การประเมินความสามารถในการคิด


ในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนนอกจากจะประเมินตามตัวชี้วัดแล้ว ต้องประเมินความสามารถในการคิดของผู้เรียนด้วย เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถตามหลักสูตรฯมากขึ้น

     หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระบุว่าสมรรถนะการคิดเป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มีสอดแทรกอยู่แล้วในการพัฒนาผู้เรียน ถ้าจะให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดแต่ละลักษณะ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทำให้ครบตามกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดนั้น ๆ จึงจะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดนั้น ๆ อย่างยั่งยืน สำหรับการประเมินการคิดแต่ละลักษณะ มีแนวในการวัดความสามารถ ดังนี้

ตัวอย่าง  เกณฑ์การประเมินการคิดวิเคราะห์

  1. ความชัดเจนของการระบุวัตถุประสงค์ของเรื่องที่วิเคราะห์
  2. ความครบถ้วนของส่วนประกอบ/องค์ประกอบที่แยกแยะจากเรื่องที่วิเคราะห์
  3. ความถูกต้องและความชัดเจนของการแสดง/อธิบายรายละเอียดของแต่ละส่วนประกอบ/องค์ประกอบ
  4. ความถูกต้อง/ความเหมาะสมของการจัดความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนประกอบ/องค์ประกอบ

ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมินความคิดสังเคราะห์

1. ความชัดเจนของการกำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างสิ่งใหม่

2. ความเหมาะสมของการเลือกข้อมูล/ส่วนประกอบเพื่อนำมาสร้างสิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์

3. ความเหมาะสมของการสร้างกรอบแนวคิด(ถ้ามี)

4. ความตรงตามวัตถุประสงค์/กรอบแนวคิด ของผลงาน/สิ่งที่สร้างขึ้น

 ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์

1.ความชัดเจนของการกำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ในการสร้างสิ่งใหม่

2.ความหลากหลายของการแสวงหาแนวคิดใหม่

3.ความเหมาะสมของการเลือกแนวคิดใหม่ ๆ

4.ผลงานแปลกใหม่ แตกต่างจากผู้อื่น

 ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

1. ความชัดเจนของการระบุประเด็นปัญหา หรือประเด็นที่คิด

2. ความครอบคลุมของข้อมูลที่รวบรวมเพื่อนำมาอธิบายประเด็น/ปัญหาที่คิด

3. ความหลากหลายของข้อมูลที่รวบรวมเพื่อนำมาอธิบายประเด็น/ปัญหาที่คิด

4. ความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อใช้อธิบายเหตุผลต่อประเด็น/ปัญหาที่คิด

5. ความเหมาะสมของการสรุปข้อมูลที่จะนำใช้อธิบายแนวคิดของตนต่อประเด็น/ปัญหาที่คิด

6. ความเหมาะสมของการนำเสนอคำตอบ หรือทางเลือก

ตัวอย่าง เกณฑ์การประเมินการคิดอย่างเป็นระบบ

  1. ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของเรื่องที่คิด
  2. ความครอบคลุม ครบถ้วนของข้อมูลที่รวบรวม
  3. ความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวม                                        
  4. ความเหมาะสมของการจัดกระทำ/จัดการข้อมูลที่รวบรวมเพื่อนำไปอธิบาย/ตอบ/แก้ปัญหาเรื่องที่คิด
  5. ความเหมาะสมของการนำข้อมูลไปตอบ/แก้ปัญหาเรื่องที่คิด

     ในการนำเกณฑ์ไปประเมิน ผู้สอนต้องปรับเกณฑ์แต่ละข้อให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่องที่จะประเมิน แล้วนำเกณฑ์แต่ละข้อไปเขียนเกณฑ์ระดับคุณภาพ(Rubrics) และนำเกณฑ์ระดับคุณภาพนี้ไปประเมินชิ้นงาน/ภาระงานของผู้เรียนต่อไป

ตัวอย่าง เกณฑ์ระดับคุณภาพ(Rubrics) การคิดวิเคราะห์

เกณฑ์

ระดับ 3

ระดับ 2

ระดับ 1

1.การกำหนดวัตถุประสงค์ของ          การวิเคราะห์

กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ชัดเจน

กำหนดจุดประสงค์ของการวิเคราะห์ค่อนข้างชัดเจน

กำหนดจุดประสงค์ของการวิเคราะห์ไม่ชัดเจน

2.การแยกแยะส่วน ประกอบ/องค์ ประกอบ

 

แยกแยะส่วน ประ กอบ/องค์ ประกอบครบถ้วน

 

แยกแยะส่วน ประ กอบ/องค์ ประกอบเกือบครบถ้วน

 

แยกแยะส่วน ประ กอบ/องค์ ประกอบได้แต่ไม่ครบถ้วน

 

3.การแสดง/อธิบายรายละเอียดของแต่ละ

ส่วนประกอบ/องค์ ประกอบ

แสดง/อธิบายรายละเอียดของแต่ละ

ส่วนประกอบ/องค์ ประกอบชัดเจนทุกประเด็น

แสดง/อธิบายรายละเอียดของแต่ละ

ส่วนประกอบ/องค์ ประกอบชัดเจนเกือบทุกประเด็น

แสดง/อธิบายรายละเอียดของแต่ละ

ส่วนประกอบ/องค์ ประกอบไม่ค่อยชัดเจนเป็นส่วนใหญ่

4.การจัดความ สัมพันธ์ของส่วนประกอบ/

องค์ประกอบ

จัดความ สัมพันธ์ของส่วนประกอบ/

องค์ประกอบได้เหมาะสม

จัดความ สัมพันธ์ของส่วนประกอบ/

องค์ประกอบได้ค่อนข้างเหมาะสม

จัดความ สัมพันธ์ของส่วนประกอบ/องค์  ประกอบไม่ค่อยเหมาะสม

บรรณานุกรม

ทิศนา แขมมณี. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ: การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะ การคิด เรื่อง การบูรณาการทักษะการคิดหลากหลายในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระ. 2547. (เอกสารอัดสำเนา

หมายเลขบันทึก: 357930เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท