จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

เล่า จับ อธิบาย อ้าง (3)


วันนี้เป็นวันที่มีโอกาสได้นำเอาประสบการณ์ส่วนตัวไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยในกลุ่มภาษามลายูถิ่นครับ โดยทีมงานมอบหมายให้ผมทำหน้าที่เป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนรายงานวิจัย ซึ่งทักษะนี้ผมใช้เวลาเรียนรู้กับมันมาอย่างทุลักทุเลครับ กว่าจะพอมีคนยอมรับในงานที่ทำไป

ต้องยอมรับครับว่า ต่อให้ทำวิจัยดีแค่ไหน ถ้าถ่ายทอดออกมาในรายงานวิจัย ในบทความวิจัยไม่ดี คุณค่ามันก็ลดลงไปเยอะครับ ดังนั้นวันนี้ได้รับการเชื้อเชิญว่า ประสบการณ์การเรียนรู้เยอะ เอาไปแลกเปลี่ยนกันหน่อยสิ งานนี้เลยพลาดไม่ได้ครับ

เดิมผมวางแผนกิจกรรมไว้ว่า จะเป็นกิจกรรมกลุ่มในการเล่าเรื่องและจับประเด็นมาเขียน ซึ่งเคยลองนำไปใช้มาแล้วกับทีมนักวิจัยท้องถิ่น (ตามที่ตั้งชื่อนับต่อจากครั้งที่แล้วครับ) แต่พอไปถึงห้องประชุม พบว่า คนเข้าร่วมเป็นกลุ่มเล็กครับ เลยปรับกิจกรรมเป็นการทำกิจกรรมกลุ่มเดียวไปเลย ซึ่งคิดว่า เราสามารถเสริมให้กับทุกคนได้ และที่สำคัญทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มทีจริงๆ 

(อ.สาเหะอับดุลเลาะห์ อัลยุฟรี มาเป็นประธานเปิดงานครับ)

อ.สาเหะฯ เปิดงานพร้อมกับแนะนำสาเหตุการเชิญวิทยากรคนนี้มาในวันนี้ได้อย่างชัดเจนครับ ฮิฮิ เพราะกว่ารายงานวิจัยชิ้นแรกจะเสร็จได้ ใช้เวลานานมาก ปรับแล้วปรับอีก แก้แล้วแก้อีก จนกระทั่งงานโอเค ซึ่งก็เป็นโครงการแรกที่แล้วเสร็จในชุดโครงการนี้

โครงการที่อาจารย์ท่านพูดถึงเป็นโครงการแรกในชีวิตผมที่รับทุนภายนอกมาทำครับ ใช้เวลานานมาก เฉพาะพัฒนาโจทย์วิจัยก็สองปี ทำอีกสองปี ปรับปรุงรายงานอีกเกือบปี ฮือ แต่เวลาที่ใช้มากขนาดนี้มันทำให้ผมแข็งแกร่งขึ้นมากครับ (โครงการนี้เป็นโครงการแรก แต่เสร็จช้ากว่าโครงการอื่นถึงสองโครงการ)

(พอฟังเรื่องเล่าเสร็จก็ต้องมานั่งกุมขมับเขียนเรียบเรียงใหม่ครับ)

เข้าสู่กิจกรรมการอบรมวันนี้ครับ เริ่มต้นด้วยการเลือกมาสองโครงการครับ ฝึกโดยการเล่าเรื่อง เล่ากิจกรรมที่ได้ทำไป พร้อมมุมมองการทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว จากนั้นทุกคนก็สรุปออกมาเป็นข้อๆ ครับ ออ. ก่อนสรุปก็ต้องมีการซักถามประเด็นเพิ่มเติมครับ

(นำเสนอสิ่งที่เขียนครับ ห้ามพูดสั้นหรือมากกว่าที่เขียนไว้เท่านั้น)

ผมรู้สึกว่า ผู้เข้าอบรมชุดนี้มีทักษะทางภาษาดีมากๆ แล้วครับ ดังนั้นขั้นการขยายประเด็น ทำได้ดีมากครับ เห็นแล้วสบายใจแทนกลุ่มพี่เลี้ยงครับ ซึ่งประเด็นหลักคือ การสร้างประสบการณ์ในการเขียนให้มากขึ้นครับ ดังนั้นผมเลยแนะนำว่าเขียนบล็อกสิ ช่วยพัฒนาทักษะการเขียนได้ดีเหมือนกัน

งานนี้กลุ่มพี่เลี้ยงก็ไม่มีนายกครับ (อภิสิทธิ์) ต้องร่วมเขียนด้วย ออ ลืมไป ผมก็เขียนด้วย แล้วก็เอามาวิพากษ์กัน ฮิฮิ ไม่ได้จัับปากกาเขียนยาวๆ รู้สึกว่าเมื่อยมือเหมือนกันครับ

เกือบลืมเล่าประเด็นที่หยิบมาฝึกเขียนรายงานวิจัยไปครับ เรื่องที่ใช้สำหรับการฝึกในช่วงเช้าเป็นงานที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการอยู่ครับ ทำวิจัยเกี่ยวกับชื่อของคนในพื้นที่นราธิวาส พูดไปพูดมาประเด็นน่าสนใจมากครับ และทำวิจัยได้หลายเรื่องเลย 

ชื่อคนเชื่อมไปยังประวัติชุมชน วิวัฒนาการของชุมชน วัฒนธรรม ศาสนาได้เป็นอย่างดีครับ

ส่วนช่วงบ่ายหยิบเอาโครงการ ปาตงปัตตานี หรือเรียกชื่อมาตรฐานหน่อยก็ปันตง หรือในภาษาไทยก็น่าจะเป็นกลอนสด ทำนองนี้และครับ (ขอจบเพียงเท่านี้นะครับ ง่วงมาก ฮิฮิ)

หมายเลขบันทึก: 362313เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2010 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ทำไมง่วงไวจังละ ป้าแดงเข้ามาไม่ทัน
  • --
  • ตอนที่ป้าแดงทำวิทยานิพนธ์ ก็คิดเหมือนอาจารย์ค่ะ ต้องสื่อสาร(ถ่ายทอด)ออกไปให้ดีที่สุด ทุกคนเห็นภาพทำตามได้ พอเอาไปส่งอาจารย์ อาจารย์บอกว่า "น่าจะส่งไปลงหนังสือ ขายหัวเราะ" อิอิอิ  เพื่อนๆเลยแนะนำว่า "วิชาการ ให้สมกับ ป.โท หน่อย" เฮ้อออ....คงจะหลงทางอ่ะค่ะ
  • พอมาเขียนบล็อก ก็รู้สึกว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลยค่ะ ยังคงเขียนวนเวียนไปมา..เฮ้อออ..อีกรอบค่ะ
  • หลับฝันดีนะคะ

การเขียนบล๊อกจะช่วยพัฒนาการเขียนเราได้จริงๆครับ...อันนี้ยืนยันได้ครับ

การเขียนรายงานการวิจัยอันนี้สำคัญจริงๆสำหรับการถ่ายทอดออกมา

อ่านบันทึกนี้แล้วผมว่าถ้าหากนักวิจัยเข้ามาอ่านและเรียนรู้การพัฒนาก็จะเกิดครับสำหรับงานวิจัย โดยเฉพาะการจะไปสู่รายงานวิจัยที่ดีได้

   ประสบการณ์และบททดสอบจะทำให้เี่แกร่งขึ้นจริงๆครับ

ขอบคุณครับ pa_daeng 

บางทีสไตล์ในการเขียนในบล็อกเอาไปใช้ในการเขียนรายงานได้ไม่หมดครับ ประเด็นที่น่าสนใจที่น่าจะเอาไปใช้ได้ดีคือ การจัดลำดับการนำเสนอเรื่องครับ 

ออ.ประเด็นสำคัญเวลาไปเขียนในรายงานวิจัย ต้องตัดเสียง ฮิฮิ ออกก่อนนะครับ อันนี้ห้ามเอาไปเขียนเด็ดขาดเลย :)

ขอบคุณครับเสียงเล็กๆ فؤاد 

ทักษะการเขียนเป็นสิ่งที่ต้องฝึกปรือตลอดครับ การเขียนบล็อกจึงช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เป็นอย่างดีเลยครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท