สถิติร้ายเกี่ยวกับเหล้า


อุบัติเหตุ ปัญหามากมาย

สถิติร้ายเกี่ยวกับเหล้า

            เทศกาลสงกรานต์เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ  พร้อมสถิติการตายของประชาชนคนไทยเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ได้ลดน้อยถอยลงกว่าปีที่ผ่านมา  โดยมีสาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากผู้ขับขี่ “ดื่มเหล้า”จนครองสติไม่อยู่  ซึ่งสัมพันธ์กับสถิติในปี 2544 (ขออภัยที่ข้อมูลล้าหลังไปมาก)ที่ระบุว่าคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร 12,544 คน บาดเจ็บ 946,900 คน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 122,400 – 189,040 ล้านบาท 

             มีคำถามถามว่า ทำไมคนดื่มเหล้าถึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเพิ่มขึ้น  คำตอบอยู่ที่ผลการศึกษาของ “หน่วยจัดการความรู้เพื่อถนนปลอดภัย คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี” ที่พบว่ายิ่งมีระดับแอลกอฮอร์ในเลือดเข้มข้นมากเท่าไหร่  ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นเท่านั้น ยก ตัวอย่างเช่น

              -ระดับแอลกอฮอร์ 20-40 มก.เปอร์เซ็นต์ (ประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังการดื่มเบียร์ 1 ขวด) จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม 3-5 เท่า

               -ระดับแอลกอร์ฮอร์  50-70 มก.เปอร์เซ็นต์ จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 6-17 เท่า

                สรุปยิ่งดื่มมากเท่าไหร่  โอกาสการเสี่ยงต่อความตายจากอุบัติเหตุจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

                ถามต่อไปอย่างคนอยากรู้อยากเห็นอีกว่า  ทำไมการมีระดับแอลกอร์ฮอร์มากในเลือดถึงเสี่ยงเช่นนั้น  คำตอบที่งานวิจัยนี้อธิบายไว้เช่นกันว่า

                 -ทำให้การมองเห็นแคบลง มัวลง เห็นภาพซ้อน  ในสภาพเช่นนี้ ผู้ขับขี่จึงรับรู้ต่อความเคลื่อนไหวรอบตัวได้น้อยลง

                  -ทำให้การสั่งการของสมองไปยังกล้ามเนื้อช้าลง   เมื่อคับขันจึงอาจแตะเบรกได้ช้ากว่าปกติ และหักรถหลบหลีกได้ช้ากว่าปกติ

                  -ทำให้ลำพองใจในลักษณะ “เห็นสิบล้อเป็นรถอีแต๋นหรือซาเล้งได้”

                  เมื่อกล่าวยาวเหยียดมาถึงเพียงนี้  ผมคงต้องสาธยายต่อไปอีกว่า “เหล้านั้นทำร้ายชีวิตผู้คนและสังคม”มากมายกว่านี้อีก  โดยเฉพาะต่อครอบครัว ซึ่งจากการวิจัยชุมชนรอบโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 7 ชุมชน พบว่าครอบครัวที่ดื่มสุรามีโอกาสเกิดความรุนแรงในครอบครัวสูงกว่าครอบครัวที่ไม่ดื่มถึง 3.84 เท่า  และเมื่อนำเอาข้อมูลคดีอาญาของศาลจังหวัดลพบุรีมาเทียบเป็นชุดความผิด  จะพบว่าการดื่มสุรานำไปสู่การกระทำความผิด  ดังนี้

                  1.ความผิดทำให้เสียทรัพย์ ร้อยละ  59.1

                  2.ความผิดเกี่ยวกับเพศ  ร้อยละ  34.8

                  3.ความผิดต่อร่างกาย ร้อยละ 20.8

                  4.ความผิดฐานบุกรุก  ร้อยละ  16.1

                  5.ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา  ร้อยละ  10.5

                   เหล่านี้ยังไม่นับปัญหาเรื่องสุขภาพ  ที่พบว่าทำลายทุกอวัยวะที่ไหลผ่าน  เกิดปัญหาสมองบวม  เซลล์สมองลีบ  หัวใจทำงานหนัก  กระเพาะอาหารถูกทำลาย  เป็นโรคตับแข็ง  ฯลฯ

                   เขียนชี้ชัดๆ ถึงขนาดนี้แล้ว  หากจะยังส่งเสริมให้ดื่มกินกันเป็นบ้าเป็นหลังแบบเดิมอีก  ก็ไม่รู้จะพูดอะไรอีกแล้วครับ

                                              ............................. 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 356176เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อาจารย์คะ

นักดื่มส่วนใหญ่มักจะอ้างเรื่องสุขภาพค่ะ  เช่น ความดัน

บางท่านว่าไวน์แดง ไวน์ขาววันละแก้วเพื่อสุขภาพ หรือ บางท่านว่าหมอแนะนำให้ทานเบียร์วันละแก้วน่ะค่ะ   ^_^

ขอบคุณนะคะ

คุณชาลาครับ คนชอบดื่มก็มักชอบอ้างเป็นธรรมดาครับ ใครอ้างแบบนี้ผมไม่ไปเถียงด้วยหรอกครับ หากเป็นคนรู้จักมักคุ้นก็เพียงแต่บอกว่า ดื่มน้อยหน่อย ถ้าไม่ดื่มได้ก็ยิ่งดี เพื่อสุขภาพของคุณเองนะครับ

ดื่มสักแก้ว เพราะเป็น ความดันต่ำ  *-*

  • สวัสดีครับคุณครู  แวะมาเยี่ยมครับ
  • ดื่มเหล้า ดื่มเบียร์เป็นสุภาพบุรุษ เป็นลูกผู้ชายไม่ใช่หรือครับ อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับในสังคม ผมว่าตามที่เห็นในโฆษณาเครื่องดื่มมึนเมาหลายๆ ยี่ห้อ ที่พยายามซื้อเวลาโฆษณาจากช่องตอนดึกๆ อย่างน้อยๆ ขอให้ได้โผล่สัก 2 - 3 นาที เพื่อพยายามสร้าง Brand Image ในการช่วยเหลือสังคมบ้าง  แสดงความเป็น     สุภาพบุรุษบ้าง  สังคมยอมรับบ้าง   ต่างๆ นานา
  • เป็นไปได้ไหมครับครู  ที่งานโฆษณาชิ้นโบว์แดงพวกนั้น  จะดึงดูดความสนใจของท่านผู้ชมทางจอทีวี  มากกว่าสื่อที่แสดงถึงอันตรายของเครื่องดื่มมึนเมาต่าง ๆ
  • ไม่ใช่เพราะว่าผมดื่มกินเครื่องดื่มพวกนี้ไม่ได้ เพราะผมเป็นมุสลิม  ผมถึงได้คิด และ เขียนแบบนี้นะครับ  อีกอย่าง ผมยังชื่มชมผู้คนที่นับถือศาสนาที่ไม่ได้ห้ามอย่างจริงจังในการดื่มเครื่องดื่มมืนเมา
  • สุดท้ายเมื่อไหร่  หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะจริงจังกับเรื่องนี้ซะที!!!

แก้ไขครับครู

  • ผมยังชื่มชมผู้คนที่นับถือศาสนาที่ไม่ได้ห้ามอย่างจริงจังในการดื่มเครื่องดื่มมืนเมา แล้วไม่ดื่มเหล้า...ผมชื่นชมยิ่งนักครับ

ปนัดดาครับ ดื่มเพราะความดันต่ำ วงการแพทย์ต้องหาคำตอบให้ล่ะครับว่า ใช่หรือเปล่า

spidy ครับ กฎหมายควบคุมออกมาแล้วครับ กำลังกวดขันเอาจริงกันอยู่ น่าจะดีขึ้นนะครับ ใจเย็นสักนิด

พูดต่อไป เขียนต่อไปครับ ผมเอาใจช่วย

จนกว่าเหล้าจะแพ้เราครับ

เอ้าช่วยกันหน่อยเร้วววววววววว

คุณโสภณครับ เรื่องนี้ยากมากครับ ชายชอบดื่ม ผลประโยชน์บริษัทก็มาก จึงต้องเหนื่อยกันอีกนานๆๆๆๆๆ

อาจารย์ครับ ของทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ แอลกอฮอร์เองก็มีประโยชน์ โดยเฉพาะเป็นตัวทำละลายที่ดีของสารบางชนิด ดังนั้นจะเห็นว่าต้องมีแอลกอฮอร์ผสมในยาบางตัว การดื่มไวน์ในบปริมาณน้อยๆ ก็ให้ผลดีได้ครับเพราะไปละลายไขมันที่ไม่จำเป็นบางตัวในหลอดเลือดได้ แต่ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะไวน์ไม่ใช่มีให้ดื่มกันได้ทุกคน สรุปแล้วไม่ว่าจะไวน์ลดโรคหัวใจ หรือเบียร์เพิ่มความดัน ก็ไม่ใช่เหตุผลที่คนจะไปอ้างดื่ม ไม่อย่างนั้นคนที่ไม่มีเงินซื้อไวน์หรือเบียร์ดื่มคงตายกันหมดแล้ว และสิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามวัยอย่างพอเพียง และพักผ่อนให้เพียงพอครับ หลักพื้นฐานนี้พูดกันมานานแล้ว แต่คงอยากที่จะให้คนชอบดื่มเข้าใจครับ

เห็นด้วยกับคุณคิดคมครับ ออกกำลังกายวันนิดจิตแจ่มใส พักผ่อนได้ตามวัย กายสดชื่น ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท