บทเรียน 5 พื้นที่ (1) ภาพรวมนำเสนอวันที่ 30 มิ.ย.


การนำเสนอทั้งหมด อาจใช้คำว่า "ทางกลับคือการเดินทางต่อ" ก็ได้ คือเอาบทเรียนมาเป็นครูเพื่อก้าวเดินต่อไป

ในการนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ ที่เคยตั้งไว้ 4 ประเด็นคือ 1) ก่อนเริ่มงานวิจัย เครือข่ายมีสถานะภาพอย่างไร ?
2) การจัดการความรู้เข้ามาทำอะไร ?
3) เกิดผลอย่างไรขึ้น
4) จะขับเคลื่อนเครือข่ายต่อไปอย่างไร ?

เนื่องจากการดำเนินงานกำหนดให้เป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับนักวิชาการเพื่อเข้ามาเสริมหนุนในจุดแข็งของตนคือ การมองอย่างครอบคลุม การกระตุ้นสร้างการเรียนรู้ด้วยข้อมูล คำถาม และการ  วิเคราะห์ โดยมีโจทย์อีกข้อหนึ่งที่ผูกโยงการทำงานให้มีความต่อเนื่องคือ การสร้างการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานสนับสนุนทั้งภาคราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้มาเป็นคุณอำนวยของชุมชน
รวมทั้งการเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆในชุมชนด้วยแนวคิดที่ใช้องค์กร    การเงินชุมชนเป็นทางผ่านเพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนทั้งระบบ

ดังนั้น โดยแนวนี้ทีมวิจัยจึงจำเป็นต้องมีฐานความรู้เรื่องสถานะภาพของขบวนเครือข่ายก่อนดำเนินการ ซึ่งทีมประสานงานพยายามแสวงหาองค์ประกอบที่ครอบคลุมในเรื่องดังกล่าว เช่น
ที่ลำปาง อ.อ้อมเป็นผู้ศึกษา เครือข่ายออมทรัพย์ชุมชนลำปางเสนอ มสช. มาก่อน จึงรู้สภาพเครือข่ายค่อนข้างดี

ที่ตราด คุณธีระ วัชรปราณี จากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาก็เป็นผู้คลุกคลีทำงานกับเครือข่ายพระสงฆ์และเครือข่ายสัจจะมาโดยตลอด

ข้อ1 จึงอยากทราบว่า สถานะภาพก่อนเริ่มงานของขบวนเครือข่าย     ที่เป็นเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้เป็นอย่างไร ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

ข้อ 2 อาจนับเริ่มต้นตั้งแต่การพูดคุย ชักชวนมาร่วมงานซึ่งเป็นการจัดการงานวิจัยต้นน้ำคือการพัฒนาโครงการ ต้องใช้เวลาเรียนรู้จักกันค่อนข้างนานคือ จัดประชุมทีมวิจัยจากพื้นที่ต่างๆนำเสนอโครงการวิจัยครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อวันที่4-5ก.พ.2548 โดยที่ก่อนหน้านั้นก็มีการลงพื้นที่ชุมชนทำการบ้านกันมาก่อนแล้ว จนกระทั่งเริ่มงานตามสัญญาเมื่อกลางเดือนมิ.ย.2548 หลังจากการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ ลงพื้นที่ แลกเปลี่ยนกันอีกหลายๆรอบ
กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานเพื่อทำความเข้าใจ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาและการสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด(จัดการความรู้)คือ   หัวข้อที่ 2

ข้อที่ 3 คือผลที่เกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่เป็นผลที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดกระบวนการดำเนินงานทั้งหมด แต่เป็นผลที่เกิดขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงที่หนุนเนื่องกันมา ซึ่งทั้ง4ข้ออาจใช้การเล่าเรื่องประกอบรูปภาพ เอกสารหรือวัสดุประกอบเช่น แบบบันทึก กระปุกออมสิน รวมทั้งผังโครงสร้าง /แนวคิด ก็จะช่วยสื่อสารให้เข้าใจได้ง่ายด้วยเวลาที่จำกัดได้มาก
(โดยที่รายละเอียดส่วนใหญ่อยู่ในนิทรรศการ และตัวคนที่จะสื่อสารกันในวงเรียนรู้วันรุ่งขึ้น)

สำหรับข้อ 4 คือ สิ่งที่งานวิจัยนี้ได้เรียนรู้ทั้งหมด ซึ่งใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนขบวนเครือข่าย จึงอยากให้ทีมวิจัยนำเสนอว่าเครือข่ายจะ ขับเคลื่อนต่อไปอย่างไร ?
ผมคิดว่า ข้อสรุปนี้น่าจะได้มาจากกระบวนการที่คล้ายคลึงกับการเริ่มต้นพัฒนาโครงการในข้อ 2 ในช่วงตั้งเป้าหมาย คือเป็นการหมุนเกลียวความรู้ทั้งระบบ โดยการทำAAR ตลอดกระบวนการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งในระดับเครือข่าย กลุ่ม และสมาชิก กับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

คงคล้ายกับgotoknowจัดสรุปงาน1ปี แต่กรณีนี้ การตั้งเป้าหมายและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนจะมากกว่า เพราะgotoknowเป็นเครื่องมือ    ที่ต้องอาศัยทักษะเฉพาะด้วยยอดฝีมืออย่างดร.จันทวรรณและ         ดร.ธวัชชัย แต่ก็อาจจะถือว่าเป้าหมายคือผู้ใช้งานซึ่งเปรียบได้กับขบวนเครือข่ายหลากหลายรูปแบบ
gotoknow เป็นพื้นที่เสมือน เช่นที่เราพยายามใช้ในการขับเคลื่อนงานวิจัยจัดการความรู้ในครั้งนี้ ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เพราะนักวิจัยหลายคนไม่เข้ามาร่วมแจมด้วย
โดยที่การทำAARของขบวนชุมชนจะลึกซึ้งมากกว่า เพราะได้พบปะทำกิจกรรมอย่างเป็นเนื้อเป็นหนังร่วมกันภายใต้พื้นที่/วัฒนธรรมและเรื่องอื่นๆอย่างต่อเนื่องที่น่าจะผูกพันกันมากกว่า

การนำเสนอทั้งหมด อาจใช้คำว่า "ทางกลับคือการเดินทางต่อ" ก็ได้ คือเอาบทเรียนมาเป็นครูเพื่อก้าวเดินต่อไป

งานวิจัยจัดการความรู้ของแต่ละพื้นที่ในครั้งนี้ จึงเป็นการนำเสนอความรู้จากการเข้าไปเรียน/รู้จักเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายกับขบวนเครือข่ายด้วยหลักการสำคัญคือ การสร้างนักจัดการความรู้ที่เป็นนักเรียนและครูตามบทบาทที่ตนรับผิดชอบ โดยที่เป้าหมายที่ตั้งไว้เปรียบเสมือนเกมฝึกหัดที่เอาจริงของ    นักเรียน ต้องการทั้งผลจากการปฏิบัติและกระบวนการเรียนรู้ของ      นักเรียนในระดับต่างๆ เพื่อเป็นทุนความรู้ในตัวนักเรียนที่จะพัฒนา  เครือข่ายให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นต่อไป


สิ่งที่จะนำเสนอของแต่ละพื้นที่ อาจมองว่าเป็นการนำเสนอวงจรการเรียนรู้คือ
1)สภาพเดิม
2)ตั้งเป้าหมายและสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมาย
3)สภาพใหม่
4)ตั้งเป้าหมายและ.............สร้างการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมายใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 35964เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท