กิจกรรมเข้มข้นเฉพาะกลุ่ม


เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปปรับใช้ได้ ถูก ตรง ค่ะ หรือเรียกว่า "กิจกรรมเกาที่คันค่ะ"

       บ่ายวันพฤหัส ที่ผ่านมา เป็นการให้การเรียนรู้เชิงปฏิบัติกับผู้ป่วยที่มี BMI เกิน 25 kg/m2  การให้ความรู้ในผู้ป่วยที่ควรได้รับความรู้เฉพาะเรื่อง เป็นงานที่สำคัญของศูนย์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำไปปรับใช้ได้ ถูก ตรง ค่ะ หรือเรียกว่า "กิจกรรมเกาที่คันค่ะ"

      กลุ่มเรียนรู้เข้มข้น คือโปรแกรมที่จัดให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มที่ควรได้รับข้อมูลเชิงลึกทั้งองค์ความรู้และการปฏิบัติค่ะ หรือเราใช้คำว่า intensive program ซึ่งได้นำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามธรรมชาติที่เรา(ผู้ป่วย ผู้ดูแล และผู้ให้บริการ) ค้นพบและจับได้ว่า...ผู้ป่วยควรได้รับ  ตัวอย่าง เช่น  ผู้ป่วยที่เรื่มมีปัญหาเรื่องไตบกพร่อง ก็จะจัดให้มีการ เข้ารับการอบรม ความรู้เรื่องโรคไต ในการอบรมจะมีการให้ความรู้โดย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และ มีผู้ป่วยตัวอย่างมาสาธิต การใช้ชีวิตกับถุงหน้าท้อง ร่วมซักถามข้อสงสัย...ต่างๆ  ซึ่งได้ดำเนินการไปเมื่อ 21 เมษายน 2553 ที่ผ่านมาค่ะ

      และกำลังจะถึง...14 พฤษภาคม นี้ ศูนย์ส่งผู้ป่วยเข้าอบรมกิจกรรมเข้มข้น เรื่อง ภาวะซึมเศร้า จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าร้อยละ 16-20 ของผู้ป่วยเบาหวาน มีปัญหาซึมเศร้า หรือ ประมาณ 1 ใน 6 คนค่ะ กลุ่มงานจิตเวช คุณหมอหรรษา ลีลาทนาพร (หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช) และพี่ปุ้ย ให้ข้อมูลจะดำเนินการให้การอบรมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โครงการดีๆอย่างนี้ รออยู่แล้ว ศูนย์ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ขอส่งผู้ป่วย 3 รุ่นค่ะ รุ่นละ 50 คน ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง จากประวัติ และ 2Q โดยพยาบาลประจำศูนย์ 2 ท่าน คุณสายฝน เชาว์ดีกรพันธ์ และ คุณสุจินดา ไชยพยอม

     เอ้า....วันนี้จะเอารูปกิจกรรมเข้มข้นเรื่องการออกกำลังกายในผู้ป่วยฺ BMI เกิน มาแลกเปลี่ยนค่ะ กิจกรรมนี้ มีน้องๆ ทีมงานสุขศึกษา (น้องแหม่ม น้องอ้อย น้องพัช) มาสาธิตและนำการออกกำลังกายและจัดทำสมุดติดตามผู้ป่วย เบ็ดเสร็จทั้งกระบวนการเลยค่ะ แนะนำ ทำให้ดู และคอยติดตามผล

     เมื่อเฝ้าสังเกตผู้ป่วย เห็นนะคะ ว่าผู้ป่วยตั้งใจมากทีเดียว มีคุณพี่ท่านหนึ่ง มาช้าไม่ทัน รอบ น้องเราก็แสนน่ารัก คนเดียว ก็นำค่ะ ตัว... ตัว...

   ภายหลังแนะนำ ทำตามกัน ในลีลาออกกำลังกาย(วันนี้เป็นยางยืดค่ะ) แล้ว สมาชิกศูนย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้เข้มข้น จะได้สมุดติดตามผลพร้อมคำแนะนำการบันทึก แล้วก็ต้องทำการบ้านมาส่งค่ะ (ภาพด้านล่าง)

 

ภายในสมุดก็เป็นแบบนี้ค่ะ

      ทีนี้นักสุขศึกษาก็จะได้ทราบว่า สมาชิกของเรา ชอบออกกำลังกายแบบไหนกันน้า บ่อยไหม  อย่างไร 

     ผลลัพธ์หรือคะ....ยังไม่ได้ตามข้อมูลรุ่นก่อนหน้านี้มาโชว์ แต่ที่จะโชว์นี่คือ กลุ่มที่มาทำกิจกรรมรุ่นนี้  คุณพี่ชายไทย รูปร่างใหญ่โตท่านนี้ก่อนเข้าโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้เข้มข้น คุณพี่ เดินไม่ไว ต้องนั่งรถเข็นค่ะ แต่หลังจากเข้าเป็นสมาชิกศูนย์ประมาณ 2 ครั้ง น้ำหนักลดไป สี่ กิโลกรัม เดินมา ออกกำลังกายได้แล้วค่ะ ทีมงานและญาติ ดีใจค่ะ

พยาบาลคุณอ๊อด..ยิ้มแย้ม เบิกบานใจ มั่กๆ และบ่อยๆๆ ก็ตั้งแต่มาทำงานที่ศูนย์ ผู้ป่วยดีขึ้นเห็นๆอ่ะ ญาติก็สบายใจ ค่ะ

 

 

 

   

หมายเลขบันทึก: 357252เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2010 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อันนี้เชื่อได้ครับ
  • การทบทวนวรรณกรรมพบว่าร้อยละ 16-20 ของผู้ป่วยเบาหวาน มีปัญหาซึมเศร้า
  • ถ้าให้เขาคุยกันบ่อยๆๆ
  • ใช้พลังของผู้ป่วย ติดต่อกันแลกเปลี่ยนกันบ่อยๆ จะช่วยได้มากครับพี่มด
  • เอาฝรั่งมาอวด ไปอบรมฝรั่งมา

ขอบคุณค่ะ คุณน้องด๊อกเตอร์ หัวใจพอง เลย ได้แรงใจ และต่อยอดความคิดอีกด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท