AI


ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์
เราสามารถกล่าวได้ว่า ระบบความฉลาด หมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถแสดงถึงความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI AI หมายถึงการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับระบบการประมวลผลและการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อแต่ละสถานการณ์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติงานแทนที่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ทั้ง AI และ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการต่างถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การดำเนินการด้านข้อมูลของบุคคล และ/หรือ องค์กรมีความสะดวกรวดเร็ว และถูกต้อง แต่ AI จะมีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศโดยทั่วไป ซึ่งเราสามารถสรุปเป็น 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
1. AI ทำการประมวล ทั้งสัญลักษณ์ และตัวเลข ปกติระบบ AI จะถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประมวลสัญลักษณ์มากกง่าตัวเลข
2. AI เป็นชุดคำสั่งแบบมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ AI ใช้กฎพื้นฐานในการคิดและปฏิบัติของบุคคล และพยายามจำลองความรู้สึก และประสบการของผู้เชี่ยวชาญในการตัดสินแต่ละปัญหามาใช้ประกอบการประมวลผลแทนการหาคำตอบที่แน่นนอนจากหลักการทางคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
3. ชุดคำสั่งของระบบ AI จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบผสมตามที่ถูกกำหนดมาเพื่อใช้ในการประมวลผลตามตามลักษณะของงาน
2 ประเภทของ AI
AI แยกระบบความฉลาดออกเป็นหลายสาขาด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำมากล่าวเพียง 5 สาขาดังต่อไปนี้
1. การประมวลภาษาธรรมชาติ บางครั้งเรียกว่าภาษาธรรมชาติ เป็นการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษาที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจะวัน
2. ระบบภาพ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลอกเลียนการมองเห็นของบุคคลโดยมีส่วนรับสัญญาภาพที่ทำหน้าที่รับสัญญาแสงเพื่อทำการแปรรูปและประมวลผลตามที่ถูกกำหนด
3.ระบบเครือข่ายเส้นประสาท เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้จำลองการทำงานของสมอง และระบบเส้นประสาทของมนุษย์
4. หุ่นยนต์ เป็นสาขาสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป หุ่นยนต์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจำลองการทำงานให้มีลักษณะเหมือนมนุษย์
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบคอมพิวเตอร์ทีนำมาพัฒนาให้สามารถรับรู้ และทำงาน เฉพาะด้านได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ ปัจจุบันระบบผู้เชียวชาญเริ่มได้รับความนิยม และนำมาใช้ในทางธุรกิจหลายอย่าง 

AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

       Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
      - สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้

       Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร

       Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

       Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #ai#ปัญญาประดิษฐ์
หมายเลขบันทึก: 356832เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท