บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ


บทบาทของผู้บริหารในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ

     ผู้บริหารมีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนครูซึ่งเป็นบุคลากรหลักและมีบทบาทสําคัญที่สุดในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ผู้บริหารจึงตอ้งสนับสนุนให้ครูทําความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการสําคัญ เพราะจะช่วยในการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการเรียนรู เมื่อแนวคิดเปลี่ยน การกระทําย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย นอกจากนี้ผู้บริหารยังมีบทบาทที่สําคัญ คือ   

    (1)  สนับสนุนสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ      

    (2)  สนับสนุนการนิเทศการจัดการเรียนการสอน            

    (3)  กํากับติดตามประเมินผล

 1. บทบาทในการสนับสนุนสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ 

     ผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งที่จะทําใหการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญในการศึกษาประสบความสําเร็จ   ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนไทยที่สมบูรณ ดังที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 ได้กําหนด ไวในความมุ่งหมายและหลักการซึ่งต้องการให้คนไทยมีความสมบูรณทางด้านร่างกาย จิตใจสติปัญญา  มีความรูความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม  และวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้กระบวนการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญยังช่วยปลูกฝังจิตสํานึกที่ถูกต้องให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การพึ่งพาตนเอง การใฝ่รู อยู่เสมอ  การเห็นความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น  การอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาค การเคารพกฎหมาย ความรู้สากล ประชาธิปไตย  ศิลปวัฒนธรรมของชาติ  และการเห็นความสําคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง   ผู้บริหารจึงจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศนเกี่ยวกับการบริหารจัดการแบบเดิมที่เคยใชเพื่อตอบรับกับกระบวนการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ คือ การบริหารจัดการที่เน้นบุคคลเป็นสําคัญ ซึ่งคํานึงถึงความต้องการ  ความแตกต่าง  ความสนใจ  ความเอื้ออาทร  ความต้องการมีส่วนร่วม  ของบุคลากรทุกคน  วิสัยทัศนนี้จะส่งผลใหผู้บริหารปรับพฤติกรรมการบริหารให้เป็นแบบอย่างแก่ครู ซึ่งจะถ่ายโอนไปถึงพฤติกรรมการเรียนการสอนของครูที่เน้นผูเรียนเป็นสําคัญ

 บทบาทของผูบริหารที่เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มีดังนี้

     1. การพัฒนาหลักสูตร

         ผู้บริหารจําเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรที่ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และเป็นหลักสูตรบูรณาการ  แม้ว่าหลักสูตรยังคงแบงเป็นรายวิชา  หรือกลุ่มวิชา  มีตารางเรียนเป็นกรอบควบคุม่เวลาค่อนข้างเคร่งครัด ไมยืดหยุ่น แตในอนาคตโรงเรียนจะมีอิสระในการบริหารงานวิชาการ จึงเป็นหน้าที่ของผูบริหารที่จะวางแผนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรที่แท้จริงของท้องถิ่นให้ไดหลักสูตรบูรณาการ เป็นหลักสูตรซึ่งเหมาะสมกับการจัดกระบวนการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ  ทั้งนี้เพราะผู้เรียนจะเรียนรูด้วยตนเองจากกิจกรรมหลากหลาย  ซึ่งครูในฐานะผู้อํานวยความสะดวกเป็นผู้จัดให ดังนั้นการสะทอนองคความรู  ความคิด  ความรู้สึกจากการที่ไดปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนจะมีลักษณะหลากหลายและเป็นองคความรูรวมจากหลายวิชา  หลักสูตรบูรณาการจึงเป็นหลักสูตรที่เอื้อตอการจัดการเรียนรู้ที่เนนผู้เรียนเป็นสําคัญ

     2. การจัดหาแหล่งการเรียนรู

         เนื่องจากการจัดการเรียนรูที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล  จึงจําเป็นต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนรูตามความสนใจ แหล่งการเรียนรูเช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอรเรือนเพาะชํา สวนหย่อม ห้องจริยศึกษา  ห้องวิทยาศาสตรห้องพลศึกษา  ห้องพยาบาล  ห้องครัว  เป็นต้น  แหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวมานี้มีอยู่ในสถานศึกษาตามปกติอยู่แล้ว  หากผู้บริหารสถานศึกษาบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้เหล่านี้ให้เป็นระบบ วางแผนการใชแหล่งการเรียนรู จัดตั้งบุคลากรรับผิดชอบดูแล  มีการควบคุมกํากับ  และติดตามประเมินผลการใช้แหล่งการเรียนรูรวมทั้งแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ใหมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และความต้องการของครูในฐานะผู้อํานวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู จะทําให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

     3. การวิจัยในชั้นเรียน

         ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมและสนับสนุนใหมีการวิจัยในชั้นเรียน  เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูใหก้าวหน้ายิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผูเรียนเป็นสําคัญจะมีปัญหาวิจัยมากมายที่ท้าทายความสามารถของครูในการค้นพบองค์ความรู้ใหมเพื่อนํามาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนต่อไป  ผู้บริหารอาจเชิญวิทยากรที่มี ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนมาใหความรูเบื้องต้นให้ครูมีโอกาสฝึกทํางานวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเอง  และนําผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนไดอย่างแท้จริง     อย่างไรก็ตามควรปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการวิจัยว่า  การวิจัยไมใช่เรื่องยาก ไม่จําเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูงที่ยุ่งยากซับซ้อน         ก็สามารถทําได้ นับเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารควรใหความสนใจและสื่อสารให้บุคลากรได้เข้าใจตรงกันในเบื้องต้นก่อน

     4. การจัดหาสื่อ  วัสดุอุปกรณ  และเครื่องมือเครื่องใช

         ผู้บริหารควรจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมสําหรับบริการแก่ครู จัดระบบการผลิต การยืม  การเก็บรักษา การซ่อมแซมใหทันสมัยอยูเสมอ รวมทั้งควรสํารวจความต้องการใช้สื่อวัสดุอุปกรณเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สําหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ  เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนดําเนินการต่อไป

     5. การจัดสรรงบประมาณสนับสนุน

         งบประมาณนับว่าเป็นหัวใจสําคัญของการจัดการเรียนรู้  ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ผู้บริหารจําเป็นต้องจัดสรรงบประมาณ   สําหรับจัดซื้อวัสดุอุปกรณ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆปรับปรุงแหล่งการเรียนรู้ให้พรอมสําหรับบริการซ่อมแซมอาคารสถานที่ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรูความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ  การพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรบูรณาการ  การเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ  การสนับสนุนงบประมาณสําหรับการวิจัยในชั้นเรียน    เป็นต้น

     6. การเผยแพร่ผลงาน

         การเผยแพรผลงานการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญเป็นภารกิจของผูบริหารที่จะช่วยจูงใจใหครูกระตือรือร้นที่จะพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง การเผยแพร ผลงาน  ได้แกการประชาสัมพันธ ผลงานทางวารสารของโรงเรียน  การประชุมผู้ปกครอง การประชุมกลุ่มโรงเรียน การสัมมนาทางวิชาการ  การจัดสาธิตการสอน  การจัดห้องเรียนที่เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ  การเขียนบทความทางวิชาการเผยแพรการใช้โรงเรียนเป็นฐานของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ เป็นต้น

     7. การให้ขวัญกําลังใจ

         บุคลากรในสถานศึกษาทุกคนต้องการขวัญกําลังใจจาก ผู้บริหาร  ซึ่งอาจดําเนินการได้หลายรูปแบบ  เช่น  การแสดงความสนใจอย่างแท้จริงของผู้บริหาร  การยกย่องชมเชย  การประกาศเกียรติคุณ  การให้วุฒิบัตร  หรือโล่ห การเลื่อนเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ  การส่งเสริมให้เป็นวิทยากร การส่งเข้าร่วมประชุมสัมมนา  การส่งไปฝึกอบรมเพิ่มเติม  การยกย่องให้เป็นครูดีเด่น  การจัดสรรงบประมาณใหเป็นกรณีพิเศษ  การส่งเสริมการจัดการเรียนรูที่เน้นผูเรียนเป็นสําคัญ  เป็นต้น

2. บทบาทในการสนับสนุนการนิเทศการจัดการเรียน  

    การสอน

    ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ดังนี้

    1. การปรึกษาหารือและสร้างความตระหนักในความสําคัญ

        ของการนิเทศการจัดการเรียนการสอน

    2. การวางแผนการนิเทศการจัดการเรียนการสอน

    3. การดําเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมการจัดปฐมนิเทศครูใหม บริการด้านการสอน การสังเกตการสอนของครูในชั้นเรียน การสาธิตการสอนกิจกรรมกลุ่มโรงเรียน กิจกรรมทางวิชาการเป็นต้น

    4. การประเมินผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอน

3. บทบาทในการกํากับ ติดตาม และประเมินผล

     ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสําคัญในการกํากับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ  วิธีการกํากับติดตาม และประเมินผล ดําเนินการได้ดังนี้

     1. การสร้างความตระหนักในความสําคัญของการกํากับ ติดตามและประเมินผล

     2. การวางแผนกํากับ ติดตาม และประเมินผล

     3. การดําเนินการกํากับ ติดตาม และประเมินผล

     4. การสรุปผลการดําเนินการ

 

หมายเลขบันทึก: 359043เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้มาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท