นิทรรศการ..Thesis Chang the world


ความตระหนักในหน้าที่นักออกแบบต่อโลกใบนี้

          นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ ได้เสนองานภาคนิพนธ์ ทางด้านการออกแบบ ภายใต้หัวข้อ(Theme) กำหนดคือ
ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(ECO Design) หรือการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design ) เป็นหัวข้อกว้างๆให้ จากนั้นนักศึกษาออกไปศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม เรียนรู้ต่อยอดด้วยตนเอง เพื่อสร้างสรรค์การออกแบบของเฉพาะตน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นพี่เลี้ยง นับเป็นการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่ทางผู้สอนยึดถือ
          ผลผลิตผลออกมา ก็คือตัวผลิตภัณฑ์ โดยสิ่งที่นำเสนอ จะประกอบด้วย ...
1.งานที่เป็นรูปเล่มภาคนิพนธ์    2. งานแบบลงสีบนกระดาษ(Presentation page)      3.งานเขียนแบบ (Working Drawing)      4.งานนำเสนอทางมัลติมิเดีย                    5.สุดท้าย ผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์  (Prototype or model mock up)
          มีการจัดนิทรรศการระหว่าง  7 - 9  พค. 2553  ที่ชั้น 3 อาคาร B   ศูนย์การค้าเซ็ลทรัล  แอร์พอร์ทพล่าซา  เชียงใหม่
           จะขอนำงานมาเสนอ เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่ง ที่เป็นงานแบบทางมัลติมิเดีย  งานจริง มี 20 ชิ้นตามจำนวนนักศึกษา 20 คน งานที่นักศึกษาคิดสร้างสรรค์ออกมา  สรุปเป็นแนวทางในเชิงของ  ECO Design ดังนี้ 
           1.แนวทางงานทดลองทำวัสดุจากเศษ วัสดุเหลือใช้   หรือวัสดุธรรมชาติ  เช่น ...


       ภาพที่ 1 เป็นการทดลองใช้จากกระดาษที่ทิ้ง คือหนังสือพิมพ์ ใบปลิว แผ่นพับ สมุด นิตยสาร ฯลฯ  นำมาอัดผ่านกระบวนการเป็น แผ่น ท่อน และใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ ที่  ออกแบบมาคือฉากกั้นเอนกประสงค์ ลวดลาย สี และพื้นผิวแตกต่างสลับกันได้จังหวะสวยงาม และมีความคงทนแข็งแรง

      ภาพที่ 2 เป็นเก้าอี้ จากกาบกล้วย นำกาบกล้วยมาบดผสม แล้วทำแม่พิมพ์ อัดไปตามแม่แบบ เป็นเก้าอี้ มีความทนทานแข็งแรงมาก สีเป็นทางธรรมชาติแบบดิบๆ


 
            ภาพที่ 3 เป็นเก้าอี้นั่งโครงจากท่อ พีวีซี ใช้ถุงพลาสติกที่เป็นถุงชอปปิ้งที่ทิ้งกันเกลื่อนกลาดหลากสี มาถักเป็นเส้น และผืนทำเป็นส่วนรองรับโครงเก้าอี้ สีสัน หลากหลายไปตามสีของวัสดุ

           ภาพที่ 4เป็นถังขยะ จากกระดาษลูกฟูก ใช้ในงานแสดงสินค้าต่างๆ สามารถต่อกันขยายพื้นที่ทิ้งขยะได้ตามขนาดของงาน   และสามารถออกแบบให้ทิ้งคัดแยกขยะได้ทั้งเปียก  และแห้ง

          ภาพที่ 5 เป็นการออกแบบพัฒนาสื่อการสอนของเด็กประถมในเรื่อง พลังงานธรรมชาติ   โดยใช้สื่อที่เป็นของเล่นภูมิปัญญาไทย นำพัฒนาวัสดุให้มีความคงทน แข็งแรง และหาได้ง่าย เพื่อความสะดวกในการผลิต ที่จะใช้ประกอบการสอน

           2.แนวทางงานที่ใช้พลังงานร่วม หรือเกิดจากประโยชน์ใช้สอยร่วมกันในหน่วยเดียว  เช่น ...

      

         ภาพที่ 6 เป็นการออกแบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ  และตัวเปลือกนอก พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ    โดยใช้ระบบปฎิบัติการ และระบบหน่วยความจำต่างๆ ที่อยู่ใน Case เดียวกัน   แต่สามารถทำงาน Computerได้พร้อมๆกัน 2 จอ  โดยทำงานอิสระต่างกัน    คือ การแชร์ทรัพยากรร่วมกัน  เป็นการศึกษาจากโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งที่มีทุนทรัพย์น้อย  และต้องการให้เด็กได้เรียนComputer อย่างทั่วถึง
         ภาพที่ 7 เต้นท์คลุมรถเอนกประสงค์ ศึกษาเกี่ยวกับชนิดของผ้า ที่ไม่เก็บความร้อน   การพับเก็บที่ไม่ยุ่งยาก โดยออกแบบเป็นได้ทั้งเต้นท์คลุมรถแบบชั่วคราว  หรือจะคลุมแบบถาวรเป็นโรงรถขับรถเข้าไปจอดได้เลย   นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเต้นท์ในการพักแรมได้อีกด้วย

          ภาพที่ 8 เป็นอุปกรณ์สำหรับสุนัขสายพันธ์เล็ก  ศึกษาวัสดุผ้าที่เหมาะสมในการทำความสะอาดง่าย  ออกแบบเป็นที่สำหรับ พกพาสุนัขไปที่ต่าง ด้วยการสะพายหลัง  หรือเข็นในการพกพาก็ได้    นอกจากนี้ยังสามารถเป็นบ้านให้กับสุนัขได้อีกด้วย

          ภาพที่ 9 เป็นการออกแบบชุดปลูกพืชผักสวนครัว ไฮโดรโฟนิคสำหรับผู้ที่อาศัยในที่พักอาศัย แบบคอนโดมิเนี่ยม  หอพัก   อาคารชุด ที่ไม่มีพื้นที่มากนัก โดยจะออกแบบให้ใช้กับระเบียง จะแขวนหรือวางตั้งได้

          3.แนวทางการรวมอุปกรณ์ ทำความสะอาดขยะและสิ่งปฎิกูลต่างๆ  เช่น ...

          ภาพที่ 10 เป็นรถทำความสะอาดตลาดสด ศึกษาตลาดจริงด้านกายภาพ และระบบทำความสะอาดของตลาดสดแห่งหนึ่ง  มีอุปกรณ์ทำความสะอาดครบตามความจำเป็น   บรรจุไว้ในรถพร้อมที่ฉีดน้ำ สามารถซอกซอนทำความสะอาดไปตามพื้นที่ได้ด้วยการเข็นที่ง่าย

          ภาพที่ 11 เป็นอุปกรณ์ขับถ่ายสำหรับผู้สูงวัย ใช้ได้ทั้งผู้สูงวัยที่มีพี่เลี้ยง และผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตนเองได้  ศึกษาวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีน้ำหนักเบา ออกแบบใช้งานสะดวก  สามารถพับให้แบนราบเพื่อระบบการขนส่ง หรือนำพาเดินทาง  นอกจากนี้ยังปรับระดับความสูงในการนั่งสำหรับผู้ที่ หัวเขาไม่ดีต้อองการนั่งแบบสูงได้อีกด้วย

          นี่เป็นเพียงตัวอย่าง ที่มานำเสนอเท่านั้น     ถือเป็นงานเรียน ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข เวลา และศักยภาพของวัยวุฒิที่เป็นนักศึกษาอยู่   ถ้ามีการนำไปต่อยอด ศึกษาเพิ่ม ทั้งในด้าน วัสดุการผลิต กลไกที่ใช้ และองค์ประกอบอื่นๆ เป็นกรณีไป ..จะสมบรูณ์ในการนำไปผลิตเป็นจำนวนมาก (Mass Production)

 

          และได้กล่าวทิ้งท้ายกับนักศึกษาไว้ว่า  การจบการศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการยุติ "วิธีการเรียน"    ในมหาวิทยาลัยตามหลักสูตรเท่านั้น  .. 

         แต่ต่อไปนี้ข้างหน้าคือ"การศึกษา" ที่แท้จริงของเขา  "Change the world" ที่เขาตั้งชื่อรุ่นนั้น ..ท้าทาย ความตระหนักของนักออกแบบ เพื่อโลกสีเขียวใบนี้มาก

หมายเลขบันทึก: 356844เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

งานน่าสนใจมากเลยคะอาจารย์

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ECO Design) หรือการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design ) พรุ่งนี้วันสุดท้ายแล้วสินะคะ ไม่ทราบว่างานมีถึงกี่โมงคะ อย่าลืมนำข่าวดี ๆ อย่างนี้บอกอีกนะคะ

แวะมากอยละครับ

กระเป๋า สุ นัข น่ารัก จัง พี่ ฟาง

ผลงานผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้น สุดยอกมากๆเลยค่ะ มีประโยชน์ต่อสังคมมากๆ กว่าจะได้งานที่เสร็จสมบูรณ์ก็เล่นเอาแรงกาย แรงความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ดูแล้วเหนื่อยกันเลยทีเดียว สุดท้ายความสำเร็จที่ได้มา ก็เป็นความภาคภูมิใจต่อตัวเองและสังคมจริงๆ

..ดีใจด้วยนะคะ ^___________________________^

เจ๋งมากๆ ค่ะท่านอาจารย์ ใกล้วันสิ่งแวดล้อมพอดีเลย รักเรา รักษ์สิ่งแวดล้อม ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท