ประชุม ESD ประเทศฟิลิปปินส์


โลกกว้าง ๆ ของคนเล็ก กับมิตรประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ไกล หากแต่ใจใกล้กัน

ผมได้มีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปร่วมประชุมประชุมปฏิบัติการ หัวข้อ Integrating Education for Sustainable Development Concepts in Southeast Asian Social Studies Secondary Education Curriculum  ระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ เมษายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์ SEAMEO INNOTECH สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

คนที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ครั้งนี้มีประเทศเวียดนาม บูรไน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและ ฟิลิปปินส์

การประชุมดังกล่าวมีการนำเสนอรายงาน(Country Report) เกี่ยวกับเนื้อหาและวิธีปฏิบัติด้านการบูรณาการการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลักสูตรวิชาสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ของประเทศต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการศึกษาเพื่อการเตรียมการเรื่องพิบัติภัย การศึกษาเรื่องประชาธิปไตยและการเมือง การอนุรักษ์ระบบนิเวศและมรดกทางวัฒนธรรม          สันติศึกษา และการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิทยากรหลักของการประชุมนี้ คือ Dr.Lean จากมหาวิทยาลัยมาเลเซีย  เธอแม้จะสูงวัยแล้วยังดูกระฉับกระเฉง และมีความเป็นครูสูงมาก ผมเลยฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของเธอเสียเลย เธอว่าคนไทยอย่างผมอาจจะค่อนข้างสุภาพ พูดน้อย แต่เรื่องแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ไม่แพ้ใคร ออกจะ outstanding เสียด้วยซ้ำ

เรื่องการออกแบบการเรียนการสอนแต่ละประเทศ เธอคลี่ให้เห็นจุดเด่นในกระบวนการเรียนรู้ที่ผมออกแบบ ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีได้ ดังนี้

๑.  กิจกรรมดูสนุก ท้าทาย น่าเรียนรู้ 

๒. ให้ความสำคัญกับมิติของการสอนเนื้อหาสาระ ควบคู่กับการสอนทักษะกระบวนการ(ตรงนี้เธอเรียกว่า หยิน-หยาง โมเดล --หมายถึงว่า ในการสอนนอกจากตัวเนื้อหาแล้วครูต้องออกแบบที่ซ่อนกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้)

๓. มีส่วนสำคัญมาก มาก ที่การสอนทั่วไปละเลย คือ การสะท้อนการเรียนรู้ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึก

ที่นี้คงอยากรู้ว่าผมออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างไร

ผมออกแบบไปหลายแผน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่งโดยสังเขป:                       ผมสอนเรื่อง การสอนเพื่อเตรียมการรับมือกับพิบัติภัยธรรมชาติ

- ให้นักเรียนดูภาพพิบัติภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ซูนามิ แผ่นดินไหว ดินถล่ม

- ให้นักเรียนจัดกลุ่ม แล้วเลือกวิเคราะห์สาเหตุของพิบัติภัยธรรมชาติ โดยใช้เทคนิค 5why คือการถามว่าทำไม แล้วหาคำตอบไปเรื่อย ลงใน Graphic organizer

 

- มีกิจกรรมอื่น ๆ อีก..สุดท้าย ให้นักเรียนทำ Reflection note ด้วยคำถาม ๓ ข้อ คือ

๑) ฉันได้เรียนรู้อะไร ๒) ฉันรู้สึกอย่างไร และ ๓) ฉันจะนำความรู้นี้ไปทำอะไรบ้าง

สิ่งที่ผมนึกขอบคุณมาก คือ คุณครู นักเรียนชาวไทยทุก ๆ คนทำให้ผมได้มีประสบการณ์ดี ๆ ไปแบ่งปันกับมิตรต่างประเทศ 

  

หมายเลขบันทึก: 361168เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2010 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีด้วยค่ะ อยากทาบรูปแบบการประชุม โต๊ะกลมรึเปล่าคะ บังเอิญว่าปีนี้ดิฉันเป็นตัวแทนคะ่ เลยอยากทราบบรรยากาศบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท