จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

คู่เทียบ


หายไปสองสามวันครับ และด้วยความคาดหวังของหลายคนที่จะให้ผมเป็นคนเล่าเรื่องราวประสบการณ์ดีๆ ที่ทำร่วมกัน ฮิฮิ ตั้งแต่วันอังคารครับ เดินทางไปเยี่ยมท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ ซึ่งกำลังพักรักษาตัวอย่างอยู่ที่โรงพยาบาลประจำเขตอะลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซียครับ ไม่ใช่เพราะเห่อมาเลย์นะครับ แต่เนื่องจากท่านไปประสบอุบัติเหตุที่นั่นเลยต้องรักษาตัวฉุกเฉินที่นั่นก็เท่านั้นเอง

ผมตกเป็นเป้าตลอดการเดินทางครับ คุยอะไรกันก็ต้องบอกว่า อันนี้ห้ามเอาไปเล่าใน blog นะ ฮิฮิ อาการนี้แสดงให้เห็นว่า คนที่มีสื่ออยู่ในมือเนี๊ยะมักจะได้เปรียบคนอื่น (ฮา แค่นี้พอ ยังไม่อยากลากไปประเด็นการเมืองครับ)

สิ่งแรกที่รู้สึกว่าพลาดอย่างแรงคือ ไม่ได้หยิบกล้องถ่ายรูปมาด้วย ปกติกล้องจะอยู่ในเป้โน้ตบุ๊คครับ ดังนั้นพอไม่สะพายเป้ก็ลืมพกกล้องถ่ายรูปไปโดยอัตโนมัติ รถเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยเจ็ดโมงเช้านิดๆ (ไม่อยากบอกว่าผมมาเฝ้ารถตั้งแต่กี่โมง ฮา) โดยมีไกด์กิตติมศักดิ์สองท่านครับ คือ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ อ.มัสลัน มะหะมะ และคณบดีคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ อ.สุกรี หลังปูเต๊ะ ฮิฮิ งานนี้เลยอุ่นใจ คิดว่าต้องไม่ต้องแลกเงินมาเลย์เยอะๆ แฮะๆ หวังว่ามีผู้ใหญ่เลี้ยง ฮา

รถตู้มหาวิทยาลัย โดยฝีมือการขับของแบร์ปา ณ โสร่ง มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งครับคือ นิยมใช้ทางหลัด ฮิฮิ พูดเพี้ยนครับ ทางลัด ออกจากมหาวิทยาลัยไปทางปัตตานี แล้วก็เลี้ยวเข้าทาง อ.แม่ลานครับ ทำให้ผมได้พบว่าแหล่งพักผ่อนสวยของเขื่อนปัตตานี ฮือ มาครั้งก่อนเมื่อนานมาแล้ว ไม่เห็นสวยแบบนี้เลย งานนี้เลยเล็งว่า จะพาครอบครัวมาเที่ยวบ้าง

แบร์ปาทางเราเข้าทางลัดอีกรอบ คือ ทางเอเซียสายเก่าครับ เข้าจากนาทวีไปออกที่ อ.สะเดา เส้นทางนี้สมัยเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ตอนซื้อรถใหม่ๆ ผมชอบมาก ซิ่งมันดี ฮิฮิ ตอนนี้แก่แล้ว

ผ่าน ตม. โดยการใช้พาสปอร์ตครับ แล้วเหตุการณ์จากนั้นเป็นงัยก็ไม่สามารถเล่าได้ เพราะผมหลับไปตลอดทาง ฮา ตื่นมาอีกทีก็ถึงแหล่งช็อปปิ้งกลางใจเมืองของอะลอร์สตาร์ครับ ถ้าจำไม่ผิดมันชื่อว่า pekan rabu (ไม่ผิดหรอกครับ เพราะเช็คแล้ว ฮิฮิ) อ.สุกรีเล่าว่า แต่ก่อนมันเป็นตลาดนัดวันพุธครับ (rabu ก็คือวันพุธ) เห็นบรรยากาศแล้ว ถ้าภรรยาอยากจะมาเที่ยวก็คงพามาแถวนี้ น่าจะถูกใจครับ แล้วค่อยกลับไปนอนพักที่หาดใหญ่ ฮิฮิ

มีเวลาก่อนจะได้เข้าเยี่ยมครึ่งชั่วโมงครับ จึงตกลงทานข้าวเที่ยงกันที่นี้ ทักษะการใช้ภาษามลายูในการสั่งอาหารของผมยังคงไว้วางใจได้ครับ ที่นี่เขาจะตักข้าวใส่จานให้เราครับ ส่วนกับข้าว เราเป็นคนตักเอง เท่าไรก็ได้ แล้วก็เอาไปจ่ายเงินพร้อมกับรับช้อน ฮือ ปรากฏว่า เจ้าของร้านยื่นช้อนให้ผม แต่ไม่ยอมคิดเงิน ฮาฮา คิดในใจว่า งานนี้ผมวุ่นแน่ๆ ดีที่นั่งทานข้าวข้างๆ ท่านคณบดีครับ เลยถามว่า ไอ้ที่ผมสั่งนี้ภาษามลายูมันเรียกอะไร ถึงคราวเขามาเก็บเงินเลยพยักหน้าได้ถูก ฮิฮิฮิ 

ไปถึงโรงพยาบาล (หาจากอินเตอร์เน็ทเจอชื่อว่า Hospital Sultanah Bahiyah ครับ ฮิฮิ ผมลืมชื่อไปแล้ว) ผมต้องขอบอกว่า อารมณ์มันต่างกับไปเยี่ยมเข้าโรงพยาบาลใหญ่ๆ อย่าง รพ.มอ. (ขออภัยที่ยกมาพาดพิง) เลยครับ ฮือ มันหรู่ม๊ากมาก ไม่รู้สึกว่ามันเป็นโรงพยาบาลเลย นึกว่ามันเป็นโรงแรมห้าดาวประมาณนั้น ที่น่าสนใจคือ มันเป็นโรงพยาบาลรัฐ ไม่ใช่ของเอกชน สุดยอดครับ ระบบเปิดปิดประตูเป็นแบบอัตโนมัติ ห้องพักมีหลายแบบครับ ห้องรวม ห้องคู่ แล้วก็ห้องเดี่ยว แถมในแต่ละชั้นมีล็อบบี้ มีห้องพักสำหรับคนเฝ้าไข้ด้วย  ออ. ไม่มีกลิ่นยามารบกวนจมูกเลย ฮิฮิ

ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่งที่ผิดตาไปจาก รพ.ของไทย คือ รถเข็มแฟ้มครับ มันไม่มีแฟ้มบนรถ แต่มันมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเครื่องหนึ่งมาแทนที่ เลยคิดว่า แฟ้มผู้ป่วยคงเข้าสู่ระบบไร้กระดาษแล้วมั้งครับ

อ.สุกรี เปรยว่า โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (ที่กำลังอยู่ในแผนตอนนี้) ต้องเอาโรงพยาบาลนี้เป็นคู่ในการ benchmarking ฮือ ฟังแล้วใจผมฝ่อเลย จะไหวเหรอเปล่าเนี๊ยะ มันเหลือขนาด! คำถามของหลายคนคือทำไมโรงพยาบาลมันจึงหรู่ได้ขนาดนี้ คำตอบจาก อ.สุกรี คือ กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่ได้รับงบมากที่สุดเป็นอันดับสองของมาเลย์ครับ (ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมาเลย์ให้ข้อมูลครับ)

อ.สุกรี ชวนให้ผมดูนาฬีกาของพยาบาลที่นั้นครับ แต่ผมในฐานะที่มีประสบการณ์เรื่องนี้ตอบได้สองสามประเด็นคือ พยาบาลจะใช้นาฬีกาเฉพาะที่มีเข็มวินาที เพราะต้องใช้ในการนับการเต้นของชีพจรได้สะดวก และส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยใช้สายหนัง ปรากฏว่าตรงกับพยาบาลมาเลย์ใช้เป๊ะเลยครับ ต่างกันที่พยาบาลมาเลย์จะแขวนไว้กับบัตรที่ห้อยคอไว้ ส่วนพยาบาลไทยมากจะใส่กระเป๋าหรือไม่ก็ใส่ตามปกติ ฮิฮิ

เสร็จจากการเยี่ยมท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ ไกด์กิตติมศักดิ์อย่างท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เสนอให้ไปชมพิพิธภัณฑ์ข้าว (Muzium Padi) ท่านแนะว่า เป็นโครงการของ สส.ท่านหนึ่ง ตอนสร้างใครๆ ก็ว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ แต่พอสร้างเสร็จทุกคนก็ยอมรับว่ามันมีคุณค่า

ค่าเข้าชม 30 บาทต่อคนครับ แต่หากจะถ่ายภาพด้วยก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 20 บาท จุดน่าสนใจมันอยู่ที่การชมนิทรรศการแบบ 360 องศาครับ ทำดีมากๆ อย่างอื่นก็น่าสนใจ แต่สังเกตุว่าหลายส่วนก็ยังไม่พร้อมเหมือนกันครับ

เสร็จจากชมพิพิธภัณฑ์ ท่านคณบดีก็แนะนำของหวานขึ้นชื่อของอะลอร์สตาร์ครับ ฮือ ผมจำชื่อมันไม่ได้แล้ว คล้ายๆ น้ำแข็งใสครับ แต่มีความพิเศษกว่านั้นนิดหน่อย อร่อยมาก ฮา

ที่สุดท้ายที่ได้แวะไปคือ ศูนย์การค้าของเมืองครับ อันนี้สำหรับของฝาก แต่มีเวลากันเพียงครึ่งชั่วโมง จากนั้นเดินทางกลับครับ ออ. มีที่หนึ่งที่ผมอยากไป แต่บังเอิญคนอื่นๆ เขาเคยไปกันแล้วครับ คือ มัสยิดบุคอรีย์ มัสยิดที่ใหญ่โตและสวยงามมากๆ มัสยิดหนึ่งครับ ที่ำสำคัญระบบเครื่องเสียงที่นี้ดีมากๆ มีการควบคุมเสียงตรงจากออสเตรเลียครับ 

ตลอดการเดินทางรอบนี้มีฝนคอยสร้างความชุ่มชำครับ ผมสังเกตว่ารัฐเคดาห์มีการทำนาข้าวเยอะเหมือนกัน น่าจะเยอะกว่ากลันตันด้วยซ้ำไป และช่วงนี้ที่เห็นคือ เขากำลังเริ่มปลูกใหม่ๆ ครับ แต่ก็ไม่ค่อยมั่นใจว่า ช่วงนี้เป็นฤดูฝนหรือเปล่า เพราะระบบชลประทานของมาเลย์ดีมากกว่าไทยเยอะครับ เขาปลูกข้าวได้สามครั้งต่อปี (ถ้าจำข้อมูลจากกลันตันตอนทำวิจัยไม่ผิด)

ส่วนงานวันพุธ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกลับงานเอกสารครับ แบ่งให้ทีมงานรับไปเรื่องหนึ่ง ผมก็นั่งทำอีกส่วนหนึ่ง ผมเรียกงานแบบนี้ว่า งานสร้างเครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการครับ คิดว่า ถ้าเครื่องมือเหล่านี้ถูกนำไปใช้ การบริหารจัดการก็น่าจะเข้ารูปมากขึ้นครับ (อินชาอัลลอฮ์)

ส่วนงานวันนี้ ช่วงเช้าเดิมมีประชุมเช้าครับ แต่พอไปแล้วคิดว่า น่าจะผู้ใหญ่ๆ ประชุมกันก็พอ เด็กๆ อย่างเราไปทำอย่างอื่นดีกว่า ฮิฮิ คิดได้อย่างนี้ก็แว๊ปกลับมาที่สำนักงาน เคลียร์งานสำนักงาน จนกระทั่งบ่ายก็ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมผู้นำฯ ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่จะถึงนี้ คิดว่ารอบนี้การบริหารจัดการคงดีขึ้นครับ ถึงแม้เงินจะยังไม่ได้โอนมาก็ตาม ฮา

เสร็จประชุมนั้นก็ตามด้วยการประชุมนัดพิเศษของบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งผมไม่ได้เป็นกรรมการด้วยหรอกครับ แต่งานนี้เขาเชิญเข้า ประชุมที่เดียวกับประชุมสาขาวิชา ซึ่งเดิมตั้งใจจะไม่เข้าประชุมอย่างหลังนี้ครับ เลยไม่หยิบเอกสารมาด้วย แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยบอกว่า ถ้าผมไม่เข้าร่วม คณบดีคงน้อยใจแย่ ฮือ พูดแบบนี้เลยต้องเข้าครับ ประเด็นที่คุยกันเป็นประเด็นเฉพาะครับ เรื่องคู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ ผมจำได้ว่า สมัยก่อนตอนเป็น ผู้ช่วยคณบดีคณะศิลปศาสตร์ฯ ผมรับหน้าที่ยกร่างคู่มือนี้ให้กับคณบดีบัณฑิต แค่ยกร่างครับ ขั้นต่อจากนั้นก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งอีกเลย 

ประเด็นที่คุยคือ คู่มือฉบับภาษาไทยกับภาษาอาหรับไม่ตรงกัน และบางส่วนก็มีเนื้อหาไม่ครบถ้วน คำถามคือจะให้เหมือนกันหรือเปล่า ส่วนประเด็นอื่นๆ คงคุยให้เป็นมติยากครับ เพราะความจริงต้องหาบรรณารักษ์มาให้คำตอบมันจึงจะชัดเจนที่สุด งานนี้ผมขอตัวว่าไม่ร่วมเป็นทีมงานในการปรับแก้ไข ผมว่าคนที่น่าจะทำหน้าที่ปรับปรุงได้ดีที่สุดคือคนที่ใช้คู่มือครับ เขาน่าจะเห็นส่วนที่ผิดได้ดีกว่า

หมายเลขบันทึก: 354944เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2010 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • อ.มีโอกาสดีมากที่ได้ไปดูงาน(เที่ยว)ด้วย ผมนี้ถึงบ้านเที่ยงคืน ไม่มีเวลาไปไหลเลย เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่สะเดา(ทำบัตรผ่านแดน)
  • เมื่อวานตอนเช้า ภรรยาโทรมาขออนุญาตไปเยี่ยมท่านรองฯที่มาเลย์ บอกว่าจะเอา วีลแชรไปให้ด้วย พอหลังจากละหมาดอัศริเสร็จ คณบดีคณะวิทยฯ เดินมาบอกว่า ท่านรองฯจะกลับวันนี้ เวลาเก้าโมง
  • ก่อนค่ำหัวหน้าศูนย์คอมฯโทร์มาบอกว่า กลุ่มภรรยาผมไม่ได้เอาวีลแชร์ไป เขาตั้งใจจะพาไปวันนี้ แต่ว่าตอนนี้ท่านรองฯออกจากโรงพยาบาลแล้ว อยู่บ้านญาติที่เป็นหมอที่นั้น และจะกลับพรุ่งนี้เขาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปอีกแล้ว
  • ท่านรองฯกับผมไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติ ทางสายเลือดท่านไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผม แต่ท่านเป็นญาติกับน้องสาวต่างมารดา ทางการศึกษาท่านเป็นรุ่นพี่ที่เรียนอยู่ในเมืองเดียวกันเมื่อครั้งอยู่ต่างประเทศ ทางสายงานท่านเป็นผู้บังคับบัญชา และทางศาสนาท่านคือพี่ชายผมคนหนึ่ง 

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

อัลฮัมดุลิลละห์ เป็นข่าวดีของชาว มอย.ทุกคนครับ

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ติดตามข่าวมาท่านปลอดภัยแล้วก็อัลฮัมดุลิลละฮฺครับ

ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองและขอให้ท่านดีขึ้นเรื่อยๆครับ

   เป็นกำลังใจให้อาจารย์ในการทำงานเช่นกันครับ...ด้วยความหวัง สลาม และดุอาอฺครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد 

เป็นกำลังใจให้เช่นกันครับ ดูแลสุขภาพด้วย

ขอบคุณครับ คนตานี

สู้สู้ครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่องราว

สบายดีไหมคะ?

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ

^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท