การออกกำลังกายเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน


การออกกำลังกายเพื่อชีวิตยั่งยืน
ออกกำลังกายสะสม” เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน
ออกกำลังสะสม" เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน 
     การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและยั่งยืนนั้นจะสร้างสุขภาพที่ดีตลอดไป เชื่อว่าหลายคนทราบถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างดี 
แต่ถ้าได้มีกิจกรรมที่เป็นเป้าหมายในการออกกำลังกาย ก็จะทำให้เกิดแรงกระตุ้นและแรงจูงใจให้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โปรแกรม
ออกกำลังสะสม จึงเป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทยได้สร้างโอกาส
ให้แก่ตนเองในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 

     ออกกำลังสะสมมีรูปแบบและกติกาอย่างไร
     การออกกำลังสะสม มี 2 รูปแบบ (ดังแผนภูมิ) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
		
     ออกกำลังสะสม	
สะสมระยะทาง		สะสมเวลา
เดิน-วิง		     กิจกรรมออกกำลังกายทุกแบบ
(เครดิตไม่เกิน 5 กม./วัน)       (เครดิตไม่เกิน 1ชม./วัน)
สะสม 25 สัปดาห์*		สะสม 25 สัปดาห์*
ภายใน 6-7 เดือน		ภายใน 6-7 เดือน

     ครบเกณฑ์	
     หมายเหตุ : หรือตามที่กำหนดของแต่ละหน่วยงาน
     1. สะสมระยะทาง : เป็นโปรแกรมออกกำลังสะสมสำหรับกิจกรรมการเดิน-วิ่ง โดยต้องสะสมระยะทางให้ได้ 15 กิโลเมตร ต่อสัปดาห์ 
ถ้าเดิน-วิ่ง สัปดาห์ละ 5 วัน ท่านจะต้องเดิน-วิ่ง เฉลี่ยวันละ 3 กิโลเมตร หรือมากกว่าก็ได้ 
อย่างไรก็ตามจะให้เครดิตไม่เกิน 5 กิโลเมตร
ต่อวัน หมายความว่า ถ้าเดิน-วิ่ง วันละ 10 กิโลเมตร จะได้รับการบันทึกสะสมเพียง 5 กิโลเมตรเท่านั้น เพื่อเป็นเงื่อนไขให้ต้องออก
กำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ทั้งนี้ต้องออกกำลังกายโดยเดิน-วิ่ง สะสมให้ได้ 25 สัปดาห์ ภายในระยะเวลา 6-7เดือน หรือน้อย
กว่านี้ตามที่กำหนดของแต่ละหน่วยงานจึงจะถือว่าครบเกณฑ์ 
     2. สะสมเวลา : เป็นโปรแกรมออกกำลังสะสมสำหรับกิจกรรมการออกกำลังกายทุกวิธี 
ทั้งที่อยู่กับที่หรือเคลื่อนที่(รวมทั้งการเดิน
หรือวิ่งด้วย) และ สามารถทำกิจกรรมออกกำลังกายหลายๆ วิธีรวมกันก็ได้ โดยต้องสะสมเวลาให้ได้ 150 นาที ต่อสัปดาห์ ถ้าออกกำลัง
กายสัปดาห์ละ 5 วัน ท่านจะต้องออกกำลังกายเฉลี่ยวันละ 30 นาที และไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายครั้งเดียวให้ได้ 30 นาที อาจแบ่ง
เป็น 2 ครั้งๆ ละ 15 นาที หรืออาจจะออกกำลังกายมากกว่าวันละ 30 นาที ก็ได้ อย่างไรก็ตามจะให้เครดิตไม่เกิน 1 ชั่วโมง ต่อวัน หมายความ
ว่า ถ้าออกกำลังกายวันละ 2 ชั่วโมง จะได้รับการบันทึกสะสมเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น 
เพื่อเป็นเงื่อนไขให้ต้องออกกำลังกายอย่าง
น้อยสัปดาห์ละ 3 วัน และต้องออกกำลังกายสะสมให้ได้ 25 สัปดาห์ภายในระยะเวลา 6-7 เดือน หรือน้อยกว่านี้ตามที่กำหนดของแต่ละ
หน่วยงานจึงจะถือว่าครบเกณฑ์

     กลุ่ม/ชมรม 
     ที่จะเข้าร่วมโปรแกรมนั้นสามารถเลือกออกกำลังสะสมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือทั้งสองรูปแบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรมการ
ออกกำลังกายที่กลุ่ม/ชมรมทำเป็นประจำ และความสามารถของกลุ่ม/ชมรม ในการบันทึกข้อมูลโดยไม่เป็นภาระจนเกินไป ส่วนสมาชิก
หรือผู้เข้าร่วมออกกำลังกายเมื่อเลือกรูปแบบสะสมใด ก็ควรใช้รูปแบบนั้นไปจนครบเกณฑ์ เพื่อสะดวกต่อการประเมิน

     สำหรับท่านที่ออกกำลังกายอยู่แล้ว 
     และออกกำลังกายด้วยความแรงระดับปานกลางถึงหนัก (เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นแรงและเร็ว หายใจลึก ไม่สามารถพูดจบประโยค 
รู้สึกเหนื่อย หรือเหนื่อยมาก หรือเหนื่อยที่สุด) ครั้งละ 20 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันก็ถือว่าครบเกณฑ์

     วิธีการออกกำลังกายในโปรแกรม "ออกกำลังสะสม" ที่จะได้รับบัตรสุขภาพกิตติมศักดิ์ จากกระทรวงสาธารณสุขจะเน้น
เฉพาะการออกกำลังกายที่เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ว่าหนักหรือเบา เช่น การออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของหัวใจและปอด การออก
กำลังกายเพื่อความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 

     ออกกำลังสะสมแล้วได้อะไร 
     ท่านจะรู้สึกถึงความแข็งแรงที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และท่านยังจะได้รับ 
     - บัตรสุขภาพกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติและชื่อเสียงแก่ตัวท่านสามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค และบริการ
ของบริษัท ห้างร้านต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ หรืออื่นๆ ตามที่จะแจ้งให้ทราบ โดยมีอายุ 1 ปี 
     - ระหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 
     - มีเพื่อนเพิ่มขึ้น และสนุก

หมายเลขบันทึก: 356174เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท