ม.ทักษิณ จัดอบรมและพัฒนาบุคลากร “การสร้างองค์กรแห่งความสุขในการทำงาน” (Happy Workplace)


ม.ทักษิณ จัดอบรมและพัฒนาบุคลากร “การสร้างองค์กรแห่งความสุขในการทำงาน” (Happy Workplace)

ม.ทักษิณ จัดอบรมและพัฒนาบุคลากร

“การสร้างองค์กรแห่งความสุขในการทำงาน” (Happy Workplace)

 

 

 

 

            เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553  รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ  สายธนู อธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ  เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรม “การสร้างองค์กรแห่งความสุขในการทำงาน”  (Happy Workplace)   โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย  ชำนิ  รองธิการบดี กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า  บุคลากร คือทรัพยากรที่สำคัญยิ่งในการบริหารและการพัฒนาองค์กร ซึ่งหน่วยงานทุกระดับต้องให้ความสำคัญ และพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน และมีความเชื่อมั่น ศรัทธา ในองค์กร  ที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากรเพราะเป็นหัวใจหลักของการพัฒนามหาวิทยาลัย และเพื่อเสริมสร้างให้บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสูง เหมาะสมที่จะปฏิบัติภาระหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยทักษิณ จึงได้จัดโครงการอบรม “การสร้างองค์กรแห่งความสุขในการทำงาน”  (Happy Workplace) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข  สร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรให้เห็นความสำคัญในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันในองค์กร และเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดีและมีความพึงพอใจสูงสุด โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ จำนวน 212 คน  เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมตามโครงการนี้แล้วคาดว่า บุคลากรในมหาวิทยาลัยทักษิณ จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข  สามารถเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน และผู้ใช้บริการได้รับการบริการที่ดีเกิดความพึงพอใจสูงสุด

            การอบรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 ได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ชาญวิทย์  วสันต์ธนารัตน์  ซึ่งจบการศึกษาในระดับแพทยศาสตร์บัณฑิต จากศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลชลบุรี และผู้จัดการแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และผู้ทรงคุณด้านแรงงาน ของ สสส. กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

            ทรัพยากรบุคคลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ให้สามารถดำเนินงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่ว่า มหาวิทยาลัยทักษิณ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ สู้งาน มีคุณธรรม จริยธรรม มี่ทักษะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเองสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยยังมุ่งแสวงหาและพัฒนาองค์ความรู้ด้วยการวิจัยจากปัญญาและภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาตะวันออก เพื่อบูรณาการร่วมกับภูมิปัญญาสากล และสู่ชุมชนผ่านระบบบริการวิชาการที่หลากหลาย  รวมทั้งทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสืบสานดำรงไว้ซึ่งเอกลักาณ์ของท้องถิ่นและของชาติ  ประกอบกับ ในการดำเนินชีวิตของคน ๆ หนึ่งประกอบด้วยสองด้านเสมอ ทั้งด้านชีวิตส่วนตัวและด้านชีวิตการทำงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารทั้งสองด้านให้สมดุลกัน ให้เป็นการทำงานที่เกื้อกูลการใช้ชีวิตและตอบสนองต่อการใช้ชีวิตที่ดี ตลอดจนถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี แน่นอนเมื่อชีวิตมีความสุขย่อมนำไปสู่การทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทรัพยากรบุคคลถือได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความสำเร็จของทุกองค์กร จึงได้กำหนดเครื่องมือในการสร้างความสุขในชีวิตของคนทำงานที่เรียกง่ายๆ ว่า Happy 8 Workplace ประกอบด้วย

  1. Happy Body คือ การมีสุขภาพที่ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยการรู้จักใช้ชิวิต  รู้จักกิน รู้จักนอน ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความสุข
  2. Happy Hrart คือ เป็นคนมีน้ำใจงาม (ใจดี) มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
  3. Happy Relax คือ การรู้จักผ่อนคลายความตึงเครียด อันเกิดจากสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต
  4. Happy Brain คือ การรู้จักหาความรู้ใส่ตนเองและรู้จัดพัฒนาตนเองตลอดเวลา จากแหล่งต่าง ๆ อันจะนำไปสู่มืออาชีพในการประกอบการงาน ซี่งจะก่อให้เกิดความมั่นคง และความก้าวหน้าในการทำงาน “เรียนเพื่อรู้มีปัญญา ก้าวหน้าในชีวิต”  ลักษณะของการที่คนเราจะเป็นมืออาชีพได้ ต้องประกอบด้วย มีความรู้ในงาน  มีความรับผิดชอบ  มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีระเบียบวินัยตรงต่อเวลา  สอนคนอื่นได้ในงานที่ตนรู้ (ความเป็นครู)
  5. Happy Soul คือ การมีคุณธรรม มีหิริ โอตัปปะ (ความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำบาป) คนดีต้องมีคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์ นำความสุขมาสู่องค์กร มีความเชื่อมั่น ศรัทธาในศาสนาและมีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต
  6. Happy Money คือ การบริหารเงินเป็น โดยการรู้จักเก็บรู้จักใช้เป็นหนี้แต่เพียงพอดี มีการใช้ชีวิตที่เหมาะสม
  7. Happy Family คือ การมีครอบครัวดี มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง โดยการให้ความสำคัญกับครอบครัวและครอบครัวคอยเป็นกำลังใจที่ดีในการทำงานและการดำเนินชีวิต
  8. Happy Society คือ การสร้างสังคมที่ดี มีความรักสมัครสมานสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อสังคมที่ตนทำงานและพักอาศัย มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี

            การสร้างแนวคิดรูปแบบการดำเนินงานคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรของตนเองเพื่อสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาคนในองค์กร อันจะนำไปสู่องค์กรที่เข้มแข็งและมีความสุขอย่างแท้จริง กิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรทำอยู่ก็เพื่อสร้างความสุขให้กับทุกคน Happy Workplace  นั่นเอง

 

 

           

คำสำคัญ (Tags): #ไหม ม.ทักษิณ
หมายเลขบันทึก: 355133เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2010 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท