ค่ายธรรมะควร สงบ เย็น และ เป็นธรรมชาติ


การจัดค่ายธรรมะให้สงบและเย็น ต้องเป็นตามธรรมชาติ

       จากประสบการณ์ที่ผมเคยไปเข้าค่ายปฏิบัติธรรมมาบ้าง และ ไปนิเทศติดตามผลการจัดค่ายธรรมะของนักเรียนมาบ้าง

 

       ส่วนใหญ่จะเป็นค่ายธรรมะที่เน้นรูปแบบ  พิธีกรรม   การสอนธรรมะที่เป็นทางการ     เน้นกฏระเบียบ   ไม่เป็นธรรมชาติ   

  

       จากการสังเกตุค่ายธรรมะดังกล่าว  พบว่าผู้เข้าค่ายไม่มีความสุขสงบเลยครับ  ทั้งค่ายเด็กและค่ายผู้ใหญ่   ประมาณว่าพอรู้ข่าวว่าต้องเข้าค่ายธรรมะ   ก็ห่อเหี่ยวไปหมดละครับ

 

        เพราะเป็นค่ายที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ  ไม่เป็นธรรมชาติ

 

                   

 

         ธรรมะ  คือ  ธรรมชาติ ครับ   การเข้าค่ายธรรมะ ต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ  ทั้งธรรมชาติของสิ่งแวดล้อม และ ธรรมชาติของผู้เข้าค่าย  

 

               

     

        หัวใจหลักของการเข้าค่ายธรรมะที่เป็นธรรมชาติ   ผมว่าอยูที่ 2   ส   ครับ

 

         ส  แรก  สัปบุรุษ  หมายถึง   คนที่มีคุณธรรม คนที่เป็นสัมมาทิฐิ คนที่ประพฤติธรรมเป็นปกติ คนที่มีศรัทธามั่นคงในศาสนา คนที่มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม (เป็นผู้หญิงก็ได้นะครับ)

 

       ค่ายธรรมะแต่ละค่าย ต้องมีสัปบุรุษ  เป็นผู้นำค่ายครับ   ข้อนี้สำคัญมาก  ถ้าค่ายธรรมะใดไม่มีสัปบุรุษ  ผมว่าไม่น่าจะเป็นค่ายธรรมะนะครับ  เพราะไม่เข้าใจถึงธรรมชาติ    ไม่เข้าใจธรรมะ

 

        ส   สอง  สับปายะ  4

        1.  อาวาสสัปปายะ = ที่อยู่เหมาะสม, มีครูบาอาจารย์, อาหารหาง่าย, บรรยากาศดี เป็นต้น

        (ข้อนี้  ต้องหาสถานที่ที่บรรยากาศดี  อากาศเย็น เป็นธรรมชาติให้ได้มากที่สุด  ก็จะดีครับ  มีครูบาอาจารย์ที่เป็นสัปบุรุษ)

 

        2. บุคคลสัปปายะ = มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม

       (เรื่องบุคคลแวดล้อมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากเลยนะครับ  ทุกๆคนที่แวดล้อม ต้องเป็นกัลยาณมิตร ใจดี มีเมตตา เอื้ออาทร ไม่ใช่คอยดุคอยด่า คอยจับผิด หรือ ใช้แต่อำนาจ)

 

        3.  อาหารสัปปายะ = บริโภคอาหารที่พอเหมาะ

        (การบริโภคอาหาร 2 มื้อ ก็ถือว่าพอเหมาะครับ และไม่ต้องมีเบรกระหว่างมื้อ  มื้อเย็นดื่มน้ำปานะ)

 

        4.  ธัมมสัปปายะ = มีข้อปฏิบัติที่เหมาะแก่จริต

        (ข้อปฏิบัติก็มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้คนเบื่อการปฏิบัติที่เคร่งครัด  ไม่ยืดหยุ่น  ข้อปฏิบัติควรให้ปฏิบัติตามความสมัครใจเท่าที่จะทำได้   สอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละคน แต่ละวัย  ใครได้แค่ใหนก็แค่นั้น  และ ใครจะปฏิบัติแบบใหนก็ได้ ให้สอดคล้องกับจริตของตน)

 

        ค่ายธรรมะที่ดี ที่มี  2  ส   เพี่ยงแค่เดินเข้าไป   ก็สามารถสัมผัสกับคลื่นรังสีแห่งความสงบ  และ  ความเย็น  เป็นรังสีแห่งความเมตตาที่สัมผัสได้ครับ 

 

                     

 

 

        ขณะที่ค่ายธรรมะบางค่าย   เพียงแค่เดินเข้าไป  ก็สัมผัสกับบรรยากาศแห่งความอึดอัด  คับข้องใจ  สัมผัสกับรังสีที่ร้อนรุ่ม  ประมาณว่าเป็นรังสีอำมหิตที่แผ่ซ่านออกมา

 

               

 

        ตอนนี้   เปิดเทอมใหม่   หลายโรงเรียนก็เตรียมการที่จะนำนักเรียนเข้าค่ายธรรมะ   ก็คงขอฝาก คาถา 2   ส   คือ สัปบุรุษ  และ  สับปายะ   ในการจัดค่าย  เพื่อให้นักเรียนเกิดความ สุข  สงบ  และ เย็น   จากการจัดการค่ายที่เป็นธรรมชาติ

 

                       

     

       เป็นคุณธรรมที่ส่งผ่านเข้าไปในจิตใจของนักเรียน  ด้วยรังสีแห่งความรัก ความเมตตา  และ ความเอื้ออาทร  ครับ

 

              

 

      

หมายเลขบันทึก: 362330เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ

  • บันทึกนี้มาช้าไปนิดหนึ่ง   ที่โรงเรียนเพิ่งกลับมาจากเข้าค่ายคุณธรรม  จริยธรรม
  • มีความรู้สึกเหมือนท่านรองฯ กล่าว
  • เด็กเล็กๆหลายระดับ ป.4-ป.6  ธรรมชาติคุย  เสียงดัง  จับเล่น  มีสมาธิในการฟังธรรมะระยะสั้นๆ 
  • วันแรกพระวิทยากรเป็นเหมือน ส. ที่ 2  ดุด่านักเรียน (กระทบครูด้วยเล็กน้อย)
  • ครูเกือบหมดความอดทน  นำนักเรียนกลับ 
  • วันที่ 2- 3  จึงเข้าใจมากขึ้น จึงสอดคล้องกับ ส. ที่ 4.  ได้ฟังธรรม  จะน้อมนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันแค่ไหนอยู่ท่  ศักยภาพ
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน ..ทำให้ได้ข้อมูลอ้างอิง..สามารถสรุปผลโครงการได้อย่างมีเหตุผล

 

Pอ. ดาวเรืองครับ

*  เด็กเล็กๆหลายระดับ ป.4-ป.6  ธรรมชาติคุย  เสียงดัง  จับเล่น  มีสมาธิในการฟังธรรมะระยะสั้นๆ  

   (ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กนะครับ  ทีนี้  ต้องทำอย่างไร  ให้เด็กปฏิบัติธรรมให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก  เด็กชอบคุย ชอบเล่น  สมาธิสั้น   ต้องฝึกธรรมะให้สอดคล้องครับ  ไม่ใช่จับเด็กไปนั่งนิ่งๆฟังเทศน์นานๆ)

*  วันแรกพระวิทยากรเป็นเหมือน ส. ที่ 2  ดุด่านักเรียน (กระทบครูด้วยเล็กน้อย)

   (เด็กต้องการกัลยาณมิตรครับ  ต้องใจดี มีเมตตา  เข้าใจเด็ก  บางค่าย เด็กหนีกลับบ้านเลยครับ  เพราะทนฟังพระเทศน์ไม่ไหว)

*  วันที่ 2- 3  จึงเข้าใจมากขึ้น จึงสอดคล้องกับ ส. ที่ 4.  ได้ฟังธรรม  จะน้อมนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันแค่ไหนอยู่ท่  ศักยภาพ

    (การสอนธรรมะ  ต้องสอนจากเหตุการณ์จริง  สอนจากรูปธรรม ที่เกิดขึ้นจริง เห็นผลจริง  ไม่ใช่สอนแต่นามธรรม  ว่าให้ทำดี  ให้ทำบุญ   ให้กตัญญู  ให้ขยัน  รับผิดชอบพวกนี้นามธรรมครับ  เด็กไม่ฟังหรอก  เพราะฟังมาจนเบื่อแล้ว)

 

   *  ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาแลกดปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

 

เรียนคุณครู small man

แวะมาเรียนธรรมด้วยคนค่ะ ขออนุโมทนาสาธุด้วยนะคะ

  • ที่ผ่านมาแป๋มเห็นคล้ายกับท่านรองฯ
  • เด็กที่เป็นนักเรียนต่างอำเภอจะซึมซับพระธรรมคำสอนได้ดี
  • แต่นั่นพระวิทยากรที่จำวัดต่างอำเภอจะทำให้เด็กๆเลื่อมใสได้มากกว่า
  • ความอำมหิตยังมีให้เห็นประปราย
  • ค่ายแบบนี้ควรมีการวอร์มเด็กก่อน
  • ให้เขาเข้าใจจุดมุ่งหมาย โดยเฉพาะครูที่ใกล้ชิดเด็ก
  • ให้เขาซึมซาบวันละนิด ทีละนิด..
  • เมื่อถึงเวลาจริงทุกอย่างคงลงตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ค่ะ.

สวัสดีตอนดึกๆ ค่ะ

 

วันนี้มาแบบง่วงๆ ไม่รู้จะคุยได้เรื่องได้ราวหรือเปล่านะคะ

ต้องชื่นชมก่อน ว่าชอบประโยคสุดท้าย  โดยใจมากๆ

 

คาถา 2   ส   คือ สัปบุรุษ  และ  สับปายะ   ในการจัดค่าย  เพื่อให้นักเรียนเกิดความ สุข  สงบ  และ เย็น  ส่งผ่านเข้าไปในจิตใจของนักเรียน  ด้วยรังสีแห่งความรัก ความเมตตา  และ ความเอื้ออาทร 

 

อยากให้คุณครูปฏิบัติแบบนี้ ด้วยความรัก ความเมตตา เอื้ออาทร จะเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงหัวใจของเด็กนักเรียนได้ดีที่สุด เขาจะซึมซึมคุณธรรมความดีนี้เข้าไปในหัวใจโดยไม่รู้ตัวเลยแหละ....

ท่านรองกล่าวไว้ได้ถูกต้องทุกอย่าง  การปฏิบัติธรรมต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ  มีผู้นำที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถูกต้อง   จึงจะสามารถนำผู้ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง  สถานที่ควรจะสงบ ไม่ต้องมีเครื่องอำนวยสะดวกให้อยู่กับธรรมชาติ ให้ได้มีเวลาพิจารณาไตร่ตรอง จิตใจจะได้สงบเยือกเย็น

ขณะปฏิบัติจะต้องมีสติรู้ตัวตน  รู้เท่าทัน สำรวมการเคลื่อนไหว กำหนดรู้ทุกอิริยาบท

แค่นี้ก่อน พูดไปเดี๋ยวยิ่งเลอะเทอะ เพราะง่วงเหลือเกินแล้ว  ฮา...

 

ราตรีสวัสดิ์นะคะท่านรองที่เคารพ

 

 

Pคุณยายครับ

   ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม

Pครูแป๋มครับ

ควรมีการวอร์มเด็กก่อน ให้เขาเข้าใจจุดมุ่งหมาย โดยเฉพาะครูที่ใกล้ชิดเด็ก ให้เขาซึมซาบวันละนิด ทีละนิด.. เมื่อถึงเวลาจริงทุกอย่างคงลงตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ค่ะ.

     ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

  

Pครูใจดีครับ

*   การปฏิบัติธรรมต้องสอดคล้องกับธรรมชาติ  มีผู้นำที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถูกต้อง   จึงจะสามารถนำผู้ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง  สถานที่ควรจะสงบ ไม่ต้องมีเครื่องอำนวยสะดวกให้อยู่กับธรรมชาติ ให้ได้มีเวลาพิจารณาไตร่ตรอง จิตใจจะได้สงบเยือกเย็น   ขณะปฏิบัติจะต้องมีสติรู้ตัวตน  รู้เท่าทัน สำรวมการเคลื่อนไหว กำหนดรู้ทุกอิริยาบท

             ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม  ขออนุโมทนาครับ

อรุณสวัสดิ์วันอาทิตย์ค่ะท่านรองหนุ่มเล็ก

รีบมาทายทักท่านรองฯ โฉมใหม่ สดใสต้อนรับฤดูกาลเชียร์บอล รึเปล่าคะ  เห็นแว้บๆ เหมือนเสื้อนักกีฬาค่ะ

มาเพ่งดูอีกที อ๋อ ชุดปฎิบัติธรรม  ดีใจกับเด็กน้อย ๆ  ได้มีโอกาสฝึกฝน อย่างน้อย แค่ได้มีส่วนร่วมคงจุดประกาย ได้บ้าง

เคยฝึกยอมรับว่ายากค่ะ เลย พยายามมองว่า การปฏิบัติธรรม ก็คงคล้ายๆ กับการเล่นกีฬา นักกีฬาจะไม่เคยเลยที่จะเลือกสนามแข่ง เพราะคือการแข่งกับตนเอง  ฝึกจิต ดูใจ สิ่งสำคัญคือการได้มีส่วนร่วม ยอมรับผลที่ได้ ไม่เปรียบเทียบกับผู้อื่น ทำดีที่สุด ด้วยความพอใจ ความสุข บนพื้นฐานแห่งความรัก สามัคคีของทีม และมีการฝึกฝนตนเองอยู่สม่ำเสมอ

ขออนุโมทนาสาธุ กับกิจกรรมดีๆ ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

PคุณPooครับ

  *  การปฏิบัติธรรมสำหรับผม ยอมรับว่ายากครับ  เพราะผ่านเรื่องโลกๆมามาก  เรื่องทางธรรมก็ได้แต่อ่าน  ไม่เคยปฏิบัติจริง

  *  ที่คุณPooเขียนมาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมตรงนี้ดีมากครับ

    การแข่งกับตนเอง  ฝึกจิต ดูใจ สิ่งสำคัญคือการได้มีส่วนร่วม ยอมรับผลที่ได้ ไม่เปรียบเทียบกับผู้อื่น ทำดีที่สุด ด้วยความพอใจ ความสุข บนพื้นฐานแห่งความรัก สามัคคีของทีม และมีการฝึกฝนตนเองอยู่สม่ำเสมอ

            ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมเติมเต็ม

                       ขออนุโมทนาครับ

  

สวัสดีค่ะ

การที่ให้เด็กมานั่งนิ่งเป็นระเบียบเรียบร้อย แถมหลับตาไม่กระดุกกระดิก  อาจถูกใจผู้ใหญ่บางท่านนะคะ

แต่ผู้ใหญ่ได้ย้อนนึกไปถึงตัวเองตอนเด็กหรือไม่ว่า  ตัวเองเป็นอย่างไรมาก่อน และปัจจุบันนี้หากให้ผู้ใหญ่บางท่านมานั่งแบบเด็กที่ตนเองบังคับ...ทำได้ไหม

ธรรมชาติ  พี่คิมค้นพบด้วยตนเอง  ได้นำไปแลกเปลี่ยนกับคนผู้รู้ท่านบอกให้เขียนเล่า  คิดว่าจะเขียนแต่ต้องเพิ่มความมั่นใจก่อนค่ะ

ส่วนมากพวกเราเล่นกับเด็ก ควรคำนึงถึงข้อสุดท้ายของท่านรองฯค่ะ ....ข้อปฏิบัติก็มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้คนเบื่อการปฏิบัติที่เคร่งครัด  ไม่ยืดหยุ่น  ข้อปฏิบัติควรให้ปฏิบัติตามความสมัครใจเท่าที่จะทำได้   สอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละคน แต่ละวัย  ใครได้แค่ใหนก็แค่นั้น  และ ใครจะปฏิบัติแบบใหนก็ได้ ให้สอดคล้องกับจริตของตน

ขอขอบพระคุณค่ะ 

เวลาอยู่ที่วัด เสียงสวดมนต์

ดูมีพลัง เป็นมนต์ขลังเลยค่ะ

    ไปถือศีล สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม กลับมาแล้วค่ะ

มีคำถามต้องการคำตอบที่บล๊อกครูบันเทิงค่ะ  เรียนเชิญน่ะค่ะ..คอย คอย..

Pพี่คิมครับ

   ค่ายธรรมะส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมา  ให้เด็กมานั่งหลับตาไม่กระดุกกระดิก  ทั้งนั่งสมาธิ และ  ฟังเทศน์   ซึ่งผู้ใหญ่ชอบมาก 

   แต่เด็กไม่ชอบเลยครับ  มีแต่ความทุกข์  นึกขยาดค่ายธรรมะไปอีกนาน   อย่าว่าแต่เด็กเลยครับ ลองให้ผู้ใหญ่มานั่งแบบเด็กดูบ้าง นั่งหลับตาไม่กระดุกกระดิก  ผมว่าผู้ใหญ่ก็คงเหลือทน นับประสาอะไรกับเด็ก

    ธรรมะ  คือ  ธรรมชาติครับ การปฏิบัติธรรม ต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก  ต้องการเคลื่อนไหว    ก็ต้องปฏิบัติธรรมบนพื้นฐาน  ความเคลื่อนไหว  ของเด็กครับ  สมาธิมีตั้งหลายแบบ  ไม่จำเป็นต้องนั่งนิ่งๆ

    ผมว่าค่ายธรรมะส่วนใหญ่ เราทำตามๆกันมาแบบ "เถรส่องบาตร" ครับ  ที่ภาษาพระเรียกว่า "สีลัพพตปรามาส"

    ผมว่าถึงเวลาต้องทบทวนแล้วละครับ

                      ขอบคุณครับ

Pครู ป 1 ครับ

    ขออนุโมทนาด้วยครับ

Pครูนิวบันเทิงครับ

     ยินดีครับ

การไปเข้าวัดแตกต่างจากการไปเข้าห้าง....เพราะฉะนั้นสิ่งแรกสุดต้องมีแรงจูงใจที่จะให้เด็กชอบที่เลือกเข้าวัดมากกว่า..ทำอย่างไร???

เมื่อหาทางเข้าวัดได้แล้ว  คราวนี้ก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นที่ท่านรองบันทึกไว้  รวมๆความแล้วเหมือนกับประเภท....บรรยากาศดี  มีธรรมเพราะ  อาหารพอเหมาะ  แต่.....ปัญหาอยู่ที่คนเราแล้วล่ะทีนี้......จะรับได้มากน้อยแค่ไหน...ใครจะรู้??

ก็แค่มองอีกมุมที่แตกต่าง....แต่ไม่ขัดแย้ง

                              

มีความสุขในวันหยุดนะคะ....

PKruguiครับ

   ผมลองเปรียบเทียบดูนะครับ  ระหว่างค่ายลูกเสือ และ ค่ายธรรมะ

   ค่ายลูกเสือ  เด็กจะใจจดใจจ่อ  รอคอยว่าเมื่อไรจะมาถึง  ตั้งใจและเต็มใจที่จะเข้าค่ายลูกเสืออย่างมีความสุข

  ค่ายธรรมะ   เด็กจะมีสีหน้าเบื่อหน่ายไม่อยากเข้า  บางคนหนีค่ายกลางคันก็มี

  สำหรับที่ Krugui เขียนมา

 

   *  บรรยากาศดี  มีธรรมเพราะ  อาหารพอเหมาะ   

         (ก็โอเคครับ )

  *    แต่.....ปัญหาอยู่ที่คนเราแล้วล่ะทีนี้......จะรับได้มากน้อยแค่ไหน...ใครจะรู้??

      (เรื่องนี้  การสอนธรรมะ  ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญครับ  เขารับได้น้อยก็สอนตามน้อย  ผู้สอนต้องเป็นกัลยาณมิตร  นั่นคือ  ต้องเข้าใจผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดโยนิโสมนสิการ  ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล  การสอนธรรมะให้ได้ผล  จะยึดผู้สอนไม่ได้ครับ ต้องยึดผู้เรียน )

                             ขอบคุณครับ

 

 

สวัสดีครับ ท่านรองฯ

 

  • กำลังเสวนาแลกเปลี่ยนกับผู้เรียนในประเด็นธรรมะ และจิตตปัญญาศึกษาอยู่พอดีครับ มาอ่านเจอบันทึกนี้ตรงกันพอดี และเป็นประสบการณ์จากหน้างานของผู้บริหารจริง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้เรียนสาขาวิชาการบริหารการศึกษา อันจะนำไปสู่การปรับใช้ในอนาคตต่อไป
  • ขอบพระคุณครับ

 

Pอ.ภูฟ้าครับ

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย  และยินดีมากครับที่บันทึกของผมได้มีโอกาสได้นำไปแลกเปลี่ยน

                             ขอบคุณครับ

ถ้าเรามีเวลาน้อย การฝึกในระหว่างทำงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดเช่นเวลาเดินไปห้องน้ำ อาจจะเพิ่มเวลาฝึกสติมากขึ้น เพราะบางคนไม่มีเวลาไปฝึกตามสถานที่ต่างๆค่ะ

อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ

Pคุณหมอครับ

  ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็มเรื่อง การเดิน  ที่ไม่ต้องใช้ความคิด  เช่น เดินไปห้องน้ำ  ก็เป็นการฝึกสติอย่างหนึ่ง

                   ขออนุโมทนาครับ

อยากทราบว่าปิดเทอมนี้อยากพาลูกเข้าค่ายธรรมมะที่ไหนดีขอความกรุณาแนะนำด้วยค่ะ

เสถียรธรรมสถาน  ของ แม่ชีศันสนีย์  ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท