TU LIBS
นาง ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนโครงการและการใช้สถิติสำหรับการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานสำนักหอสมุด


การเขียนโครงการ การใช้สถิติสำหรับการทำวิจัย การอบรมเชิงปฏิบัติการ

        วันนี้ (30 เมษายน 2553) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเกียรติจากอาจารย์สมสุณีย์ ดวงแข เลขานุการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) มาเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเขียนโครงการและการใช้สถิติสำหรับการทำวิจัยเพื่อพัฒนางานสำนักหอสมุด

        กำหนดการเริ่มจากผู้อำนวยการสำนักหอสมุดอธิบายที่มาของการจัดอบรมว่าเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้งานวิจัยแก่บุคลากรรุ่นใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปีเพื่อแนะนำวิธีคิดตั้งหัวข้องานวิจัย วิธีวิเคราะห์ วิธีปฏิบัติการวิจัย วิธีสร้างแนวคิดเพื่อปรับปรุงงานประจำที่ผู้เข้าอบรมคิดว่าควรจะต้องมีการศึกษาหาความรู้ หาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อทราบเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา  เพื่อให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจบริการของสำนักหอสมุด เป็นต้น

      

         วิทยากรอธิบายโครงร่างการวิจัยว่าควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ

1. ชื่อเรื่อง

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

4. ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

5. สมมติฐาน (ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ) และกรอบแนวความคิดในการวิจัย (ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ)

6. ขอบเขตของการวิจัย

7. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ)

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

9. ระเบียบวิธีวิจัย

10. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

11. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย

12. บรรณานุกรม

13. ภาคผนวก (ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ)

14. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย

        วิทยากรบรรยายให้ทราบวิธีการบรรยาย "ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย" โดยส่วนใหญ่จะเป็นการทราบสาเหตุของปัญหาที่วิจัยเพื่อสร้างแนวทางการแก้ปัญหาของหัวข้องานวิจัยนั้น ๆ เช่น งานวิจัยความพึงพอใจเกี่ยวกับบริการ book delivery ของสำนักหอสมุด ได้ทราบสาเหตุของความไม่พึงพอใจ มีข้อมูลประกอบการสร้างแนวทางแก้ปัญหางานที่ผู้ใช้ยังไม่พึงพอใจ ไม่ควรนำวัตถุประสงค์มาแปลงวิธีการเขียนเป็นประโยชน์ของงานวิจัย วิธีคิดของการเขียนประโยชน์ควรแจ้งว่าหากบรรลุวัตถุประสงค์จะได้อะไรตามมาซึ่งนั่นก็คือการแปลงความสำเร็จของวัตถุประสงค์ไปเป็นผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน   ระเบียบวิธีวิจัย  ระยะเวลาในการดำเนินงานจะเริ่มด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง เช่น เสนอโครงร่างงานวิจัยเพื่อขออนุมัติ  รวบรวมรายชื่อผู้ใช้บริการ book delivery  จัดทำแบบสอบถาม  ทดสอบการใช้แบบสอบถาม งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย โดยคิดจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล การเขียนบรรณานุกรม  ประวัติผู้ดำเนินการวิจัย  ภาคผนวก (ถ้ามี)

        วิทยากรได้อธิบายความหมายของการวิจัยว่าคือ กระบวนการในการหาความรู้ใหม่ หาข้อเท็จจริง หรือสอบย้ำความรู้ที่มีเดิม โดยประเภทของการวิจัยแบ่งได้หลายประเภท เช่น

  -แบ่งตามจุดมุ่งหมายได้แก่ การวิจัยบริสุทธิ์ และการวิจัยเชิงประยุกต์

  -แบ่งตามแหล่งข้อมูลการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร และการวิจัยเชิงการทดลอง

ขั้นตอนการทำวิจัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. เลือกหัวข้อการวิจัย

2. ตั้งสมมติฐาน กำหนดขอบเขตประชากรและตั้งสมมุติฐาน

3. การออกแบบวิจัย การสุ่มตัวอย่าง  การสร้างเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง  และจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการทดสอบเครื่องมือ  เก็บข้อมูล เช่นการใช้แบบสอบถาม  การสัมภาษณ์ เป็นต้น

5. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือต่าง การประมวลข้อมูล  และแปลความหมาย

6. เสนอผลการวิจัย  สรุปผลการวิจัย  และข้อเสนอแนะ

        มีแบบฝึกหัดให้ผู้เข้าอบรมเลือกหัวข้อโครงการที่สนใจ  และให้ออกมา Present  ด้วยซึ่งวิทยากรได้กรุณาให้คำแนะนำในการปรับแก้  เพื่อเป็นแนวทางในการทำแบบฝึกหัดมาส่งในวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 นี้  ตอนนี้ต้องคอยดูผลงานผู้เข้าอบรมแต่ละคนแล้วละ สู้ๆๆ                                                                                      

  

 

     

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 355014เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2010 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท