ต้นธารแห่งศรัธทา
นิติกรชำนาญการ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ (ปัจจุบัน) อรอนงค์ ต้นธารแห่งศรัธทา นิลธจิตรัตน์

ผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องTHE UNITED NATIONS CONVENTION ON THE ASSIGNMENT OF RECEIVABLESIN INTERNATIONAL TRADE


อนุสัญญาสหประชาชาติการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศCONVENTION ON THE ASSIGNMENT OF RECEIVABLESIN INTERNATIONAL TRADE

  วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ขอเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนที่ได้เสนอไว้กับรามคำแหงทั้งนี้เผื่อผู้ใดสนใจหรือใช้ต่อยอดการศึกษาต่อไป โดยผู้เขียนขอนำเสนอตอนละบท วันนี้จะเริ่มจากบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ และบทที่ 1 ดังนี้

ผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้อง

ทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศกับการโอนสิทธิเรียกร้อง

 อรอนงค์  ซังปาน (นิลธจิตรัตน์)

 วิทยานิพนธ์เสนอต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง

เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ปีการศึกษา 2549

ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ISBN 974-09-2746-7

 the impact of acCession to the united nationS Convention on the assignment of Receivablesin international Trade 

ONANONG  ZUNGPAN (NINTHAJITRAT)

A  THESIS PRESENTED TO RAMKHAMHAENG UNIVERSITY

IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS

FOR THE DEGREE OF MASTER OF LAWS

2006

COPYRIGHTED BY RAMKHAMHAENG UNIVERSITY

ISBN  974-09-2746-7

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์     :  ผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย

การโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศกับการโอนสิทธิเรียกร้อง

ชื่อผู้เขียน: นางสาวอรอนงค์  นิลธจิตรัตน์ (ซังปาน)

ชื่อปริญญา                  :  นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ปีการศึกษา                  :  2549

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ :

            1. อาจารย์ ดร. วิลาวรรณ  ลาภวงศ์วัฒนา    ประธานกรรมการ

            2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชัย  ศิริสมบูรณ์เวช

             อนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ เป็นพัฒนาการของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ ได้กำหนดขอบเขตสิทธิเรียกร้องไว้อย่างกว้างขวาง โดยใช้บังคับกับเรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมสิทธิเรียกร้องประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิทธิเรียกร้องทางการค้า และสิทธิเรียกร้องที่ไม่ใช่ทางการค้า รวมทั้งสิทธิเรียกร้องบริการระหว่างธุรกิจ อาทิ สัญญาแฟคเตอริ่ง สัญญาฟอร์ฟิตติ้ง สิทธิเรียกร้องที่ได้จากผู้บริโภค (Consumer Receivables) สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากสัญญาของรัฐ หรือองค์กรของรัฐ นอกจากนี้ ยังครอบคลุมธุรกรรมต่าง ๆ รวมทั้ง เทคนิคการเงินใหม่ ๆ เช่น การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (Securitization)  โปรเจ็คไฟแนนช์ ฯลฯ ซึ่งหากประเทศไทยต้องการจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับนี้  จะต้องพิจารณากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง หลักกฎหมายในเรื่อง “การโอนสิทธิเรียกร้อง” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 303 ถึงมาตรา 313) การโอนสิทธิเรียกร้อง เป็นวิธีการชำระหนี้ด้วยวิธีหนึ่งเท่านั้น โดยมิได้มุ่งเน้นการโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อประโยชน์ในการหาแหล่งเงินทุน เนื่องจากการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะพิเศษหลายประการ ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่อง “การโอนสิทธิเรียกร้อง” มาปรับใช้ ประกอบกับมีหลักกฎหมายบางประเด็นในอนุสัญญาฯ ที่กำหนดนอกเหนือไปจากหลักกฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) เช่น หลักการคุ้มครองลูกหนี้ การโอนสิทธิเรียกร้องในอนาคต การโอนสิทธิเรียกร้องต่างราย สัญญาจำกัดการโอน ฯลฯ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเป็นการศึกษาพิจารณาสารัตถะของอนุสัญญาฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายภายในของประเทศไทยที่มีอยู่ โดยมุ่งศึกษาถึงบทบัญญัติว่าด้วย “เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง” ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่นำมาปรับใช้กับลักษณะขออนุสัญญาฯ เพื่อศึกษาพิจารณาถึงผลกระทบทางกฎหมายในจุดที่มีความแตกต่างและจุดที่ยังไม่สอดคล้องกับกฎหมายไทย ดังนั้นเพื่อปรับปรุงข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายภายในประเทศให้รองรับต่อการเตรียมพร้อมเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อไปข้างหน้า โดยเฉพาะการนำหลักการของอนุสัญญาฯ ที่เป็นประโยชน์ เช่น การให้ความคุ้มครองลูกหนี้อย่างเพียงพอ วิธีการบอกกล่าวการโอน และข้อจำกัดการโอน เป็นต้น ประยุกต์ใช้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง พ.ศ. ... เนื่องจากต่างก็มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการขจัดอุปสรรคทางด้านกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนของผู้ประกอบการให้มีมากและคล่องตัวขึ้นและจะช่วยเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบรรดาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้นเพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ขึ้นอันจะช่วยให้กฎหมายได้รับการยอมรับมากขึ้น หรืออาจจะนำสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ มาเป็นต้นแบบในการออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อให้ครอบคลุมทุกด้าน

 

ABSTRACT

 

Thesis  Title                :  The Impact of Accession to the United Nations

                                  Conventions on the Assignment of the Receivables  in International Trade

Student’s Name   :  Miss Onanong  Zungpan

Degree Sought           :  Master of Laws

Academic Year          :  2006

Advisory Committee          :

       1.  Dr. Vilawan  Lapwongwattana                                           Chairperson

         2.  Asst. Prof. Dr. Somchai  Sirisombunwej

 Conventions on the Assignment of the Receivables in International trade contains very broad definitions of claims in international business transactions. Such claims cover various types of rights to claims, including the rights to claims for both in  trade and non-trade sectors, as well as the rights to claims regarding inter-business services. They also cover various transactions, including innovative financial techniques, such as securitization and project financing. If Thailand desires to be a party to this convention, it should be noted that our existing principles, the transfer of the rights to claims in the Civil and Commercial Code (Sections 303 to 313), are merely a means of debt settlement. It should be noted that this settlement not focus on the transfer of the rights to claims as a means of seeking capital funding. This renders it being unsuitable to be usable or adaptable when it comes to international disputes regarding specific business cases. In addition, some legal issues in the Conventions are not in line with our domestic law (the Civil and Commercial Code), for example with regard to the principles of debtor protection, the future transfer of rights to claims, the transfer of rights to claims to different cases, or contracts limiting such transfers. Therefore, there should be a follow-up process, to be conducted by government and private sectors, regarding the implemention of the conventions. A study of the attitude of Thailand’s trade partners to the Conventions must also be made in order to help develop suggestions for the amendment of Thai domestic law, thereby ensuring that the country is ready to subscribe to the Conventions in the future. The main principles contained in the Conventions, such as adequate protection of debtors, methods of information regarding the transfer of rights, and the restraints imposed on such transfers, should be incorporated to the Civil and Commercial Code or the draft of the Act for the Operation of Factoring of B.E. … since they share common objectives of eliminating legal obstacles and promoting greater flexibility of access to new types of capital funds for entrepreneurs. This will also help to increase the capability of entrepreneurs, especially among domestic small and medium entrepreneurs (SMEs) to compete with others. The law should be made more comprehensive in order to render it more acceptable, or the main substance of the Convention taken as a prototype for the issuance of specific laws to cover all aspects of the issues involved.

กิตติกรรมประกาศ

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ดีก็เพราะความเมตตากรุณาของท่านอาจารย์ ดร. วิลาวรรณ ลาภวงศ์วัฒนา (หรือ มังคละธนะกุล) ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  ซึ่งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ มาด้วยดี  ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง ขอขอบพระคุณท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมชัย  ศิริสมบูรณ์เวช กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ได้เมตากรุณาผู้เขียนมาตลอด ตั้งแต่ขั้นตอนเสนอหัวข้อจนถึงขั้นตอนสอบเล่ม

      ผู้เขียนขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. สุมาลี วงษ์วิฑิต  และอาจารย์นิรุจน์ มณีพันธ์ ที่ได้ตรวจสอบให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะบางส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์จนทำให้วิทยานิพนธ์นี้เสร็จสมบูรณ์ได้ และขอขอบพระคุณอาจารย์พฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์     (ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดีของธนาคารแห่งประเทศไทย) เป็นอย่างสูง ซึ่งขอขอบคุณเป็นพิเศษที่ให้ความเมตตากรุณาผู้เขียนช่วยดูเนื้อหาวิทยานิพนธ์เล่มนี้จนเสร็จสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร. วิสูตร ตุวะยานนท์เป็นอย่างยิ่งที่ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาทุกครั้งที่ผู้เขียนประสบปัญหา ขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา พินิจจันทร์ ที่เมตตาแนะนำการเขียนหัวข้อ

     ผู้เขียนขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ (อธิบดีกรมศุลกากร) เป็นอย่างยิ่งที่สละเวลาให้ผู้เขียนเข้าพบและเมตตาตอบหนังสือซักถามเป็นข้อมูลสำคัญในการเขียนบทวิเคราะห์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอขอบคุณคณะทำงานย่อยอนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศทุกคนที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

        ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอกราบพระคุณ คุณพ่อมนตรี ซังปาน และคุณแม่อาภรณ์   ซังปาน ที่ได้ให้กำเนิด อบรมสั่งสอน ให้ปรัชญา การศึกษา และผู้เป็นแรงแรงบัลดาลใจทุกอย่าง และขอขอบพระคุณ อาจารย์ยุวรัตน์  กมลเวชช ผู้เป็นเสมือนพ่อคนที่สอง ที่คอยสนับสนุนและให้การศึกษาแก่ผู้เขียนมาตลอด บุคคลทั้งสามนี้ทำให้ผู้เขียนมุ่งมั่นและตั้งใจมาตลอดจนทำให้ผู้เขียนมีวันนี้

                                                                                      อรอนงค์  ซังปาน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท