ปลาโลมาหัวบาตรในทะเลสาบสงขลา


โลมาหัวบาตร,โลมาอิระวดี,โลมาน้ำจืด น่าจะจะเรียกว่า ปลาโลมาเอเชีย เพราะส่วนใหญ่ที่พบอยู่ในทวีปเอเชียทั้งเพ..
เมื่อวันวาน(๒๗เมษายน๒๕๕๓)หลังจากได้เป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการทำปุ๋ยชีวภาพ/ก้อนจุลินทรีย์ และนำยาอเนกประสงค์ให้กับชาวชุมชนในเทศบาลตำบลระโนด แล้วเสร็จได้มีโอกาสลงเรือล่องทะเลสาบสงขลา โชคดีได้พบเห็นโลมาหัวบาตรฝูงใหญ่มาเล่นนำใกล้ๆเรือ อยู่ห่างจากฝั่งแถวปากบางระโนดราวๆ ๑ กิโลเมตร ปกติหากจะดูโลมาหัวบาตรหรือโลมาอิรวดี หรือโลมานำจืด ที่มีอยู่ในทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็น ๑ ใน ๕ แหล่งของโลกที่มโลมาหัวบาตรอยู่อาศัย หากจำไม่ผิด มีที่แม่นำโขง/แม่นำบางปะกง/แม่นำเจ้าพระยา และแม่นำอิระวดี โลมาหัวบาตร หรือโลมาอิรวดี หรือโลมานำจืด นี้ น่าจะเรียกว่า ปลาโลมาเอเชีย เพราะส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในแหล่งนำแถบเอเชีย
 
ทะเลสาบสงขลา ตรงช่วงอ่าวปากพะยูน(ซ้าย) และบริเวณปากบางระโนด (ขวา)
 
วิถีชาวบ้านในทะเสาบตอนบนใกล้ทะเลน้อย(ซ้าย) ฝูงโลมาที่ปากบางระโนด(ขวา)
 
 
หมายเลขบันทึก: 354594เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2010 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านภาคใต้

อาหารพื้นบ้านทางภาคใต้ จะมีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปจะมี ๓ รส คือ เปรี้ยว เค็ม และเผ็ด  กอรปกับภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล แต่ด้วยอาหารทะเลมักมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงหนีไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดี จึงจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้มักมีสีออกเหลืองแทบทุกอย่าง เมื่อมองในอีกด้านหนึ่งสิ่งเหล่านี้คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง นอกจากนี้ภาคใต้จะมีฝนตกชุกและมีช่วงฤดูฝนนานกว่าภาคอื่นๆของประเทศ ฉะนั้นจึงมีพืชผักที่ใช้เป็นอาหารต่างไปจากภาคอื่นๆ ถ้าอาหารนั้นไม่ใช้ผักเป็นเครื่องปรุงก็จะใช้ผักเป็นผักเหนาะ คือ ผักที่กินร่วมกับอาหารเพื่อความอร่อยและช่วยลดรสเผ็ดร้อนของอาหารเนื่องด้วยอาหารใต้จะมีรสเผ็ดร้อนกว่าทุกภาค

สวัสดีครับครูทูรย์

คนโนดหลายคนที่คุ้นชิน และเคยได้ติดตามผลงานคนเลออกมาตลอดชื่นชมคมคิดคมเขียน

นาม มาหัวทีง

นิจ ระโนด

สมรม สะทิงพระ

และนายหัวรูญ ชื่นชมทุกท่าน

ขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม

สวัสดีค่ะ คุณครูฑูรย์

ได้ยินชื่อนี้มานานนักในรายการพิราบคาบข่าว.....ดีใจที่เจอที่บล็อกนี้ค่ะ

เช่นกันครับครูนก.

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมและทักทาย.. ดีใจที่ได้พบครู..ที่เป็นนักจัดการเรียนรู้..มีอะไรชี้แนะหรือแลกเปลี่ยนจักขอบคุณยิ่ง

ถึงครูนก.

เห็นหน้าตา นามสกุล ถิ่นที่อยู่ และนามสกุล เป็นลูกครูรุณ หลานครูกี้ เชื้อสายชาวบกใช่หรือไม่? สงสัย..สงสัย...

ปีนี้โลมาตายมากถีง8ตัวยังไม่หมดสิ้นปีเลยเป็นห่วงจริงๆ หน่วยงานด้านไหนดูแลอยู่บ้างเก็บซากไปตรวจบ้างใหมสาเหตุอะไรด้านประมงก็บ่นเรื่องไม่มีงบฯมืเพียงเรือปุโรทั่งใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้างมันไม่ทันต่อสถานะการณ์ ครูอยากตั้งผ้าป่าสักกองใหมหาเงินมาช่วยซื้อเรือลาดตะเวนสักลำมอบให้ประมงได้มีแขนขาที่ดีมาดูแลโลมาที่เหลืออยู่ เหตุที่นำเสนอเช่นนี้เพราะท่านมีฉายา"มือประสานสิบทิศ"และท่านจัดให้มีทอดกฐินในเร็วๆนี้ หากท่านเห็นควรว่าน่าทำอัษฎาก็ขอสมทบทุนด้วยและจะช่วยหาตังส์ให้ควรไม่ควรได้โปรดพิจารณา

เห็นด้วยกับกิจกรรมนี้ชมรมนเกี่ยวกับโลมาหัวบาตรในพัทลุงมีอยู่เกือบ ๑๐ ชมรม และตั้งมานานกว่า ๑๐ ปี หลังปี ๒๕๓๖ ที่กระแสสิ่งแวดล้อมมาแรง โดยเฉพาะประเด็น วิกฤตทะเลสาบสงขลาทั้งของภาคประชาชน ท้องถิ่น และราชการ แต่ยังป้องกันการตายของโลมาหัวบาตรในทะเลสาบแถวลับ ๕ ไม่ได้เนื่องจากชาวประมงลง(ตา)ข่ายอวนตาใหญ่ ขนาด ๑๑ ซม.ขึ้นไปเพื่อหวังจับปลาสวาย และปลาบึกในทะเลสาบแถวหน้าหาดลำปำไปจนถึงเกาะใหญ่(สงขลา) ข่ายอวนตาใหญ่นี้สามารถจับปลาใหญ่ปลาสวาย-ปลาบึก ตัวขนาดนำหนักตั้งแต่ ๑๕ - ๑๐๐ กก. ทำให้โลมาหัวบาตรมีโอกาสติดข่ายอวนตายเพราะไม่สามารถขึ้นมาหายใจบนนำได้

ต้องหาข้อมูลต่อไปว่าหากหาทุนซื้ออุปกรณ์ได้แล้วจะมอบให้ใคร กลุ่มไหนเพื่อใช้ทำงานในการเฝ้าระวัง กลุ่มประชาอาสา มีใจ แต่บางที่ไม่มีเวลาพอ มีอุปกรณ์แล้วต้องหาคน คงต้องศึกษาข้อมูล และหาผู้รับผิดชอบด้วยใจอาสาในการเฝ้าระวังที่ชัดเจน มั่นคง และยั่งยืน (ต้องเป็นกลุ่มอาสาที่มีอุดมการณ์เหมือนกลุ่มผาดำ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท