จิตตปัญญาเวชศึกษา 132: ม.วลัยลักษณ์ ตอนสอง Sensation Dance


SENSATION DANCE

เราตั้งใจให้น้องๆนักเรียนแพทย์ได้ใช้ฐานกายและฐานใจเยอะๆ ดังนั้นเรื่องนี้ไม่สามารถที่จะทำโดยการบรรยาย lecture ได้ ต้องเป็นการฝึกภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะทางใจนี้สำคัญ ในเมืองไทยเราขณะนี้ไม่ได้มีปัญหาเรื่องคนไม่ใช้ฐานใจ แต่มีปัญหาคือใช้ฐานใจไม่เป็น เป็นทาสของอารมณ์ คิดก็คิดแบบเป็นทาสอารมณ์บ้าง คิดแบบเป็นฐานของกรอบความคิดบ้าง ขาดความเชื่อมโยงสอดประสานของกาย วาจา ใจ

เมื่อสองสามปีก่อนผมเคยพูดถึงวาทะของท่านคานธีที่ว่า "The true happiness is when what you think, what you say, and what you do are in harmony" ความสุขที่แท้นั้นคือเมื่อสิ่งที่ท่านคิด ท่านพูด ท่านทำ สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว ก็มีคนแย้งว่า อันนั้นมันมากไป เอาแค่สิ่งที่พูดกับสิ่งที่ทำก็พอ หรือบางคนยิ่งไปกว่านั้นบอกว่า เอาแค่คิดกับพูดก็ได้ ไม่ต้องทำ

ข้อสำคัญคือ ผู้ comment ทั้งสองท่านเป็นครู!!

คนแรกบอกเป็นนัยว่า การเป็นครูนั้น เราแค่ "เล่นตามบท" คือกระทำไปตาม script แต่เราไม่จำเป็นต้องเชื่อในสิ่งที่เราพูด หรือแม้กระทั่งในสิ่งที่เราทำ คนที่สองนั้นบอกเป็นนัยว่าการสอนเป็นเพียงแค่ lip service คือเทศน์ไปเรื่อยๆ ทำตัวเป็น tape recorders บันทึกจากตำราหนึ่งไปพ่นใส่อีกที่หนึ่งก็ถือว่าสอนแล้ว ไม่จำเป็นต้องถึงกับลงมือกระทำเอง

ตรงนี้ผมว่าหวาดเสียว และน่ากลัวมาก!

อย่างแรกนั้นเป็น acting คือ "แสดง" เฉยๆ และมีแนวโน้มว่าพอเราปฏิบัติเราก็ไม่ได้เชื่อ พอไม่ได้เชื่อจริงๆ เราก็จะแสดงดีๆเฉพาะตอนที่เราอยู่ในบทเท่านั้น คือ ตอนที่เราคิดว่าเรากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ แต่พอออกจากบทเมื่อไร เราก็จะทำในสิ่งที่เราเชื่อแทน เวลาพูดโดยที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ตนเองพูดนั้น พลังก็จะขาดหายไป ไม่มี conviction หรือพูดไปแกนๆ ไม่ in ไม่เกิดอารมณ์ร่วม ไม่เชื่อทั้งที่ตนเองพูด ไม่เชื่อทั้งที่ตนเองทำ งานมันก็จะออกมาแกนๆ กระด้าง ข้อสำคัญคือ นักเรียนหรือคนอื่นบางทีก็จะฟังออกว่าหมอเชื่อ อาจารย์เชื่อ ในสิ่งที่พูดและทำมากน้อยแค่ไหน ก่อให้เกิดความขาดศรัทธา หรือก่อให้เกิด "สังคม fake" เสแสร้งทำตัวเป็นคนดีเฉพาะเท่าที่จำเป็น หรือตามบทเท่านั้นก็พอ

ในอย่างที่สองยิ่งชัดเจน คือ ถ้าเราแค่พูดๆอย่างเดียว แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง นักเรียนนั้นจะไม่ทำตามที่เราพูด แต่จะทำอย่างที่เราทำ ที่เราคิดว่าเรา "เชื่อ" ในสิ่งที่พูดนั้น พอเราไม่ได้ลงมือกระทำเอง เราก็จะขาดความรู้สึก และไม่สามารถถ่ายทอดให้จริงว่าตอนทำจะรู้สึกอย่างไร ผลสุดท้าย "ความเชื่อ"​ในสิ่งที่เราพูดออกมานั้น เป็นความเชื่อผิวเผิน เชื่อตามตรรกะ ไม่ทราบถึงบริบทจริง เหมือนท่องบ่นธรรมะ คัมภีร์ได้หมดจบกระบวนความ แต่ใช้ชีิวิตอย่างไรไม่เคยนำมาปฏิบัติ เหมือนคนทำ KM แต่ใช้แค่ระดับ information ไม่ได้ใช้ระดับ knowledge คือ เก่งแค่เขียน แค่บรรยาย ฐานกายไม่ได้มา support รองรับ ก็จะขาดน้ำหนักไปเยอะ

SENSATION DANCE

หนึ่งในกิจกรรมที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากคือ sensation dance การเต้นรำด้วยความรู้สึก ด้วยหัวใจ เราตัดสฬายตนะออกไปส่วนหนึ่งคือให้หลับตา หลังจากนั้นก็เริ่มให้คนเข้าสู่ "ความรู้สึกภายใน" ทั้งนี้สายตาเป็นประตูและหน้าต่างระหว่างภายในกับภายนอกร่างกาย

จงกรม

หลับตา เดินไม่ชน

 

ร่วมกิจกรรมกันทุกคน แม้แต่ท่านคณบดี!!

จากเดินคนเดียว เราลองเริ่มขยับขึ้นเป็นจับคู่

ไม่ต้องเปิดตา ให้ใช้ฝ่ามือสัมผัสเพื่อน และลอง focus ความรู้สึกไปที่มือของเรา ความรู้สึกถ่ายทอดผ่านมือของเรา ไม่ปรุงแต่งด้วยสายตา คำพูดใดๆ ไม่ใช้เสียง หลังจากนั้นลองเต้นรำไปด้วยกัน

 

sensation dance พี่วิธานและแม่มะ

พอเราเริ่มรู้สึกว่่าน้องๆสามารถ "สัมผัสรับรู้" ได้ค่อนข้างนิ่งดีแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะ "สนุกสนาน" ไปกับความรู้สึกนี้แบบ "ร่วมกัน" ได้ เราก็ step up จังหวะ และวิธีการเต้น ด้วยจังหวะที่เร็วและเร้าใจมากขึ้น

 

มีทั้งแบบคู่ สี่คน สามคน ห้าคน หกคน ฯลฯ

ปลดปล่อย ผ่อนคลายเต็มที่ กลุ่มเด็กต้องให้ระบายพลังเยอะๆ

ส่วนสำคัญที่สุดคือเมื่อทำแล้ว ต้องรีบนำกลับมาสำรวจความรู้สึก สะท้อน และดีกว่านั้นคือ "บันทึก" ลงใน journal of journey ของเรา

เมื่อเราทำกิจกรรม เรากำลังสร้างสรรค์ "ปัญญา" ให้แก่อวัยวะต่างๆของเราเอง ซึ่งแยกส่วนจากสมอง ทุกๆอวัยวะของเรานั้นสามารถฝึกฝนจนเกิดความสอดประสานและระบบอัตโนมัติในการทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้เกิดความลื่นไหล สอดคล้อง และเกิดความสุขสงบ ในนักกีฬาระดับโลก การเคลื่อนไหว ทรงตัว ปฏิกิริยาโต้ตอบ ไม่ได้เป็นไปโดยสมองส่วนบนเท่านั้น หากแต่อวัยวะภายนอกหลักๆจะมีกลุ่มความทรงจำเฉพาะที่สามารถโต้ตอบไปได้อย่างรวดเร็วกว่า เฉียบพลันและแม่นยำ อย่างในวงกอล์ฟ เราจะใช้ทั้งส่วนสมองและ "ปัญญา" จากกล้ามเนื้อแขน มือ หัวไหล่ สะโพก ขา การทรงตัว ทั้งหมดโดยพร้อมเพรียงกัน

รายละเอียดของการ "เรียนรู้" ของอวัยวะต่างๆ น่าตื่นเต้นและน่าสนใจ หากเราได้มีเวลาสนใจมามองหา และเรียนรู้ไปกับอวัยวะของเราด้วย

สะท้อน และบันทึก

แม่มะอยู่ร่วมกับเราแทบจะทุกกิจกรรม ทำทุกอย่างที่น้องๆนักเรียนทำ

หมายเลขบันทึก: 357929เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ที่อื่นๆมีอย่างนี้มั๊ยครับ

เชื่อคะว่า มนุษย์มีเมล็ดพันธ์ที่ซ่อนอยู่..และงอกเงยได้จากการพรวนดิน (ฝึก) และใส่ปุ๋ย ( ให้คุณค่า)

คุณหมอสีอิฐ P

ถ้าหมายถึงที่มีคณบดีมา dance กับเด็กปีสองน่่ะหรือครับ ไม่แน่ใจครับ ไม่ค่อยเคยได้ยิน

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเจอบล๊อกของอาจารย์ เข้ามาอ่านย้อนหลัง ได้อะไรดีๆเยอะเลย

ชอบค่ะ อยากให้มาอีก มาบ่อยๆเลยยิ่งดี

มาทุกวันเลยยิ่งดีใหญ่ค่ะ ^^

สวัสดีครับน้อง kokarn

ฮ่ะ ฮ่า ไปทุกวันก็ไม่ไหวเหมือนกันนะน้อง ปีละครั้งนี่แหละกำลังดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท