เส้นทาง CBL ของCUP มโนรมย์


CBL การเรียนจาก case จริง และร่วมทำงานด้วยกัน

สรุปการเยี่ยมติดตามการดำเนินงาน CBL (Context base learning) ของ CUP มโนรมย์

โดย มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สปสช.เขต 3 นครสวรรค์

วันที่ 26 พฤาภาคม 2553 เวลา 8.30-15.00 น. (ตอนที่ 2)

                คุณหมอบรรพต ท่าน ผอ.ของเราได้นำเสนอบริบทของCUP มโนรมย์ให้อาจารย์ฟังและสรุปการพัฒนา primary care ว่าขณะนี้ เรากำลังทำอะไรบ้าง ดังนี้ 1. primary care award (PCA) และได้รับเงินอุดหนุนจาก สปสช เขต 3 ในฐานะลูกข่ายของ Node ตาคลี 2. โครงการพัฒนาบริการปฐมภูมิของเขตชนบท ปี2552 (ได้รับเงินสนับสนุน 1,000,000 บาท)  ที่มีการพัฒนาตนเอง 5 ด้าน คือ การจัดโครงสร้าง การส่งต่อ พัฒนาบุคลากร ชุมชน และ สนับสนุนบริการ 3. CBL ได้รับเงินอุดหนุนจาก สปสช เขต 3 เช่นกัน  สำหรับเหตุผลในการเข้าร่วมโครงการ CBL ของมโนรมย์คือ 1. เป็นความถนัดของตนเอง 2. เป็นเพื่อนกับหมอยงยุทธ (เจ้าของโครงการ) และ 3. ได้รับเงินอุดหนุนถ้าทำ(สำคัญมาก) ที่ผ่านมาก็ได้ทำตามแนวทางนี้มาบ้างแต่ยังไม่มั่นใจว่าตรงตามที่อาจารย์ออกแบบไว้หรือเปล่า เพราะยังไม่ค่อยมีความรู้  การที่มีอาจารย์มาเยี่ยม มาช่วยชี้แนะ เป็นสิ่งที่ดีมากและประโยชน์ที่ได้มากๆๆๆ คือ เป็นแรงกระตุ้นจากภายนอก (ไม่เช่นนั้นเราจะไปเรื่อยๆ เกินไป)  สิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ 1.สถานีอนามัยมีการสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่  2.การวางแผนฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล โดยกำหนดจุดฝึก จำนวนเจ้าหน้าที่และระยะเวลาฝึก  โดยช่วงแรกจะเน้นเรื่องการรักษาพยาบาล  3.การประชุมวิชาการกันเองโดยสถานีอนามัย และการให้สถานีอนามัยร่วมประชุมวิชาการกับโรงพยาบาลทุกวันศุกร์  4. การเชิญให่ สอ.เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน web.gotoknow 5. การให้คำปรึกษาโดยแพทย์และพยาบาลแก่เจ้าหน้าที่ สอ. ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ  การเรียนรู้ แบบนี้มีข้อตกลงเบื้องต้น คืออ้างอิงทฤษฎีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult learning) ห็ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียนเพื่อทำงาน แรกๆดรงพยาบาลจะจัดให้ก่อน ถ้าผู้เรียนประเมินว่าไม่ดี ก็จะปรับให้

                อาจารย์สุรเกียรติได้กรุณาให้ความเห็นประเด็นหนึ่งในระหว่างการสนทนา ที่รู้สึกประทับใจและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง คือ วิธีการขึ้นทะเบียนคนไข้ที่มีอาการทางคลินิกที่น่าสนใจและเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ทางคลินิกเอาไว้ เช่น คนไข้ที่มี mur mur เมื่อเราต้องการให้ผู้เรียน/นักศึกษาได้เรียนรู้จาก case จริง ก็พาไปเรียนรู้ในชุมชน  เพราะในสถานการณ์จริงบางครั้งในโรงพยาบาลก็ไม่ case ให้เรียนรู้มากนัก  และอีกข้อเสนอแนะจากท่านอาจารย์ไพจิตร ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งคือการเตรียมความเป็นครูให้กับทีมของโรงพยาบาลชุมชน  ทำให้เห็นถึงความเอาใจใส่อย่างลึกซึ้งของท่าน ได้สะท้อนความเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะได้มีการสะท้อนจากเจ้าหน้าที่ สอ.มาแล้วว่าในการปรึกษาcase ก็ต้องเลือกแพทย์ เช่นกัน ถ้าไม่เจอหมอบรรพต ก็ไม่อยากปรึกษา ถ้าได้มีการเตรียมผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นครู เข้าใจหน้าที่ตนเอง  คงทำให้การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ประสบความสำเร็จแน่นอน

(ปล.เรื่องมันยาว ยังไม่จบจ้า)

 

อังค์ริสา  พินิจจันทร์

คำสำคัญ (Tags): #adult learning#cbl
หมายเลขบันทึก: 361718เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 02:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ก็ได้แลกเปลี่ยนไปว่าควรมีการแลกเปลี่ยนทุกสาขาเช่นทันตแพทย์ เภสัช เวชศาสตร์ครอบครัว /By Jan

งานนี้น่าสนใจมาก และคำแนะนของท่านอาจารย์ไพจิตรนั้น สิเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง จากการที่เคยไปอยู่เป็นพี่เลี้ยงที่ PCU เวลาจะปรึกษาอะไรมา รู้สึกว่ามีช่องว่าง และอุ้ยอ้ายเป็นอย่างยิ่ง คงคล้าย ๆ ที่น้อง ๆ สอ. รู้สึก /สินีนาถ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท