สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

โครงการ ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี2553


เตรียมความพร้อม GAP ปี 54

การอบรม  แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ถ่ายทอดความรู้  ตามกระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร

โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปี 2553

กิจกรรม เตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน GAP ปี 2554

วันที่ 19  พฤษภาคม  2553

ณ  ศาลาหมู่บ้าน บ้านใน  หมู่ที่ 5  ต.ท่าอุแท  อ.กาญจนดิษฐ์  จ.สุราษฏร์ธานี

******************************

       ด้วยสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์      ได้รับอนุมัติโครงการดังกล่าวฯ  จากกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีกลุ่มเป้าหมาย:เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พืชผัก และไม้ผล  4  ชนิด  (เงาะ    มังคุด   ทุเรียน  และลองกอง)  เป้าหมายของอำเภอกาญจนดิษฐ์    เกษตรกรทั้งหมด  300   ราย  (เป้าหมายของตำบลท่าอุแท เกษตรกร  จำนวน 43  ราย ได้แก่ เงาะ 7  ราย ,ทุเรียน 5  ราย , มังคุด  7 ราย , ลองกอง 15 ราย พืชผัก 9 ราย ซึ่งทางศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร  ประจำตำบลท่าอุแท    ได้รับสมัครเกษตรกรตามเป้าหมายของชนิดพืช ดังกล่าวแล้ว

             ทางศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลท่าอุแท ได้ดำเนินการจัดอบรมเกษตรกรเมื่อวันที่ 19  พฤษภาคม  2553  ณศาลาหมู่บ้าน  หมู่ที่ 5  บ้านใน ต.ท่าอุแท  โดยทีมวิทยากรจากศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร  ประจำตำบลท่าอุแท  ประกอบด้วย  นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์ ,นส.อัญชลี   บารมีรุ่งเรือง   เกษตรหมู่บ้าน บ้านใน ,  นายนิกร  เมฆมีเดช  หมอดินประจำหมู่บ้าน บ้านใน

     เวลา 08.30 น.เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว   เริ่มทยอยมาลทะเบียน   พร้อมรับเอกสาร  ประกอบด้วย เอกสารประกอบการถ่ายทอดความรู้เกษตรกร เนื้อหาประกอบด้วย ระบบมาตรฐานสินค้าเกษตร ข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพสินค้าเกษตร  การป้องและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM)   การใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย  การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก (สูตร พด.1)  การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (สูตร พด.2)    สมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช (สูตร พด. 7)  การทำบัญชีครัวเรือน  และคู่มือแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (จี เอ พี )  ฉบับเกษตรกรพร้อมปากกา  1 ด้าม                                 

      เกษตรกรลงทะเบียน

เวลา 09.00 น. นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  ผู้รับผิดชอบตำบลท่าอุแท   ได้ดำเนินการชี้แจงโครงการ หลักการเหตุผลและแนวคิดของโครงการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายเกษตรกร งบประมาณ (รายละ 100 บาท) รวมถึงประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากโครงการ  และเรื่องการให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับภัยแล้ง ที่เกษตรกรได้รับผลกระทบ และแนะนำทีมวิทยากรจาก ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร  ประจำตำบลท่าอุแท    และให้ความรู้เรื่อง 

-  ระบบจัดการคุณภาพพืชและแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช  (GAP) 

-  ข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพสินค้าเกษตร

-  การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (IPM)

ให้ความรู้แก่เกษตรกร

 

เวลา  12.00  น.  ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

 

       เวลา  13.00  น.  นส.อัญชลี   บารมีรุ่งเรือง   เกษตรหมู่บ้าน บ้านใน  ให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย   การทำบัญชีครัวเรือน

      เกษตรหมู่บ้าน ม.5  ร่วมแลกเปลี่ยน/เรียนรู้

 นายนิกร  เมฆมีเดช  หมอดินประจำหมู่บ้าน บ้านใน ให้ความรู้เรื่อง การเก็บตัวอย่างดิน  และการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก (สูตร พด.1) 

       หมอดินหมู่บ้าน ร่วมให้ความรู้ในเรื่อง การทำปุ๋ยหมัก และวิธีการเก็บตัวอย่างดิน

 

ผู้เข้าร่วมอบรม มีความสนใจเป็นอย่างดี

เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  พร้อมซักถามปัญหาข้อสงสัยก่อนแยกย้ายกันกลับบ้าน

สรุปผลการอบรม/นำไปใช้

  1. เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และผลิตพืชอย่างมีระบบ
  2. เกษตรกรสามารถที่จะลดต้นทุนการผลิตและมีวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง
  3. ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพ  ปลอดภัย  จากการปนเปื้อนสารเคมี  เชื้อโรค  และศัตรูพืช
  4. เกษตรกรและผู้ซื้อได้บริโภคผลไม้ที่ปลอดภัย  มีคุณภาพ  ทำให้สุขภาพแข็งแรง
  5. เกิดความยั่งยืนในระบบการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเรียนร่วมกัน  ก่อให้เกิดความสามัคคี

                                                                     

 นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์

 นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

 สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

 โทร. 08-9963-3078, 0-7737-9013

  20 พฤษภาคม 2553

 

หมายเลขบันทึก: 360024เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

- ตัวโครงการดำเนินการจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละเท่าไหร่แล้ว

- ถ้าโครงการเดินหน้าไปได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม คงทำให้ผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดมาคุณภาพมากขึ้นใช่หรือเปล่า

- ถ้าเป็นจริงดังข้อที่สอง ขอสนับสนุนโครงการด้วยคน

- และสุดท้ายถ้าเกษตรกรเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง ก็ขอยกความดีความชอบให้ผู้ปฏิบัติด้วยคน

ลองเขียนวิเคราะห์เชิงสรุปงาน Food safety ที่ตนเองทำ (ได้ผล) สัก 1 เรื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงานน่ะ และรออ่านอยู่นะ

แนน@ทุ่งตะโก ชุมพร

สวัสดีค่ะ บังเอิญเข้ามาเจอ กำลังหาข้อมูล GAP อยู่น่ะ

คนเข้าอบรมเยอะดีนะ ของแนน โหลงเหลงน่าดูเลย เวลาถ่ายรูป ต้องหามุมที่มันดูคนเยอะ ๆ

เป็นกำลังใจในการทำงานกันต่อไป สู้ ๆ เกษตรตำบลทั้งหลาย >_<

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท