โรงพยาบาลฟิต คนไข้เฟิร์ม ระยะ 2


อ่านบทความของโครงการระยะแรกที่นี่ http://gotoknow.org/blog/oscar/319118

 

จากความสำเร็จของโครงการในระยะแรก เป็นที่มาของโครงการระยะที่สอง(ขยายผล) ตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2552 ได้แก่ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร.พ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น ร.พ.คีรีมาศ สุโขทัย ร.พ.พุทธชินราช พิษณุโลก และร.พ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ โดยใช้วิธีจับคู่ประกบกับโรงพยาบาลนำร่องระยะแรก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพียงไม่ถึง 6 เดือน ก็เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมดังตัวอย่างความสำเร็จของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พอสังเขปดังนี้

กระบวนการให้บริการผู้ป่วยที่มาใช้บริการฝ่ายจักษุวิทยา

  • ลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยนัดตรวจตาทั่วไป โดยเปลี่ยนเป็นนัดตามช่วงเวลา เป็นผลให้ cycle time ของผู้ป่วยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 17 นาที เหลือ 2 ชั่วโมง 7 นาที
  • ลดระยะการเดินทางทำกิจกรรมต่างๆ ก่อนพบแพทย์ จาก 121.8 เมตร เหลือ 108.5 เมตร
  • ลดความสับสนในการเดินทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย เนื่องจากป้ายบอกห้องตรวจไม่ชัดเจนและ ไม่ต่อเนื่องกัน
  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้รับการตรวจรักษาเสร็จภายในเวลา 45 นาที คิดเป็น 90%

 

การจัดการกระบวนการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ (Improving flow of colorectal surgery)

  • ลดระยะเวลาการรอคิวผ่าตัด จากเดิม 6 สัปดาห์ เหลือ 4.5 สัปดาห์
  • สามารถใช้ประโยชน์ห้องผ่าตัดอย่างเต็มศักยภาพ จากเดิม 46.75% เพิ่มขึ้นเป็น 80.06%
  • ลดอัตราการเลื่อนผ่าตัดจาก 35.29% เหลือ 7.69%
  • จำนวนผู้เข้ารับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพิ่มจาก 72 คน/เดือน เป็น 88 คน/เดือน
  • ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบการผ่าตัด เพื่อลดระยะเวลาในการรับบริการลง โดยอัตราความคุ้มค่าในการเข้ารับบริการ จากเดิม 86.9% เป็น 95%

 

โครงการลดระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคเลือด ภปร.3

  • ระยะเวลาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้ในการมารับบริการ ตั้งแต่ยื่นใบนัดจนถึงรับใบนัดตรวจครั้งต่อไป ลดลงจาก 273 นาที เหลือ 198 นาที

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ยังมีรายละเอียดอีกมากจากความสำเร็จของทีมงานแต่ละโรงพยาบาลที่ทุ่มเทในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการทำงานให้ดีขึ้น ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งผลลัพธ์ยังไม่สำคัญเท่ากับวิธีการ เพราะสิ่งที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้นี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคลากรด้านสาธารณสุขที่อยู่ตามสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน แน่นอนคนที่ได้รับประโยชน์สุดท้ายก็คือประชาชนทุกคนที่จะต้องเข้ารับบริการเมื่อยามเจ็บป่วยนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #lean
หมายเลขบันทึก: 355982เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2010 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท