ท่านอธิการบดี มน. กับการประเมิน


จนกระทั่งผมและหลาย ๆ คน คิด และพูดกันเล่น ๆ ว่าท่านอธิการบดีท่านบริหารมหาวิทยาลัยโดยอาศัยการประเมิน (MBA : Management By Assessment)

         วานนี้ (พุธที่ 7 ก.ย. 48) ช่วงเช้าผมประชุมกับท่านอธิการบดีและทีมรองอธิการบดี เพื่อเตรียมประชุมกรรมการบริหารในช่วงบ่าย (เป็นเช่นนี้เกือบทุกวันพุธ) ส่วนช่วงค่ำไปกับทีมคลินิกเทคโนโลยี (มน.) เพื่อรับประทานอาหารค่ำต้อนรับคณะผู้แทนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (ผู้ตรวจราชการกระทรวง รวม 6 ท่าน) ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางตรวจเยี่ยม (ประเมิน) ภาคีสมาชิกในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และพิษณุโลก

         ผมขอนำประเด็นเรื่อง “วัฒนธรรมการประเมิน” มาพูดคุยกันก่อนเท่าที่มีเวลาเขียน คือพอเริ่มประชุมในช่วงเช้า ท่านอธิการบดี (รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี) ก็ซักถามผมเพื่อติดตามความก้าวหน้าเรื่องการประเมินเป็นเรื่องแรก คือก่อนหน้านั้นท่านได้โทรมอบหมายงานให้ผมทำเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ก.ย. 48 (ช่วงเดียวกับที่ผมกำลังประชุมเรื่องการประเมิน UKM Network พอดี) ให้ผมจัดทีมไปประเมินความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตแพทย์ที่โรงพยาบาลแพร่ พิจิตร และตาก เพื่อให้ได้ข้อมูลมาแก้ไข/ปรับปรุงและพัฒนาความพร้อมเพิ่มเติมก่อนที่นิสิตแพทย์จะเข้าไปใช้เป็นที่เรียน ซึ่งผมก็ได้เรียนท่านว่าได้ประสานงานกับทั้งฝ่ายคณะแพทย์และฝ่ายผู้ประเมินแล้ว กำหนดการประเมิน คือ ระหว่างวันที่ 10-12 ต.ค. 48 เสร็จแล้วท่านได้มอบให้ผมเตรียมการประเมินอีกสองการประเมิน คือ ประเมินอธิการบดี และประเมินสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ  ประเมินอธิการบดีเนื่องจากต้นปีหน้าจะครบรอบ 1 ปีที่ท่านเข้ามาดำรงตำแหน่งอธิการบดี (รอบ 2) ส่วนประเมินสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพจะคล้าย ๆ กับที่จะไปประเมินโรงพยาบาลแพร่ พิจิตร และตาก แต่ให้เน้นเรื่องการบริหาร การบริการ และความพร้อมที่จะเป็นที่เรียนของนิสิตแพทย์ในปี พ.ศ. 2550

         ตั้งแต่ท่านอธิการบดีมณฑลมาเป็นอธิการบดี มน. รอบแรก เมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 ผมได้รับมอบหมายให้พัฒนาระบบประกันคุณภาพโดยอาศัยการประเมินเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย (ทั้งองค์กร) แนวคิด ปฏิบัติการ และผลการดำเนินงาน ผมเคยเล่าไว้แล้ว (Link

         ตั้งแต่ต้นปี 2544 เป็นต้นมา ที่ มน. เราประเมินกันเป็นว่าเล่น จนกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย ขณะนี้ พอถึงเวลาอันควรไม่ต้องมีใครมาบอกให้ทำ จะมีการเตรียมการประเมินกันเอง (ผมเพียงเข้าไปเยี่ยมเยียนและให้คำปรึกษานิด ๆ หน่อย ๆ) ประเมินกันทุกคณะ ทุกหน่วยงานสายสนับสนุน ประเมินคณบดี ประเมินอธิการบดี ประเมิน practice settings ของทุกคณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประเมินภายนอกโดย สมศ. (มน. เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยนำร่องของ สมศ.) ประเมินโดย กพร. และ คตง. ฯ ประเมินเสร็จก็จะส่งผลประเมินมาวิเคราะห์ภาพรวมในระดับมหาวิทยาลัยที่หน่วยประกันฯ เพื่อให้ได้ข้อสรุปและส่งผลให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปแก้ไข/ปรับปรุงต่อไป จนกระทั่งผมและหลาย ๆ คน คิดและพูดกันเล่น ๆ ว่าท่านอธิการบดีท่านบริหารมหาวิทยาลัยโดยอาศัยการประเมิน (MBA : Management By Assessment)

         โอกาสหน้า (เมื่อมี) ผมจะเล่าหลักการ และวิธีการประเมินในแต่ละแบบ แต่ละที่ที่ปฏิบัติกันอยู่ที่ มน. ให้ฟังครับ

         วิบูลย์  วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 3608เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2005 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

  เรียน ท่าน รองวิบูลย์ ทีนับถือ

   เมื่อวันพุธ ที่ ๗ กันยายน ที่ผ่านมา มีการประชุมสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผมเองได้เรียนที่ประชุมสภาแห่งนั้นถึง การบริหารงานที่ มน ที่ท่านเรียกว่า M B A คือ การประเมินทุกระดับตั้งแต่ มหาวิทยาลัย อธิการบดี คณบดี คณะ และ ทุกหน่วยงาน มาเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ไม่ทราบว่าจะมีท่านใดสนใจหรือไม่ ผมพยายามจะ ลปรร กับที่ประชุมในสภานั้น แต่ ไม่มีท่านใดให้ข้อเสนอแนะ หรือให้ข้อคิดเห็นเลยครับ รู้สึกผิดหวังเล็กๆ ผมคิดว่าเท่าที่ได้เข้ามาเห็นกระบวนการ ที่ มน ดำเนินการน่าสรรเสริญครับ

  ไม่ได้ยอวาทีครับ แต่ผมเองได้เรียนรู้หลายเรื่องจากการประเมินครับ และ ที่สำคัญเป็นการประเมิน เพื่อ การพัฒนาจริงๆ โดยมีการวิเคราะห์ ที่เรียกว่า TOWS มีการวางแผนด้วยตนเอง โดยดูศักยภาพของตน ไม่ฟุ้งเฟ้อ หรือ เพื้อฝันไปเอง

  ด้วยความเคารพในความเป็น "ผู้นำที่ยอมให้คนนอกมาเสนอแนะ และ ผมว่ากระบวนการนี้ฝังเข้ามาเป็นวัฒนธรรมขององค์กร" ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร แล้วครับ

JJ

น่าจะให้ประชาคม มน.ทุกคน มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติของท่านอธิการบดีด้วย เพื่อที่จะได้รับทราบถึงความคิดเห็นของประชาคมส่วนร่วมคิดเห็นอย่างไรต่อการบริหารงานที่ผ่านมา ไม่ใช่ทำเฉพาะสายวิชาการอย่างเดียว

อยากจะรู้ว่า กา่รประเมินที่ทำๆกันหนะครับ
ได้ประโยชน์อะไรที่นิสิตเห็นผลได้เป็นรูปธรรมบ้างครับ

เงินที่เอามาพัฒนาม นเรศวร ฝั่งพิษณุโลก เท่าไหร่หรอครับ
คณะก็เปิดเยอะ  นิสิตก็รับมามากมาาย  ค่่าเทอมก็แพงกว่าม อื่นๆ
แต่ไปคุยกับอาจารย์หลายท่าน  กลับได้ฟังความคิดท่านว่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นเพราะ ไม่ได้ค่าตำแหน่งบ้างหละ  อาจารย์ไม่พอบ้างหละ

ช่วยตอบคำถามด้วยครับ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท