปรัชญาบางคนกล่าวว่ายุคนี้เป็นยุครุ่งเรือง เป็นการยกระดับความคิดของชาวกรีกโดยเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติมาเป็นความสนใจต่อมนุษย์ ในยุคนี้วิชาตรรกวิทยา จริยธรรม และจิตวิทยาเริ่มปรากฏขึ้นพร้อมกับการปรากฏตัวของพวกโซฟิสท์ (Sophists) ซึ่งเป็นกลุ่มที่พยายามสร้างความสับสนให้สังคมด้วยการใช้คารมและวาทะ ผู้ที่มีชื่อเสียงจากพวกโซฟิสท์  ได้แก่  โปรตาโกราส (Protagoras 485 – 411 ก่อน ค.ศ.) เขากล่าวว่า “มนุษย์คือเครื่องวัดทุกสิ่ง” (Man is the measure of all things) หมายความว่า มนุษย์แต่ละคนคือ ผู้ที่คิดว่าสิ่งนี้ถูกหรือสิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ดีสิ่งนี้เลว เกิดจากตัวของเขาเอง เรียกว่าความถูกผิด ดีชั่ว เป็นไปตามความคิดของแต่ละคนไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนในการวัด ทัศนะเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ทำให้โสเครติส(Socratos 469 – 399 ก่อน ค.ศ.)   นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงได้วางมาตรฐานทางจริยธรรมในการตัดสิน

โสเครติสมีความเห็นว่า ความจริง ความดี ความงาม เป็นพฤติกรรมที่จะต้องมีแบบมาตรฐานแน่นอนเป็นเครื่องวัด ซึ่งเกิดจากจิตใจของบุคคลที่เป็นธรรม โสเครติสจึงเป็นนักปรัชญาผู้ริเริ่มตั้งจริยศาสตร์ เขามีความเห็นว่า การค้นคว้าหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า โลกคืออะไร มีประโยชน์น้อยจึงหันมาสนใจเรื่องใกล้ตัวคือเรื่องมนุษย์ โดยการตั้งคำถามว่า คนคืออะไร จะเป็นคนดีได้อย่างไร เกียรติคืออะไร คุณธรรมคือะไร  สรุปแล้วโสเครติสพูดถึงจริยศาสตร์เป็นส่วนใหญ่  เพื่อให้เห็นคุณค่าของความจริง ความงามและความดี เพราะทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นแก่นสารสำคัญที่สุด ของความเป็นมนุษย์

โสเครติสเป็นผู้ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ เขาถูกกล่าวหาว่ายุยงให้ก่อความไม่สงบและถูกประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษจากต้นเฮมล็อค(Hemlock) เขายอมรับคำพิพากษาโดยดี แม้ว่าจะมีผู้ต้องการช่วยให้หลบหนีก็ตาม โดยกล่าวว่า “ความจริงย่อมไม่หนีหาย ยอมตายดีกว่าทรยศต่อความจริง”

ลูกศิษย์คนสำคัญของโสเครติสคือ เพลโต (Plato 427 – 347 ก่อน ค.ศ.) ผู้วางระบบปรัชญาโดยแบ่งออกเป็นอภิปรัชญา ตรรกวิทยา และจริยศาสตร์

เพลโตกล่าวว่า แก่นสารหรือสัจภาพหรือมโนคติเป็นสิ่งสัมผัสไม่ได้ การมีอยู่ของมันไม่เกี่ยวข้องกับสะสาร นอกจากนั้นยังกำหนดให้สุนทรียศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา

อริสโตเติล(Aristotle 384 – 322 ก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาที่ทำให้ปรัชญามีความรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เป็นผู้ทำให้เนื้อหาของปรัชญาประมวลถึงปรัชญาทั่วไป ญาณวิทยา ตรรกวิทยา ธรรมชาติวิทยา จริยศาสตร์   รัฐศาสตร์ ส่วน อริสโตเติลเรียกปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอภิปรัชญาว่า ปรัชญาแท้จริง ดังนั้นปรัชญาในความหมายเฉพาะคือ วิชาที่ว่าด้วยการค้นคว้าถึงปฐมเหตุของสิ่งและรากฐานของมัน

ช่วงที่ 3 หลังยุคอริสโตเติล เป็นช่วงระหว่าง ปี 322 ก่อน ค.ศ. ถึงปี ค.ศ. 529 ในช่วงนี้เป็นช่วงตกต่ำของปรัชญากรีก เพราะได้มุ่งเน้นการศึกษาเฉพาะในบางส่วนของปรัชญา เช่นจริยธรรมของมนุษย์และความผาสุกความประเสริฐของจริยธรรม แทนการศึกษาปรัชญาในภาพรวม คืออภิปรัชญา ญาณวิทยา คุณวิทยา

2-      คำสอนของศาสนาอิสลาม ปัจจัยสำคัญของปรัชญาอิสลามคือ การใช้ความคิดอิสระโดยไม่ยึด

ติดกับประเพณี ความเชื่อใดๆ  อัลลอฮฺทรงใช้ให้มนุษย์คิดพิจารณาไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใด ขณะเดียวกันห้ามเชื่อหรือเลียนแบบโดยไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ ดังที่ปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

žcÎ) ’Îû È,ù=yz ÏNºuq»yJ¡¡9$# ÇÚö‘F{$#ur É#»n=ÏF÷z$#ur È@øŠ©9$# ͑$pk¨]9$#ur ;M»tƒUy ’Í<'rT[{ É=»t6ø9F{$# ÇÊÒÉÈ  

“แท้จริงในการสร้างฟ้าและแผ่นดิน ความแตกต่างระหว่างกลางคืนและกลางวัน คือ สัญญาณทั้งหลายสำหรับบรรดาผู้มีปัญญา” 

(สูเราะฮฺ อาลิอิมรอน อายะฮ์ที่ 190)

óOs9urr& (#rãÝàZtƒ ’Îû ÏNqä3n=tB ÏNºuq»yJ¡¡9$# ÇÚö‘F{$#ur $tBur t,n=y{ ª!$# `ÏB &äóÓx« ÇÊÑÎÈ        

“พวกเขามิได้พิจารณาถึงอำนาจทั้งหลายแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินและสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้างหรือ”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 185)

Ÿxsùr& tbrãÝàYtƒ ’n<Î) È@Î/M}$# y#ø‹Ÿ2 ôMs)Î=äz ÇÊÐÈ   ’n<Î)ur Ïä!$uK¡¡9$# y#ø‹Ÿ2 ôMyèÏù①ÇÊÑÈ   ’n<Î)ur ÉA$t6Ågø:$# y#ø‹x. ôMt6ÅÁçR ÇÊÒÈ   ’n<Î)ur ÇÚö‘F{$# y#ø‹x. ôMysÏÜߙ ÇËÉÈ  

 “พวกเขามิได้พิจารณาหรือว่า อูฐถูกสร้างอย่างไร ฟากฟ้า ถูกยกอย่างไร บรรดาภูเขาถูกตั้งตระหง่านอย่างมั่นคงอย่างไร และแผ่นดินว่ามันถูกแผ่ราบอย่างไร”

(สูเราะฮฺอัล-ฆอชียะฮฺ อายะฮ์ที่ 17 – 20 )

 

อัล-กุรอานมีทั้งหมด 30 ยุซอฺ แบ่งเป็น 114 สูเราะฮฺ จำนวน 6236 อายะฮฺ อัลลอฮฺตรัสถึงจักรวาล ฟากฟ้า โลกนี้ แผ่นดิน ภูเขา ทะเล แม่น้ำ สัตว์ ต้นไม้ กลางวัน กลางคืน พายุ ฝน ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง  และช่วงชีวิตของมนุษย์มากกว่า 250 อายะฮฺ เพื่อให้มนุษย์ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ ในขณะเดียวกันอัลลอฮ์ทรงตำหนิผู้ที่ไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ ดังปรากฎในอัล-กุรฺอาน ว่า

ô‰s)s9ur $tRù&u‘sŒ zO¨YygyfÏ9 #ZŽÏWŸ2 šÆÏiB Çd`Ågø:$# ħRM}$#ur ( öNçlm; Ò>qè=è% žw šcqßgs)øÿtƒ $pkÍ5 öNçlm;ur ×ûãüôãr& žw tbrçŽÅÇö7ム$pkÍ5 öNçlm;ur ×b#sŒ#uä žw tbqãèuKó¡o„ !$pkÍ5 4 y7Í´¯»s9'ré& ÉO»yè÷RF{$%x. ö@t/ öNèd ‘@|Êr& 4 y7Í´¯»s9'ré& ãNèd šcqè=Ïÿ»tóø9$# ÇÊÐÒÈ  

 

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

 

#sŒÎ)ur Ÿ@ŠÏ% ãNßgs9 (#qãèÎ7®?$# !$tB tAt“Rr& ª!$# (#qä9$s% ö@t/ ßìÎ7®KtR $tB $tRô‰y`ur Ïmø‹n=tã !$tRuä!$t/#uä 4 öqs9urr& tb%Ÿ2 ß`»sÜø‹¤±9$# öNèdqããô‰tƒ 4’n<Î) É>#x‹tã ΎÏè¡¡9$# ÇËÊÈ 

ความว่า“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”   

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

ดังนั้นการเลียนแบบโดยไม่ใช้สติปัญญา และการเชื่อโดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง ทำให้ไม่มีการพัฒนาทางสมอง ขาดความคิดสร้างสรรค์

นบีมุฮัมมมัด ศ็อลฯ เป็นตัวอย่างในการใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองและวิเคราะห์สากลจักรวาลเพื่อค้นหาปฐมเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น เมื่อครั้งที่เกิดสุริยุปราคาซึ่งเป็นวันเดียวกับอิบรอฮีมบุตรชายของท่านนบีเสียชีวิต ทำให้ประชาชนทั้งหลายโจษขานกันว่า เป็นสาเหตุเนื่องจากการตายของอิบรอฮีม ท่านนบีจึงกล่าวว่า

“แท้จริง   ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็น 2 สัญญาณจากสัญญาณต่างๆของอัลลอฮฺ มันมิได้เกิดการบดบังกันเนื่องจากการตายหรือการมีชีวิตของคนใดคนหนึ่ง”         

บันทึกโดย บุคอรียฺ(1058)มุสลิม (903)

จากอบูซัร กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า

จากอิบนิอับบาส รฎิฯ กล่าวว่า ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลฯ กล่าวว่า

                “ท่านทั้งหลายจงพิจารณาสิ่งที่ถูกสร้าง จงอย่าพิจารณาผู้สร้าง เพราะท่านทั้งหลายไม่สามารถล่วงรู้ถึงเดชานุภาพของพระองค์”

บันทึกโดยอบูเชค เลขที่ 10505

                จากอัล-กุรอานและอัล-หะดีษดังกล่าว ส่งเสริมให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริงแต่อย่างใด

3-      ความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับศาสนิกอื่น   ยุคก่อนอิสลามชาวอาหรับติดต่อสัมพันธ์กับ

ประชาชาติต่างๆ เช่น   ชาวอิยิปต์  ชาวโรมัน  ชาวเปอร์เซีย ชาวกรีก ชาวอินเดีย โดยการเดินทางติดต่อค้าขายระหว่างกัน ทำให้ได้รับวัฒนธรรม  ประเพณี แนวความคิด ด้านการปกครอง ด้านการประกอบอาชีพ และด้านการศึกษา จึงทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดจากชนชาติต่างๆมาผสมผสานในบางส่วนของปรัชญาอิสลาม

อย่างไรก็ตามหลักความเชื่อและหลักความคิดในอิสลามมีอิทธิพลและเป็นป้อมปราการที่สำคัญคอยกำกับและปกป้องมิให้นักปรัชญาอิสลามมีความคิดนอกกรอบ โดยให้ความสำคัญต่อหลักปรัชญาอื่นเหนือบัญญัติอิสลาม

                 

 

กิจกรรม

1-      นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงชีวิตของชาวอาหรับก่อนอิสลาม

2-      นักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับความรู้ของชาวอาหรับก่อนอิสลาม

3-      นักเรียนวิเคราะห์ คำว่า “ฮิกมะฮฺ” มีความเกี่ยวข้องกับปรัชญาอิสลามอย่างไร

4-      นักเรียนอภิปรายที่มาของปรัชญาอิสลาม

5-      คำสอนของศาสนาอิสลามส่งเสริมให้ใช้ความคิดและความเชื่อที่ถูกต้องอย่างไร

 

 ข้อมูล  ร่างหนังสือปรัชญาอิสลาม

หมายเลขบันทึก: 362564เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2010 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)
นางสาวแสงตะวัน มะหะมาน

อิสลามสอนให้มนุษย์ใช้เหตุผล ใช้ปัญญา และสามัญสำนึกในการแสวงหาพระเจ้า อิสลามจะไม่สอนให้มนุษย์ศรัทธาพระเจ้าด้วยวิธีงมงาย หรือใช้วิธีการรอปาฏิหาริย์เพื่อพิสูจน์ว่าพระเจ้ามีจริง แต่อิสลามจะสอนให้มนุษย์ได้ใช้ปัญญาพิจารณาธรรมชาติ ให้ใคร่ครวญอย่างหนักว่าใครคือผู้สร้าง ใครคือผู้ที่ควรแก่การถูกสักการะบูชา ให้ใคร่ครวญอย่างหนักว่าศาสนาไหนกันแน่ที่เป็นสัจธรรม ไม่ใช่สักแต่เพียงหลับหูหลับตานับถือศาสนาหรือความเชื่อตามบรรพบุรุษปู่ย่าตายาย

กมลวรรณ ปรีกมล ม.6/1 เลขที่ 20

ส่งเสริมให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง ไม่เชื่อโดยใช้จินตนาการ หรือการคาดเดา ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตามโดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริง

ชวัลย์รัตน์ ม่านโคกสูง

ส่งเสริมให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริงแต่อย่างใด

ส่งเสริมให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริง

ส่งเสริมให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริง

ส่งเสริมให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริง

นางสาวณัฏฐา บูรณะศิลป์ 601 เลขที่ 21

~~~บิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรรอฮีม~~~

อัลอิสลามสอนให้มนุษย์รูจักคิด รู้จักใช้ปัญญาในการไตร่ตรองความจริงที่ปรากฏตามหลักฐาน บนพื้นฐานของกิติบุลลอฮฺ

และซุนนฮฺไม่ใช่ให้จินตนาการคิด นึกเอาเองตามใจชอบ การที่นึกเอาเองตามใจชอบไม่ว่าจะเป็นอัลลอฮฺมีลักษณะอย่างไร อัลลอฮฺอยุที่ไหน ทำไมเราต้องอย่างนุนทำไมเราต้องทำอย่างนี้ ล้วนเป็นความผิดทั้งสิ้น

+++ อิสลามเป็นศาสนาที่ละเอียดอ่อ+++

(รู่วัยดา) ณัฎฐา บูรณะศิลป์ 601 เลขที่ 21

วัสลาม

อิสลาม สอนให้มนุษย์พิจารณาไตร่ตรองจากสิ่งที่ถูกสร้างตามหลักฐานที่ปรากดไว้ เช่นหลักฐานที่ว่า“ท่านทั้งหลายจงพิจารณาสิ่งที่ถูกสร้าง จงอย่าพิจารณาผู้สร้าง เพราะท่านทั้งหลายไม่สามารถล่วงรู้ถึงเดชานุภาพของพระองค์” ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริง

ศาสนาอิสลามสอนให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล คือเมื่อผลที่เกิด ก็ย่อมมีเหตุที่ค่อยเป็นสิ่งสนับสนุนผลนั้น ไม่ใช่เชื่อแบบที่ว่างมงาย ใครเชื่อสิ่งใดเราก็เชื่อตาม หรือเมื่อในแต่ก่อนเขาทำมาอย่างไรก็เชื่อตามเขาไป โดยไม่คิดหรือหาข้อมูลว่าสิ่งที่ทำสืบต่อันมามันมีเหตุมาจากสิ่งใด ซึ่งศาสนาของเราก็สอนให้เชื่อจากการใช้สติปัญญา ตามหลักของความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเราต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะเชื่อสิ่งใด หาเหตุผลที่ครบถ้วนสมบูรณมาประกอบให้ได้

อัสลามมุอาลัยกุมฯ

อิสลามสอนให้มนุษย์รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล รอบคอบ และคิดพิจารณาไตร่ตรองจากหลักฐานที่ปรากฎ....

มิใช่เชื่อเพียงเพราะคำบอกเล่าสืบต่อๆกัน...ปาฎิหาริย์ที่เกิดขึ้น...หรือเพราะเหตุผลอื่นๆอีกนานับประการ

และพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทาน ฮิกมะห์"" หรือ วิทยปัญญา แก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์รู้จักคิดและวิเคราะห์

** ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม...**

วัสลามฯ ^^

นายนาวิน รัชตะหิรัญ ม.6/1

อิสลามสอนให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริง

นางสาวเมจิรา มิสยาม ม.6/1 no. 16

คำสอนของศาสนาอิสลามส่งเสริมให้ใช้ความคิดที่อิสระ พิจารณาเเละไตร่ตรองจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีเหตุผลอย่างเเท้จริง

ไม่ยึดติดกับความเชื่อที่งมงาย ขาดซึ่งการใช้สติปัญญาพินิจพิเคระห์เเละไม่มีเหตุผล .. ... ..

นายอานนท์ ใยโพธิ์ทอง ม.6/1

ศาสนาอิสลามได้สอนมนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริงแต่อย่างใด

นางสาวฮูดา หร่ายมณี ม.6/1 เลขที่ 22

อิสลามสอนว่า ถ้าหากมนุษย์ พิจารณาด้วยสติปัญญาและสามัญสำนึกจะพบว่า จักรวาลและมวลสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ มิได้อุบัติขึ้นมาด้วยตัวเอง เป็นที่แน่ชัดว่า สิ่งเหล่านี้ได้ถูกอุบัติขึ้นมาโดยพระผู้สร้าง ผู้ทรงสูงสุดเพียงพระองค์เดียว ที่ไม่แบ่งภาค หรือแบ่งแยกเป็นสิ่งใด ไม่ถูกบังเกิด ไม่ถูกกำเนิด และไม่ให้กำเนิดบุตร ธิดาใดๆ ผู้ทรงสร้าง และบริหารสรรพสิ่งด้วยอำนาจและความรอบรู้ที่ไร้ขอบเขต ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ที่โดยทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไว้ทั่วทั้งจักรวาลหรือที่เข้าใจว่าเป็น"กฎธรรมชาติ" ทรงขับเคลื่อนจักรวาลด้วยระบบที่ละเอียดอ่อน มีเป้าหมาย ซึ่งไม่มีสรรพสิ่งใดถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้สาระ และในด้านความเชื่อ ก็สอนให้มนุษย์ เชื่ออย่างมีเหตุผล และใช้สติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้ พิจารณาและไตร่ตรอง ถึงความถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง

นางสาวศศิธร บินรามัน ม.6/1 เลขที่ 10 ... อัสลามมุอะลัยกุม.. อิสลามสอนไว้ว่า มนุษย์คิดพิจารณาไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใด ขณะเดียวกันห้ามเชื่อหรือเลียนแบบโดยไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ และควรเชื่ออย่างมีเหตุมีผลและพิจารณาให้รอบคอบดัง ท่านนบีทรงกล่าวว่า“ท่านทั้งหลายจงพิจารณาสิ่งที่ถูกสร้าง จงอย่าพิจารณาผู้สร้าง เพราะท่านทั้งหลายไม่สามารถล่วงรู้ถึงเดชานุภาพของพระองค์” มนุษย์เราควรที่จะใช้ความคิดและความถูกต้องให้เหมาะสมกับที่อัลเลาะห์ทรงประทานมาให้เรา ...วัสลาม...

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม..

น.ส.เจนจิรา นิ่มเจริญ

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม..

นางสาวชูฮาดา บินกามิตร์ ม.6/1 เลขที่ 11

อัสลามมุอะลัยกุม..

การใช้ความคิดอิสระโดยไม่ยึด

ติดกับประเพณี ความเชื่อใดๆ อัลลอฮฺทรงใช้ให้มนุษย์คิดพิจารณาไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใด ๆ ถ้าเราไม่ใช้ที่อัลเลาะห์ได้ประทานมาให้เราก็จะเป็นคนที่เหมือนปศุสัตว์

ดังกล่าวไว้ว่า“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย” เพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง วัสลาม...-_-

นางสาวนุสบา บุณยศักดิ์ ม.6/1 เลขที่18

อิสลามสอนให้มนุษย์ รู้จักคิดอย่างรอบคอบ คิดอย่างมีเหตุมีผล พิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฎ และรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรือเล่าต่อๆกันมาหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริงแต่อย่างใด

+++++และพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทาน ฮิกมะห์"" หรือ วิทยปัญญา แก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์รู้จักคิดและวิเคราะห์+++++

นายสรวิทย์ หนิและ ม.6/1 เลขที่ 8

อัสลามมูอาลัยกุม

อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความอิสระทางความคิดไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่สอนให้ทุกคนใช้ความรู้ สติปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่างๆที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา รู้จักเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องตามความจริงตามหลักฐานต่างๆที่มีอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่งมงายใดๆทั้งสิ้น โดยที่ความเชื่อในศาสนาอิสลามนั้นเป็นสิ่งละเอียดอ่อนมากที่คนๆนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆในหลักการต่างๆไม่ใช่เพราะว่าเชื่อตามคนอื่นๆหรือเอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่สนใจหลักฐานอื่นเลย

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

ดังนั้นการเลียนแบบโดยไม่ใช้สติปัญญา และการเชื่อโดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง ทำให้ไม่มีการพัฒนาทางสมอง ขาดความคิดสร้างสรรค์

วัสลามมูอาลัยกุม

น.ส. ภัทริดา แก้วพิศดาร เลขที่40 ม. 6/1

อัสลามมุอาลัยกุม

อิสลามสอนให้มนุษย์คิดวิเคราะห์สรรพสิ่งเพื่อให้เกิดปัญญาและรู้ถึงความจริงและความถูกต้อง มิใช่เชื่อสิ่งใดโดยใช้จินตนาการ หรืออุปทานหรือการคาดเดาซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันการเชื่อตาม โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง เป็นความเชื่อแบบเลื่อนลอย มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จริง

และพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทาน ฮิกมะห์"" หรือ วิทยปัญญา แก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์รู้จักคิดและวิเคราะห์

นาย นิพนธ์ มะเด เลขที่28ชั้นม.6/1

อิสลามสอนว่า ถ้าหากมนุษย์ พิจารณาด้วยสติปัญญาและสามัญสำนึกจะพบว่า จักรวาลและมวลสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ มิได้อุบัติขึ้นมาด้วยตัวเอง เป็นที่แน่ชัดว่า สิ่งเหล่านี้ได้ถูกอุบัติขึ้นมาโดยพระผู้สร้าง ผู้ทรงสูงสุดเพียงพระองค์เดียว ที่ไม่แบ่งภาค หรือแบ่งแยกเป็นสิ่งใด ไม่ถูกบังเกิด ไม่ถูกกำเนิด และไม่ให้กำเนิดบุตร ธิดาใดๆ ผู้ทรงสร้าง และบริหารสรรพสิ่งด้วยอำนาจและความรอบรู้ที่ไร้ขอบเขต ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ที่โดยทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไว้ทั่วทั้งจักรวาลหรือที่เข้าใจว่าเป็น"กฎธรรมชาติ" ทรงขับเคลื่อนจักรวาลด้วยระบบที่ละเอียดอ่อน มีเป้าหมาย ซึ่งไม่มีสรรพสิ่งใดถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้สาระ และในด้านความเชื่อ ก็สอนให้มนุษย์ เชื่ออย่างมีเหตุผล และใช้สติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้ พิจารณาและไตร่ตรอง ถึงความถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง

วัสสลาม

กัดดาฟี สาและ เลขที่27 ม.6/1

อัสลามมุอลัยกุม

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม..

นายอนุชิต งอยลัง เลขที่ 25 ม.6/1

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม..

นายนพดล หีมยิ เลขที่ 6 ชั้น ม.6/1

อิสลามสอนให้มนุษย์รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล รอบคอบ และคิดพิจารณาไตร่ตรองจากหลักฐานที่ปรากฎ....

มิใช่เชื่อเพียงเพราะคำบอกเล่าสืบต่อๆกัน...ปาฎิหาริย์ที่เกิดขึ้น...หรือเพราะเหตุผลอื่นๆอีกนานับประการ

และพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงประทาน ฮิกมะห์"" หรือ วิทยปัญญา แก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์รู้จักคิดและวิเคราะห์

** ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม...**

วัสลาม

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม

"วามาอัรซัลนากาอิลลออเราะมาติลอาลลามีน" วัสลามมูอาลัยกุม

นาย อธิวัฒน์ บินดุเหล็ม

อัสลามมุอาลัยกุม

อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความอิสระทางความคิดไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่สอนให้ทุกคนใช้ความรู้ สติปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่างๆที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา รู้จักเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องตามความจริงตามหลักฐานต่างๆที่มีอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่งมงายใดๆทั้งสิ้น โดยที่ความเชื่อในศาสนาอิสลามนั้นเป็นสิ่งละเอียดอ่อนมากที่คนๆนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆในหลักการต่างๆไม่ใช่เพราะว่าเชื่อตามคนอื่นๆหรือเอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่สนใจหลักฐานอื่นเลย

วัสลามมูอาลัยกุม

นายอธิวัฒน์ บินดุเหล็ม เลขที่32 ชั้นม.6/1

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม..

นายอัลอามีน แซลีมา เลขที่26 ม.6/1

การที่มนุษย์จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใดนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำก็คือการใช้สติปัญญา ความคิดพิจารณาไตร่ตรองเรื่องราวเหล่านั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นให้ละเอียดเสียก่อนที่จะเชื่อลงไป โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะแม้แต่ในมหาคำภีร์อัลกุรอ่าน บทบัญญัติสูงสุดแห่งอิสลาม อัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใจความว่า

“และแน่นอนเรา(อัลลอฮฺ) ได้เพาะญินและมนุษย์จำนวนมากสำหรับนรก พวกเขามีหัวใจมิได้ใช้คิด พวกเขามีตามิได้ใช้ดู มีหูมิได้ใช้ฟัง พวกเขาเป็นเหมือนปศุสัตว์ เขาเหล่านั้นหลงผิดยิ่งกว่า พวกเขาคือผู้ละเลย”

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺที่ 179)

“และเมื่อได้ถูกกล่าวกับพวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานมาเถิด พวกเขากล่าวว่า หามิได้ เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติมา หรือว่ามารร้ายชักนำพวกเขาไปสู่การลงโทษในนรก”

สูเราะฮฺลุกมาน อายะฮฺที่ 21

และจากฮาดีษต่างๆของบรรดานบีก็ได้ชี้ชัดให้เห็นอยู่แล้วว่าการที่เราเชื่อสิ่งใดลงไปโดยไม่ได้ไตร่ตรองนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นยิ่งที่ต้องใช้ปัญญาที่พระองค์ทรงประทานให้นั้นในหนทางที่ถูกต้องตามหลักการแห่งอัลอิสลาม..

นายฟักกรูดีน มาดเด่น ม.6/1 เลขที่ 29

... อัสลามมุอะลัยกุม.. อิสลามสอนไว้ว่า มนุษย์คิดพิจารณาไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อหรือยอมรับสิ่งใด ขณะเดียวกันห้ามเชื่อหรือเลียนแบบโดยไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ และควรเชื่ออย่างมีเหตุมีผลและพิจารณาให้รอบคอบดัง ท่านนบีทรงกล่าวว่า“ท่านทั้งหลายจงพิจารณาสิ่งที่ถูกสร้าง จงอย่าพิจารณาผู้สร้าง เพราะท่านทั้งหลายไม่สามารถล่วงรู้ถึงเดชานุภาพของพระองค์” มนุษย์เราควรที่จะใช้ความคิดและความถูกต้องให้เหมาะสมกับที่อัลเลาะห์ทรงประทานมาให้เรา .......................วัสลาม..............................

นาย วราวุฒิ ลู่เด็นบุตร

อัสลามมุอาลัยกุม

อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความอิสระทางความคิดไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่สอนให้ทุกคนใช้ความรู้ สติปัญญาไตร่ตรองสิ่งต่างๆที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา รู้จักเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องตามความจริงตามหลักฐานต่างๆที่มีอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่งมงายใดๆทั้งสิ้น โดยที่ความเชื่อในศาสนาอิสลามนั้นเป็นสิ่งละเอียดอ่อนมากที่คนๆนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจจริงๆในหลักการต่างๆไม่ใช่เพราะว่าเชื่อตามคนอื่นๆหรือเอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งโดยไม่สนใจหลักฐานอื่นเลย

วัสลามมูอาลัยกุม

นางสาวดาวนภา หวันเหล็ม ม.6/1 เลขที่ 43

อิสลามสอนว่า ถ้าหากมนุษย์ พิจารณาด้วยสติปัญญาและสามัญสำนึกจะพบว่า จักรวาลและมวลสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ มิได้อุบัติขึ้นมาด้วยตัวเอง เป็นที่แน่ชัดว่า สิ่งเหล่านี้ได้ถูกอุบัติขึ้นมาโดยพระผู้สร้าง ผู้ทรงสูงสุดเพียงพระองค์เดียว ที่ไม่แบ่งภาค หรือแบ่งแยกเป็นสิ่งใด ผู้ทรงสร้าง และบริหารสรรพสิ่งด้วยอำนาจและความรอบรู้ที่ไร้ขอบเขต ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ที่โดยทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไว้ทั่วทั้งจักรวาลหรือที่เข้าใจว่าเป็น"กฎธรรมชาติ" ทรงขับเคลื่อนจักรวาลด้วยระบบที่ละเอียดอ่อน มีเป้าหมาย ซึ่งไม่มีสรรพสิ่งใดถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้สาระ และในด้านความเชื่อ ก็สอนให้มนุษย์ เชื่ออย่างมีเหตุผล และใช้สติปัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้ พิจารณาและไตร่ตรอง ถึงความถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท