ห้องสมุด 3 ดี


ห้องสมุด 3 ดีกับกิจกรรมรักการอ่าน

ห้องสมุด  ๓  ดีกับกิจกรรมรักการอ่าน

 

*สัตตบุษย์  โชติรัตน์

นักศึกษาปริญญาโท  สาขานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ม.รามคำแหง

 

 

        ในปี  ๒๕๕๓ ครบทศวรรษแห่งการรักการอ่าน   กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้สถานศึกษาทั่วประเทศ ปรับปรุงห้องสมุดให้มีหนังสือดี  บรรยากาศดี  และบรรณารักษ์ดี  ตามโครงการ “ห้องสมุด ๓ ดี”  ให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านกันทั่วหน้า    ในส่วนของห้องสมุด  ๓ ดี  มีลักษณะการจัดทำดังนี้

๑.  หนังสือและสื่อการเรียนรู้ดี  Good Media หมายถึง หนังสือที่สร้างสรรค์ปัญญา ตรงใจผู้อ่านและเนื้อหาถูกต้องไม่มีพิษภัย  มีการจัดทำ จัดหา รวบรวมรายชื่อสื่อมัลติมีเดีย  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้   มีการตรวจสอบคุณภาพหนังสือ และสื่อการเรียนรู้   การจัดทำ พัฒนา จัดหาสื่อการเรียนการสอนประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์        (E- book)  และสื่อมัลติมีเดีย  ห้องสมุดต้องมีจำนวนหนังสือ อย่างน้อย ๕ เล่ม ต่อนักเรียน ๑ คน และต้องมีหนังสือส่งเสริมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  ๘ กลุ่มสาระ  สำหรับนักเรียน ครู   กลุ่มหนังสืออ้างอิงที่มีคุณภาพ  และมีหนังสือส่งเสริม    การอ่านเพิ่มมากขึ้น เช่นพจนานุกรม  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  หนังสือพระราชนิพนธ์     กลุ่มหนังสือดีที่ควรอ่านหรือหนังสือแนะแนวเช่น วรรณกรรม  นิทาน  และของเล่นเด็กสร้างสรรค์  เช่น  บล็อกไม้  ตัวต่อภาพ   เกมการศึกษา เป็นต้น   

. บรรยากาศและสถานที่ดี Good Environment   หมายถึง ห้องสมุดที่อบอวลด้วยมิตรภาพ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสะท้อน เอกลักษณ์ชุมชน   โรงเรียนต้องมีห้องสมุดอย่างน้อยขนาด ๑ ห้องเรียนขึ้นไป  มีการจัดมุมหรือองค์ประกอบแบ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิง  มีส่วนการอ่านเพื่อพักผ่อนหรือดูหนังฟังเพลงส่วนการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่าย   มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้  และเหมาะสมกับวัยของผู้ใช้บริการ   มีการติดต่อ  ส่งเสริม  และสนับสนุนด้านความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อร่วมปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี มีคุณภาพ    การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องสมุด มุมหนังสือทั่วไป มุมหนังสืออ้างอิง มุมอินเตอร์เน็ต มุมสบาย มุมสื่อโสตทัศนวัสดุ มุมบริการยืม คืน   จัดห้องสมุดให้โปร่ง สะอาด แสงสว่างเข้าถึง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก    การจัดห้องสมุดให้มีชีวิตนั้น จัดให้นักเรียนได้เข้ามาใช้บริการให้มากที่สุดด้วยความเต็มใจ จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมยอดนักอ่าน กิจกรรมสอยดาวเสริมปัญญา กิจกรรมการตอบปัญหา ห้องสุดเคลื่อนที่

. บรรณารักษ์และกิจกรรมดี Good Service หมายถึง บรรณารักษ์ที่อัธยาศัยนํ้าใจดี มีจิตบริการทำงาน ระดับมืออาชีพ ทันสมัย และส่งเสริมการเรียนรู้   โรงเรียนต้องมีครูผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์ อย่างน้อย๑ คน  และนักเรียนช่วยงานห้องสมุดในรูปของคณะกรรมการดำเนินงานสำหรับการให้บริการ  ได้ในช่วงเวลาเช้าก่อนเข้าห้องเรียน พักกลางวันและหลังเลิกเรียน  และมีการจัดกิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการเขียน และรักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

     วิธีจัดกิจกรรมหลัก เพื่อ ส่งเสริมและปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน 

      ๑.  เร้าใจให้เกิดความอยากอ่านหนังสือ
      ๒.  ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือและน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น
      ๓.  แนะนำ  กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ  เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง  มีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
      ๔.  สร้างบรรยากาศที่น่าอ่าน  รวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน  มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ 

แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน  ควรมีลักษณะ ดังนี้

๑.กิจกรรมวางทุกงาน อ่านทุกคน                           

๒. กิจกรรมนักข่าวรุ่นเยาว์                              

๓.กิจกรรมยอดนักเล่านิทาน                           

๔.กิจกรรมยอดนักอ่าน                                  

๕.กิจกรรมต้นไม้พูดได้                                   

๖.กิจกรรมประกวดทางวิชาการ ตามความถนัดและความสนใจ

   การวาดภาพระบายสี,การคัดลายมือ, การตอบคำถามความรู้รอบ 

   ตัว                                                      

๗.กิจกรรมเรียนรู้ด้วยป้ายนิเทศ                      

๘.กิจกรรมพี่สอนน้อง  เพื่อนช่วยเพื่อน                                                  

๙.กิจกรรมแข่งขันตอบปัญญาหาจากสารานุกรมไทยฯ  

๑๐.กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่

วิธีสร้างนิสัยรักการอ่าน

วิธีที่ ๑. ใช้เวลาสบายๆของครอบครัวเพื่อส่งเสริมการอ่าน

วิธีที่ ๒. เลือกหนังสือดีที่เด็กสนุก

วิธีที่๓.ให้เด็กได้รู้เรื่องราวหลากหลายจากพหุวัฒนธรรม

วิธีที่ ๔. มีกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด

วิธีที่๕. ใช้ทักษะนาฏการในการเล่า

วิธีที่๖.ใช้กิจกรรมศิลปะเชื่อมโยงกับการอ่าน

วิธีที่๗.สอนให้รู้จักสกัดความรู้และจับใจความสำคัญ

วิธีที่๘.ต่อยอดจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 

วิธีที่ ๙. นำเด็กสู่โลกแห่งวรรณคดี

วิธีที่๑๐.พัฒนาทักษะภาษาพาสู่โลกกว้าง

        ห้องสมุด 3 ดี เน้น การพัฒนาในใน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หนังสือดี บรรยากาศดี บรรณารักษ์ดี ทั้งนี้เนื่องจากห้องสมุดในโรงเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางปัญญา ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมความรู้ทุกแขนง ทุกศาสตร์ และห้องสมุดยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ห้องสมุดจึงเปรียบเสมือนโลกใบใหญ่แห่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งบันเทิงประเทืองปัญญา สนองความต้องการของผู้ใช้ ด้านการอ่าน การเรียนรู้ ทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหาร และคนทุกเพศทุกวัย

 

 

-----------------------------------------------

                                         บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). จุรินทร์ กระตุ้นคน กศน.. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 

       2553, จากhttp: //www.2tik.com.

_________________. (2552). แผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี

       (3 D) ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2553, จาก http : //ed3d.kroobannok.com.

_________________. (2552). ห้องสมุด 3 ดี. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2553, จาก 

       http://breakingnews. nationchannal.com/read.php? newsid=387564.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2552). ก้าวไปสู่เป้าหมายด้วยหัวใจคน กศน.. ค้นเมื่อ 10

       พฤษภาคม 2553, จากhttp://www.nfe.go.th.

สำนักงาน กศน. จังหวัดอุดรธานี. (2552). มาตรฐานห้องสมุด 7 ชีวิต. อุดรธานี :

       ชัชวาล. (เอกสารอัดสำเนา).

 

หมายเลขบันทึก: 359162เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเป็นครูบรรณารักษ์(จำเป็น)ต้องการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านให้กับนักเรียนแต่ไม่ทราบจะจัดอย่างไรดี อยากจะให้เพื่อนครูได้ชี้แนะด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท