หนังสือที่ฉันรัก


การละเล่นพื้นบ้านไทย 4 ภาค

  การละเล่นพื้นบ้านไทย 4 ภาค

               ดิฉันอ่านหนังสือแล้วได้เห็นถึงการละเล่นพื้นบ้านซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่

   เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการดำเนินชีวิต

   และสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ ในอดีตการละเล่นพื้นบ้านนั้นถือเป็นกิจกรรมผ่อนคลาย

   ในยามว่างหรือเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

               ดิฉันขอยกตัวอย่างการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาคดังนี้

   1.  การละเล่นพื้นบ้านไทยภาคเหนือ

        เตยหรือหลิ่น (ตาก)

        ลักษณะการเล่น   ขีดเส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น

   2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้า

   เส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหลหรือหลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็จะวิ่ง

   ผ่านเส้นแรกไปถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้าม

   แตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะฝ่ายชนะ

        โอกาสที่จะเล่น   เป็นการละเล่นพื้นบ้านเด็กๆ เล่นกันโดยทั่วไป

   2.  การละเล่นพื้นบ้านไทยภาคกลาง

        เพลงเรืออยุธยา (พระนครศรีอยุธยา)

        อุปกรณ์การเล่น

        1. เรือหมู เรือพายม้า หรือเรือสำปั้น 2 ลำ

        2. กรับพ่วง

        3. ฉิ่ง

        ลักษณะการเล่น  ในการเล่นเพลงเรือจะต้องเริ่มด้วยการไหว้ครูให้ครบ 3 กลอน

   หรือตอน คือ

   ตอนที่ 1  บทไหว้พระพุทธ บทไหว้พระธรรม บทไหว้พระสงฆ์

   ตอนที่ 2  บทไหว้บิดามารดา

   ตอนที่ 3  บทไหว้ครูอาจารย์

        โอกาสที่จะเล่น   เพลงเรืออยุธยาเป็นเพลงพื้นบ้านเล่นอยู่ตามลุ่มน้ำทั่วไป เล่น

   เฉพาะเทศกาลไหว้พระที่วัดหรือเรียกสั้นๆ ว่า " ไหว้พระ "

   3. การละเล่นพื้นบ้านไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       แข่งเรือบก (ชัยภูมิ)

       อุปกรณ์การเล่น

       ไม้กระดาน 2 แผ่น ยาวประมาณ 1 วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้

        ลักษณะการเล่น   ผู้เล่นแบ่งกลุ่มๆ ละ 2-5 คน โดยจะรัดเท้าทั้ง 2 ข้าง ไว้กับ

   กระดาน 2 แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ด้านหน้า อาศัยความพร้อมเพรียง

   ยกเท้าก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน แล้วดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัย

   ก่อนเป็นผู้ชนะ

         โอกาสที่จะเล่น   ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์

   4.  การละเล่นพื้นบ้านไทยภาคใต้

        ชิบโป้ง (ภูเก็ต)

        อุปกรณ์การเล่น

        1.  กระบอกชิบโป้ง

        2.  ลูกพลาหรือกระดาษชุบน้ำทำเป็นเม็ดกลม

        3.  ไม้ไผ่เพื่อทำกระบอกชิบโป้ง

        4.  ไม้ไผ่เหลาให้เป็นอันกลมเพื่อเป็นกระบอกชิบโป้ง

        ลักษณะการเล่น  

    1.  ให้เอากระสุนที่เตรียมไว้ใส่กระบอก

    2.  ใช้ไม้กระทุ้งไปให้กระสุนอยู่ราวๆ เกือบสุดปลายกระบอก ครั้งละ 1-2 เม็อ

    3.  เมื่ออัดกระสุนแน่นดีแล้วให้ใช้ไม้กระทุ้งไปโดนคู่ต่อสู้โดยแบ่งสมาชิกออกเป็น

         2 ฝ่าย เท่าๆกัน และตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นโจรและฝ่ายใดจะเป็นตำรวจ 

         โอกาสที่จะเล่น   ได้ทุกเวลา แต่ต้องดูโอกาสและความเหมาะสม

         ดิฉันอ่านแล้วรู้สึกว่าการละเล่นของไทยเป็นวัฒนธรรมที่มีค่าและควรช่วยกัน

    รักษาไว้ให้อยู่คนไทยเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงการละเล่นพื้นบ้านไทยในภาค

    ต่างๆ และจรรโลงไว้ให้อยู่กับชาติไทยต่อไปนานแสนนาน 

 

หมายเลขบันทึก: 354638เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2010 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ตามมาดูการละเล่น 4 ภาค
  • คุณครูนามสกุลเดียวกับ ผอ ที่เมืองแปงเลย
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

โอ้ ยกมา 4 ภาคแบบนี้ แจ่มเลยค่ะ

เอาไว้ไปคาราโอเกะกันบ้างเนาะ แต่คาดว่าเสียงเราจะทำให้เธอรำคาญ อิอิอิ ^_^

สวัดดีค่ะ

เล่นมันทั้ง 4 ภาคเลย จะได้รู้มากๆ

ฮ้า ๆ ๆ ๆ ๆ

ขอบคุณนะคะที่เข้ามาคอมเมนต์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท